บ่ายวันที่ 12 เมษายนที่ผ่านมา นายอภิสิทธิ์ เวชชะชีวะ นายกรัฐมนตรีไทยประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในกรุงเทพฯ และ 5 จังหวัดปริมณฑล เช้าตรู่วันที่ 13 เมษายนนี้ ฝ่ายทหารกับผู้ประท้วงต่อต้านรัฐบาลเกิดปะทะกันที่กรุงเทพฯ นับเป็นการปะทะครั้งแรกระหว่างผู้ประท้วงกับฝ่ายทหารและตำรวจตั้งแต่ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในกรุงเทพฯและปริมณฑล ไทยเกิดวิกฤตการเมืองรอบใหม่ รัฐบาลอภิสิทธิ เวชชะชีวะซึ่งบริหารประเทศไม่ถึง 4 เดือนเผชิญกับการท้าทายอย่างหนักหนาสาหัส
ภายหลังที่การประชุมสุดยอดอาเซียนกับประเทศคู่เจรจาต้องยกเลิกเนื่องจากผู้ประท้วงจากแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการบุกเข้าสถานที่จัดการประชุมเมื่อวันที่ 11 เมษายนที่ผ่านมา วันรุ่งขึ้น ผู้ประท้วงชุมนุมกันต่อที่กรุงเทพฯ บ่ายวันที่ 12 เมษายนที่ผ่านมา นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะประกาศสถานฉุกเฉินในกรุงเทพฯ และ ปริมณฑล และแต่งตั้งให้นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีเป็นผู้รับผิดชอบกิจการความมั่นคง
เมื่อวันที่ 12 เมษายนที่ผ่านมา นายสุเทพ เทือกสุบรรณกล่าวว่า การชุมนุมที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล เป็นการกระทำผิดกฎหมาย เขาเรียกร้องให้ทหารและตำรวจใช้ปฏิบัติการโดยเร็ว ค่ำวันเดียวกัน รถเกราะและทหารเริ่มออกปฏิบัติการตามถนน ทหารได้ควบคุมศูนย์กลางการคมนาคม โฆษกกองทัพบกแถลงว่า ทหารจะไม่ก่อรัฐประหาร และจะร่วมมือกับตำรวจเพื่อควบคุมสถานการณ์ และคุ้มครองสถานที่สำคัญ
นักวิเคราะห์ชี้ว่า เวลานี้ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะกำลังเผชิญกับการท้าทายอันหนักหนาสาหัสที่สุดตั้งแต่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จนกระทั่งอาจจะส่งผลกระทบต่ออนาคตของรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เนื่องจาก
ประการแรก การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในกรุงเทพฯ นับว่าเป็นการเสี่ยง นักวิชาการหลายคนของไทยเห็นว่า การรับมือกับกลุ่มผู้ประท้วงด้วยวิธีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินอาจจะไม่ได้ผลดังคาดหวัง พวกเขาเรียกร้องให้รัฐบาลยกเลิกสถานการณ์ฉุกเฉินโดยเร็ว อย่าให้สถานการณ์เลวร้ายลงอีก
ประการที่สอง พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยซึ่งเคยมีท่าทีร่วมกันกับพรรคประชาธิปัตย์ พรรครัฐบาลปัจจุบันในการต่อต้านพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรอดีตนายกรัฐมนตรีตั้งข้อสงสัยเีกี่ยวกับความสามารถในการบริหารประเทศของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ปี 2008 พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเคยประท้วงหลายครั้ง จนกระทั่งบุกยึดสนามบินกรุงเทพฯ เป็นเหตุทำให้รัฐบาลสมชาย วงศ์สวัสดิ์ล้ม นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะจึงได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีไทย วันเดียวกัน พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยประกาศแถลงการณ์ว่าด้วยการที่การประชุมสุดยอดอาเซียนต้องเลื่อนออกไป โดยเรียกร้องให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะปลดนายสุเทพ เทือกสุบรรณออกจากตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี ผู้นำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยกล่าวว่า หากรัฐบาลไม่สามารถบริหารประเทศได้ดี พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยจะใช้ปฏิบัติการอีกครั้ง
สถานการณ์ไทยส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจอย่างร้ายแรง คาดว่า เมื่อกรุงเทพฯ เข้าสู่สถานการณ์ฉุกเฉินแล้ว นักลงทุนชาวต่างชาติจะวิตกกังวลต่อสถานการณ์การเมืองไทยอย่างมาก มีความเป็นไปได้ที่จะยกเลิกหรือลดการลงทุนในไทย
วันที่ 13 เมษายนนี้ เป็นเทศกาลสงกรานต์ แต่ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครประกาศว่า จะยกเิลิกงานฉลองเทศกาลสงกรานต์ทั้งหมดในเขตกรุงเทพฯ ค่ำวันที่ 12 เมษายนที่ผ่านมา นายอภิสิทธิ เวชชาชีวะกล่าวคำปราศรัยทางโทรทัศน์ โดยเรียกร้องให้ประชาชนปฏิบัติตามพ.ร.ก.ในสถานการณ์ฉุกเฉินร้ายแรงในกรุงเทพฯ และปริมณฑล
(Min/cici)
|