การประชุมมหาสมุทรโลกได้จัดขึ้นที่เมืองมานาโดในจังหวัดสุลาเวสีของอินโดนีเซียระหว่างวันที่ 11 15 พฤษภาคม นับเป็นครั้งแรกที่ประชาคมโลกหารือเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างมหาสมุทรกัึบภูมิอากาศ โดยเจ้าหน้าที่ของรัฐจากกว่า 70 ประเทศ นักวิชาการจาก 12 องค์กรระหว่างประเทศทั้งหมดกว่า 1800 คนได้เข้าร่วมการประชุม ที่ประชุมผ่าน "แถลงการณ์มหาสมุทรมานาโด" เมื่อวันที่ 14 ที่ผ่านมา โดยเน้นว่า ประเทศต่างๆควรอภิปรายปัญหามหาสมุทรภายใต้กรอบการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศให้มากขึ้น เรียกร้องประเทศและองค์กรระหว่างประเทศที่เีกี่ยวข้องใช้มาตรการต่างๆและเพิ่มการให้ความสนใจต่อมหาสมุทร เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ
มหาสมุทรเป็นส่วนประกอบสำคัญในระบบภูมิอากาศทั่วโลก เพราะมีบทบาทในการปรับปรุงภูมิอากาศโลก แต่ปีหลังๆนี้ การเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศในทั่วโลกได้คุกคามถึงการดำรงอยู่ของสิ่งมีชีวิตในมหาสมุทร รวมทั้งชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษยชาติ อีกด้านหนึ่ง การบุกเบิกและการพัฒนาที่ไม่คำนึงผลได้ผลเสียของมนุษยชาติบางส่วนก็ได้ก่อความเสียหายกับระบบนิเวศของมหาสมุทรอย่างรุนแรง พร้อมๆกับวิกฤตการเงินโลกลุกลามต่อในทั่วโลก นักวิทายาศาสตร์จำนวนไม่น้อยกังวลว่า ปัญหาความยากจนและปัญหาตกงานอาจจะกระตุ้นมนุษยชาติให้บุกเบิกและประยุกต์ใช้มหาสมุทรเกินควร จนถึงปัจจุบัน "อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล" ยังคงเป็นสนธิสัญญาระหว่างประเทศที่สำคัญที่สุดในบรรดากฎหมายทางทะเลของโลก
ผลงานสำคัญที่สุดของการประชุมมหาสมุทรโลกครั้งนี้คือ "แถลงการณ์ว่าด้วยมหาสมุทรมานาโด" แถลงการณ์ฉบับนี้ระบุว่า ประเทศต่างๆทั่วโลกควรใช้มาตรการที่เป็นรูปธรรม พยายามบรรลุการใช้งานมหาสมุทร ทรัพยากรตามชายฝั่งทะเลและระบบนิเวศทางทะเลที่ยั่งยืน พยายามลดการปล่อยมลพิษทั้งสู่มหาสมุทรและบนบก เพิ่มการวิจัยความสัมพันธ์ระหว่างการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศกับมหาสมุทร ใช้มาตรการที่มีประสิทธิภาพส่งเสริมการบริหารเขตอนุรักษ์ระบบนิเวศทางทะเล แถลงการณ์ฯยังเรียกร้องทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องให้อภิปรายประเด็นดังกล่าวในที่ประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศที่จะจัดขึ้นที่กรุงโคเปนเฮเกนของเดนมาร์กในเดือนธันวาคมปี 2009 ผู้เชี่ยวชาญที่เข้าร่วมการประชุมครั้งนี้เห็นว่า รัฐบาลประเทศต่างๆควรกำหนดนโยบายและกฎข้อบังคับในการอนุรักษ์ท้องทะเล ร่วมกันสนับสนุนการประยุกต์ใช้ทรัพยากรสิ่งมีชีวิตในมหาสมุทรอย่างยั่งยืน
คณะผู้แทนรัฐบาลของหลายประเทศชื่นชมผลงานของการประชุมครั้งนี้ คณะผู้่แทนออสเตรเลียเห็นว่า ประเทศต่างๆที่เข้าร่วมการประชุมครั้งนี้ล้วนลงนามใน "แถลงการณ์ว่าด้วยมหาสมุทรมานาโด" สะท้อนให้เห็นว่า ทุกประเทศให้ความสำคัญในระดับสูง แถลงการณ์ฉบับนี้จะส่งเสริมทุกประเทศให้ใช้มาตรการเชิงสร้างสรรค์อย่างแข็งขัน ขณะที่คณะผู้แทนสหรัฐอเมริกาเห็นว่า แถลงการณ์ฉบับนี้แสดงให้เห็นความมั่นสัญญาทางการเมืองของประเทศต่างๆในการร่วมรับมือกับการท้าทาย
แต่ทว่า ประเทศที่เป็นเกาะเล็กๆที่ง่ายต่อการได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศกลับไม่ได้เล็งผลเลิศต่อการประชุมครั้งนี้ นาง Dessima Williams ประธานสหภาพประเทศเกาะเล็กๆ ผู้แทนประเทศเกรนาดาประจำสหประชาชาติ กล่าวว่า ผลงานของการประชุมครั้งนี้เป็นเพียงก้าวหนึ่งของการกำหนดสัญญาว่าด้วยการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศภายหลังปี 2012 เท่านั้นเอง การผ่านเฉพาะแถลงการณ์ยังไม่พอ ต้องระบุวิธีการแก้ปัญหาอย่างชัดเจ็น ผู้เชี่ยวชาญบางคนก็แสดงท่าทีด้วยความเสียดายว่า แถลงการณ์ฉบับนี้ไม่มีคำมั่นสัญญาที่เป็นรูปธรรมในการช่วยเหลือประเทศยากจน และไม่มีผลบังคับใช้ใดๆด้วย
Dai/Lu
|