การประชุมสุดยอดการเงินของผู้นำกลุ่ม G20 ครั้งที่ 2 จะจัดขึ้นที่กรุงลอนดอน เมืองหลวงอังกฤษ ภายใตสถานการณ์ที่วิกฤตการเงินโลกยังคงยืดเยื้อ เศรษฐกิจโลกไม่ดี ประเทศต่างๆ จึงฝากความหวังอย่างมากต่อการประชุมครั้งนี้ นายกอร์ดอน บราวน์ นายกรัฐมนตรีอังกฤษ ประเทศเจ้าภาพจัดการประชุมครั้งนี้กล่าวเมื่อเร็วๆ นี้ว่า จีนเป็นผู้เข้าร่วมสำคัญในการปรึกษาหารือระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง มีความหมายสำคัญมากต่อการประชุมครั้งนี้
ขณะที่ประเทศจีนเองก็ตั้งความหวังมากต่อการประชุมครั้งนี้ นายเหอ ย่าเฟย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศจีนสรุปความหวัง 5 ประการดังต่อไปนี้
"1.ฝ่ายต่างๆ ควรแลไปในอนาคต ส่งเสริมความสามัคคี พัฒนาตลาดและสร้างความมั่นใจให้ประชาชน 2.ผลักดันให้ฝ่ายต่างๆ ออกโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจตามสภาพความเป็นจริงของประเทศตน และปรับนโยบายเศรษฐกิจมหภาค 3. ประสบผลคืบหน้าในการปฏิรูปสถาบันการเงินระหว่างประเทศ โดยเฉพาะจะต้องให้ประเทศตลาดใหม่และประเทศกำลังพัฒนามีส่วนร่วมมากขึ้น 4. คัดค้านลัทธิกีดกันทางการค้าอย่างเด็ดเดี่ยวแน่วแน่ ผลักดันให้การเจรจารอบโดฮาประสบผลอย่างครบถ้วนทุกด้านและสมดุล และ 5. ให้ความสนใจต่อปัญหาการพัฒนา โดยเฉพาะไม่ควนลดให้การสนับสนุนแก่ประเทศกำลังพัฒนาโดยอ้างเหตุเพื่อรับมือกับวิกฤตการเงินโลก "
เมื่อเร็วๆ นี้ นายโจวเสี่ยวชวน ผู้ว่าการธนาคารประชาชนจีน ซึ่งเป็นธนาคารส่วนกลางของจีนเสนอว่า ควรสร้างสกุลเงินตราสำรองระหว่างประเทศสกุลใหม่ที่ไม่เกี่ยวข้องกับอธิปไตยองประเทศใดประเทศหนึ่งและมีความมั่นคง ข้อเสนอนี้ได้รับการสนับสนุนจากรัสเซียและบราซิล ส่วนนายโดมินิกู สเตราสส์-คาห์น ผู้อำนวยการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ IMF ก็เห็นด้วยกับข้อเสนอดังกล่าวนี้
นายหัน ฟู่หลิง ศาสตราจาราย์มหาวิทยาลัยการคลังส่วนกลางของจีนกล่าวว่า
"จีนมีเงินตราต่างประเทศสำรองประมาณ 2 ล้านล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ มากที่สุดในโลก ไม่ว่าในด้านการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของจีน หรือการพัฒนาระบบเงินตราระหว่างประเทศ จีนก็ควรแสดงบทบาทของตน"
แม้ว่าจีนใช้ความพยายามอย่างสุดความสามารถเพื่อรับมือกับวิกฤตการเงินโลก แต่ประเทศตะวันตกบางประเทศหวังว่าจีนจะสร้างคุณูปการมากขึ้น อย่างเช่นให้เงินทุนเพิ่มแก่ IMF เพื่อช่วยเหลือประเทศที่มีความยากลำบากทางศรษฐกิจ ศาสตราจารย์จาง เซิ่งจุน รองผู้อำนวยการสถาบันรัฐศาสตร์และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศแห่งมหาวิทยาลัยฝึกหัดครู ปักกิ่งเห็นว่า
"จีนควรมีส่วนร่วมในองค์การระหว่างประเทศมากขึ้น เช่นการขึ้นพูดและกำหนดนโยบาย แต่เกี่ยวกับปัญหาที่จีนจะสร้างคุณูปการมากน้อยเพียงใดในการรับมือกับวิกฤตการเงิน จะต้องคำนึงถึงพลังที่แท้จริงของจีน จีนยังไม่มีพลังพอที่จะช่วยกู้วิกฤตทั่วโลก"
จีนยังเป็นประเทศกำลังพัฒนา โดย GDP เฉลี่ยต่อคนไม่ถึง 1/10 ของประเทศพัฒนา อีกทั้ง เศรษฐกิจก็เผชิญกับการท้าทายอย่างหนักหน่วงเช่นกัน การท้าทายทั้งมาจากการขยายความต้องการภายใน การประกันการมีงานทำ การปรับปรุงโครงสร้าง และบรรลุซึ่งเป้าหมายให้ GDP เติบโต 8% และก็มาจากความต้องการภายนอกลดลงอย่างมากเนื่องจากเศรษฐกิจโลกเสื่อมโทรมลง และลัทธิกีดกันทางการค้าและการลงทุน เช่นเดียวกับที่นายเวิน เจียเป่า นายกรัฐมนตรีจีนกล่าวเน้นมาหลายครั้งว่า จีนปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ดี ก็คือการสร้างคุณูปการที่ยิ่งใหญ่ที่สุดต่อโลก
|