ผู้สื่อข่าวซีอาร์ไอรายงานว่า ระหว่างวันที่ 29-31 พฤษภาคมนี้ การประชุมความมั่นคงเอเชียครั้งที่ 8 ซึ่งได้ชื่อว่าเป็น "การหารือแชงการีล่า" ได้จัดขึ้นที่สิงคโปร์ เพื่อร่วมกันหารือนโยบายความมั่นคงของภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ภายใต้สถานการณ์อันตึงเครียดบนคาบสมุทรเกาหลี ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกเผชิญกับวิกฤตการเงิน ปัญหาโจรสลัด ลัทธิก่อการร้าย การแพร่กระจายอาวุธทำลายล้างสูง และภัยธรรมชาติ เป็นต้น เป็นการท้าทายความมั่นคงที่ไม่เคยมีมาก่อนและข้ามขาติในปัจจุบัน การประชุมครั้งนี้จึงได้รับความสนใจอย่างยิ่ง
รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหม ผู้นำทหาร ทูตานุทูต และผู้เชี่ยวชาญปัญหาความมั่นคงจาก 27 ประเทศและเขตแคว้นในเอเชีย-แปซิฟิกได้เข้าร่วมการประชุมครั้งนี้ พลโทหม่า เสี่ยว เทียน รองเสนาธิการทหารปลอดแอกประชาชนแห่งชาติจีนได้นำคณะผู้แทนจีนเข้าร่วมการประชุมด้วย
เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคมที่ผ่านมา เกาหลีเหนือทดลองนิวเคลียร์ ซึ่งเป็นจุดสนใจของการประชุมครั้งนี้ นายโรเบิร์ต เกตส์ รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ นายยาซูคาซู ฮามาดา รัฐมนตรีทบางการป้องกันประเทศญี่ปุ่น และนายลี ซาง ฮี รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมเกาหลีใต้ได้พบปะกันระหว่างการประชุมเพื่อหารือถึงการคลี่คลายสถานการณ์บนคาบสมุทรเกาหลี หลังการประชุม รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมสามประเทศประกาศแถลงการณ์ว่า สามประเทศจะกระชับความร่วมมือ และร่วมกับประเทศอื่นๆทุ่มกำลังแก้ปัญหาดังกล่าว นายโรเบิร์ต เกตส์ รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ กล่าวว่า ในปัญหานิวเคลียรบนคาบสมุทรเกาหลี นโยบายของสหรัฐฯ ไม่เคยเปลี่ยนแปลง เป้าหมายก็คือให้คาบสมุทรเกาหลีปราศจากนิวเคลียร์อย่างแท้จริง สหรัฐฯ จะไม่ยอมให้เกาหลีเหนือเป็นประเทศที่ครอบครองอาวุนิวเคลียร์ ส่วนรัฐมนตรีทยวงการป้องกันประเทศของญี่ปุ่นและรัฐมนตรีกลาโหมเกาหลีใต้ต่างกล่าวว่า จะติดตามสถานการณ์ของคาบสมุทรเกาหลีต่อไป กระชับการประสานงานกัน แสวงหาวิธีแก้ปัญหา
เนื่องจากการประชุมของปีนี้จัดขึ้นภายใต้สถานการณ์ที่สลับซับซ้อน ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกกำลังเผชิญกับการท้าทายความมั่นคงอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนและข้ามชาติ ประกอบกับวิกฤตการเงินโลกก็ทำให้การท้าทายเหล่านี้ล่อแหลมยิ่งขึ้น ผู้เข้าร่วมประชุมเห็นว่า ภูมิภาคเอเชียต้องสร้างกรอบที่มั่นคงให้สามารถรับมือกับการท้าทายด้านความมั่นคงต่างๆ กรอบดังกล่าวต้องมีลักษณะ 3 ประการดังต่อไปนี้ ประการแรก มีความเปิดเผยและความกว้างขวาง ไม่ว่าประเทศใหญ่หรือประเทศเล็ก รวมทั้งสหประชาชาติและองค์การระหว่างประเทศหรือองค์การส่วนภูมิภาค ต่างสามารถแสดงบทบาทได้ ประการที่สอง มีความยืดหยุ่น เอเชีย-แปซิฟิกต้องการกรอบทั้งระดับทวิภาคีและพหุภาคี ตลอดจนเครือข่ายอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการ เพื่อเปิดโอกาสให้มีความร่วมมือและหารือกันมากยิ่งขึ้น และประการที่สาม อาเซียนต้องการกรอบความมั่นคงเป็นหลัก
เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคมที่ผ่านมา พลโทหม่า เสี่ยว เทียน รองเสนาธิการทหารปลอดแอกประชาชนแห่งชาติจีนได้กล่าวปาฐกถาในหัวข้อ "ผลักดันความร่วมมือด้านความมั่นคง สร้างความสมานฉันท์ในเอเชีย-แปซิฟิก" เขากล่าวว่า จีนยืนหยัดนโยบายป้องกันประเทศในเชิงยุทธศาสตร์ทางทหาร พิทักษ์อธิปไตยและบูรณภาพเหนือดินแดน ขณะเดียวกัน พยายามพัฒนาความร่วมมือทางทหารที่ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด ไม่ตั้งตัวเป็นปรปักษ์กันและไม่เจาะจงกับฝ่ายที่สาม
ผิง
|