China Radio International
ข่าวภายใน
    ประเทศ
ข่าวต่างประเทศ
 ข่าวการเมืองและ
 การต่างประเทศ
 ข่าวเศรษฐกิจ
 ข่าววัฒนธรรม

 ข่าววิทยาศาสตร์
  เทคโนโลยี่

 ข่าวกีฬา
 ข่าวอื่น
วันที่ 13 พฤศจิกายน ปี ค.ศ.2009
อ่านต่อ>>

จีนปัจจุบัน

เศรษฐกิจ

พาเที่ยวจีน

วัฒนธรรม

ชนชาติส่วนน้อย

การเมือง
(GMT+08:00) 2009-03-11 13:48:59    
คำปลุกปั่นของกลุ่มทะไลลามะไม่เป็นที่สนับสนุนของประชาชน

cri
วันที่ 28 มีนาคมที่จะถึงนี้ถูกกำหนดให้เป็น "วันรำลึกการปลดปล่อยทาสกสิกรนับล้านคนในเขตทิเบต" ครั้งแรก ในรอบ 50 ปีที่ผ่านมา เขตปกครองตนเองทิเบตได้รับผลสำเร็จอันรุ่งโรจน์ในด้านต่างๆ ทั้งเศรษฐกิจและสังคม ทว่า เมื่อวันที่ 10 มีนาคมที่ผ่านมา กลุ่มทะไลลามะกลับกล่าวหาว่า "ชาวทิเบตกำลังใช้ชีวิตใน "นรกบนดิน" " และว่า "สถานการณ์ทิเบตพอแตะก็ระเบิดตูม" เพราะเหตุใดกลุ่มทะไลลามะจึงปล่อยคารมปลุกปั่นเช่นนี้ บุคคลวงการต่างๆ พากันออกมากล่าวแสดงความคิดเห็นต่อการณ์นี้

นายเทนซิน ลุนดรุป (Tenzin Lhundrup) ชาวทิเบต ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องทิเบตกล่าวว่า การกระทำเช่นนี้ของกลุ่มทะไลลามะเป็นการกุข่าวที่แสร้งปล่อยเขย่าขวัญ ซึ่งไม่เป็นที่สนับสนุนของประชาชน และจะไม่ก่อผลใดๆ

"วันที่ 10 มีนาคมของทุกปี กลุ่มทะไลลามะจะออกถ้อยแถลงอย่างนั้นอย่างนี้ ส่วนตัวผมเห็นว่า ถ้อยแถลงเหล่านี้จะไม่ก่อผลใดๆ เพราะหลังเหตุการณ์ "14 มีนา" ปีที่แล้ว รัฐบาลมีความชำนาญและมีมาตรการที่ถูกต้องเพื่อรับมือกับเหตุการณ์สาธารณะทำนองดังกล่าว นอกจากนี้ จลาจลและการกระทำที่ก่อความไม่สงบใดๆ ล้วนเป็นสิ่งที่ขัดกับผลประโยชน์ขั้นพื้นฐานของประชาชนทิเบต 50 ปีผ่านไป แต่การปลุกปั่นของกลุ่มทะไลลามะในต่างแดนก็ไม่ประสบผลแต่อย่างใด "

สาเหตุที่กลุ่มทะไลลามะสามารถดำเนินการเคลื่อนไหวแบ่งแยกดินแดนในต่างแดนได้เป็นเวลานาน ด้วยการสนับสนุนของประเทศตะวันตกบางประเทศ นายเทนซิน ลุนดรุปมีความเห็นว่า เอาเข้าจริงแล้ว การที่ประเทศตะวันตกสนับสนุนองค์ทะไลลามะนั้นมีวัตถุประสงค์ทางการเมืองของตนแฝงไว้ด้วย คือ ใช้องค์ทะไลลามะเป็นเครื่องมือทางการเมืองเพื่อต่อรองกับรัฐบาลจีน

ส่วนรัฐบาลจีนแต่ไหนแต่ไรมาก็มีจุดยืนที่ชัดแจ้งในปัญหาทิเบต นายหยาง เจี๋ยฉือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจีนตอบคำถามของผู้สื่อข่าวเยอรมันเกี่ยวกับปัญหาทิเบตเมื่อวันที่ 7 มีนาคมที่ผ่านมาว่า

"เยอรมนี ฝรั่งเศส รวมถึงประเทศอื่นๆ ยินดีให้เฉือนดินแดน 1 ใน 4 ของตนออกไปหรือไม่ โปรดจำไว้ว่า จีนเป็นประเทศที่สนับสนุนการรวมเยอรมนีให้เข้าเป็นปึกแผ่นมาโดยตลอด ประเทศใดๆ ก็ตาม ขณะมีความสัมพันธ์กับจีนนั้น ควรห้ามองค์ทะไลลามะเข้าประเทศ และห้ามองค์ทะไลลามาะใช้ดินแดนของประเทศตนเพื่อดำเนินการเคลื่อนไหวที่หมายจะแบ่งแยกประเทศจีน ทั้งนี้เป็นสิ่งที่พึงมีพึงเป็นในบรรทัดฐานของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ"

ดร.วรศักดิ์ มหัทธโนบล ผู้อำนวยการศูนย์จีนศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกล่าวว่า ไม่ว่ารัฐบาลประเทศใดก็ตาม ล้วนจะไม่ยินยอมต่อข้อเรียกร้องที่ไร้หลักเหตุผลในการแบ่งแยกดินแดน

"ผมคิดอย่างนี้ หลายสิบกว่าปีที่ผ่านมา ที่รัฐบาลจีนไปพัฒนาในพื้นที่ที่มีชาวทิเบตอยู่ ไม่เฉพาะเขตปกครองตนเองทิเบตนะ ทะไลลามะก็เลยเสนออย่างที่เขาบอก ให้พวกจีนฮั่นออกมาจากพื้นที่ที่มีชาวทิเบตอยู่ เสนออย่างนั้น มันก็ไม่ต่างจาก 3 ชายแดนภาคใต้ บอกให้คนไทยพุทธออก รัฐบาลที่ไหนในโลกเขาก็ไม่ยอม"

ข้อเท็จจริงอยู่เหนือการเล่นลิ้น ขอแต่ให้ไปเห็นกับตาที่เขตทิเบตด้วยตนเอง ผู้คนทั้งหลายก็จะสามารถรับรู้และทำความเข้าใจเกี่ยวกับทิเบตที่แท้จริงได้

นายริชาร์ด ชาวสก๊อตแลนด์ที่ไปเที่ยวเมืองลาซาให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวซีอาร์ไอว่า ความสงบเรียบร้อยของทิเบตสร้างความสุขความสนุกสนานกับการท่องเที่ยวให้เขามาก

"ที่ลาซา ผมไม่เห็นสิ่งผิดปกติใดๆ ผู้คนใช้ชีวิตตามปกติ น่ามา ไม่เลวทีเดียว"