เมื่อวันที่ 1 มีนาคมที่ผ่านมา การประชุมสุดยอด อาเซียนครั้งที่ 14เปิดขึ้นที่หัวหิน เเหล่งท่องเที่ยวชื่อดังของไทย การประชุมครั้งนี้เน้นถึงการเร่งจัดตั้งประชาคมอาเซียนเเละร่วมกัน รับมือกับวิกฤตการเงินสากล
ประเด็นหลักคือ "กฎบัตรอาเซียนของประชาชน อาเซียน" นับเป็นการพบปะครั้งเเรกหลังจาก "กฎบัตรอาเซียน" เริ่มมีผลบังคับใช้เมื่อธันวาคม ปี 2008 การประชุมครั้งนี้จะบันทึกหน้าสำคัญใน ประวัติศาสตร์อาเซียน เช้าวันเดียวกัน ผู้นำของ 10 ประเทศอาเซียน เเละเลขาธิการอาเซียนได้จัดประชุมสุดยอดเป็นเวลา 3 ชั่วโมง ได้เจรจาในประเด็นต่างๆ รวมทั้งการจัดตั้งประชาคมอาเซียน สภาพเศรษฐกิจโลกเเละภูมิภาค ความมั่นคงด้านพลังงาน เเละธัญญาหาร สิทธิิมนุษยชนเป็นต้น การประชุมดังกล่าวยังได้ ลงนามใน "เเถลงการณ์โรดเเมบ 2009-2015 ของประชาคมอาเซียน" ซึ่งเป็นพิมพ์เขียวที่สมบูรณ์ในกาจัดตั้งประชาคมอาเซียนในปี 2015 เเละมีเเผนประกอบด้วย
ในที่ประชุม ผู้นำประเทศอาเซียนต่างได้เเสดงเจตนารมณ์ในการ ผลักดันการสร้างประชาคมอาเซียนโดยเฉพาะประชาคมเศรษฐกิจ อาเซียน นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีไทย ซึ่งเป็นประเทศประธานอาเซียนกล่าวในการเเถลงข่าวที่จัดขึ้น ภายหลังการประชุมว่า
"เราให้คำมั่นสัญญาเเละปรารถนาที่จะเร่งกระบวนการควบรวมของ ของอาเ๊ซียน โดยผ่านการลงนามข้อตกลงในอนุภูมิภาค การขยายความร่วมมือ การเพิ่มการลงทุนในการเสริมสร้าง สาธารณุปโภค เพื่อกระตุ้นการเติบโตของเศรษฐกิจ จึงหวังว่าจะสามารถ หาวิธีเเละกลไกที่เร่งกระบวนอันอันหนึ่งอันเดียว กันของอาเซียน
เรื่องที่ดึงดูดความสนใจคือ ในที่ประชุมครั้งนี้ ประเทศอาเซียนได้ บรรลุความเข้าใจร่วมกันเกี่ยวกับการร่วมกันรับมือกับวิกฤติการเงิน เเละได้ประกาศ "เเถลงการณ์ว่าด้วยวิกฤติการเงินเเละเศรษฐกิจสากล" เเถลงการณ์ฉบับนี้ระบุว่า ผู้นำประเทศอาเซียน มีความเห็นเป็นเอกฉันท์ว่าต้องใช้มาตรการอย่างเด็ดเดี่ยวเเละเเข็งขัน ฟื้นฟูความมั่นใจของตลาด รักษาความมั่นคงของตลาดการเงิน พยายามให้เศรษฐกิจภูมิภาคเติบโตขึ้นอย่างยั่งยืน ผู้นำประเทศต่างๆกล่าว ย้ำว่า ต่อต้านลัทธิกีดกันทางการค้าเเละการกีดกันการค้ารูปเเบบใหม่ ๆ ขณะกล่าวถึงปัญหาดังกล่าว นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะระบุว่า
"ประเทศอาเซียนยืนหยัดในการค้าเสรี เราใช้ความพยายามอย่าง เต็มที่เพื่อไม่ให้ประเทศอาเซียนใช้ลัทธิกีดกันการค้า เพื่อคลายผลกระทบจากวิกฤติการเงิน เพราะว่า ถ้ามีประเทศใดกีดกัน ก็จะมีประเทศอื่นๆ ปฏิบัติตาม ในที่สุดทุก ฝ่ายย่อมมีเเต่ได้รับความเสีียหาย"
ในการเเถลงข่าวที่จัดขึ้นบ่ายวันเดียวกัน นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ เลขาธิการอาเซียนยังกล่าวเน้นว่า ประเทศอาเซียนต่างๆ ควรยืนหยัดในนโยบาย "จีนเดียว" เขายังเห็นว่าการปรับปรุงความสัมพันธ์ ระหว่างสองฝั่งช่องเเคบไต้หวันให้ดีขึ้นจะเป็นผลดีต่อความร่วมมือ ระหว่างอาเซียนกับสองฝั่งช่องเเคบไต้หวัน นายสุรินทร์ พิศสุวรรณกล่าวว่า
"ประเทศอาเซีนต่างๆ ควรเคารพนโยบายจีนเดียว อาเซียน เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างสองฝั่งที่กำลังพัฒนาไปในทางที่ดี ส่วนสาธารณรัฐประชาชนจีนก็มีเจตนารมณ์เเข็งขันในการปรับปรุง ความสัมพันธ์สองฝั่งให้่ดีขึ้น ผู้นำของไต้หวันก็มีความปรารถนา เช่นกัน ความสัมพันธ์ระหว่างสองฝั่งยังพัฒนาในทางที่ดี ข้อขัดเเย้งยิ่งจะได้รับการเเก้ไขโดยเร็ว ทั้งนี้จะเป็นผลดีต่อประเทศต่างๆ ในภูมิภาคอาเซียน"
|