นอกจากนี้เธอยังกล่าวถึงการพบปะกับนายกรัฐมนตรี เวินเจียเป่าว่า
"เรามีการพูดคุยกันถึงเรื่องการตกลงร่วมมือกันทางเศรษฐกิจการค้าในเชิงกว้างและเชิงลึก ในความร่วมมือ 8 ด้าน อาทิ มาตรการส่งเสริมการค้า ในเรื่องนโยบาย และกฎเกณฑ์ เรื่องปัญหาต่างๆ เรื่องการอำนวยความสะดวกด้านการค้า ไม่ว่าจะเป็นการจัดตั้งการพัฒนาความร่วมมือด้านศุลกากร การกักกันพืชและสัตว์ ความปลอดภัยด้านอาหาร และความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจที่มีถึง 9 ด้าน ได้แก่ เกษตรและประมง การผลิตและแปรรูปอาหาร การผลิตอุตสาหกรรมและสิ่งทอ โครงสร้างพื้นฐาน ทรัพยากรแร่และการแปรรูป พลังงาน เทคโนโลยีสารสนเทศ อุตสาหกรรมบริการ ไม่ว่าจะเป็นการท่องเที่ยวและอาหาร โลจิสติกส์ การส่งเสริมเอสเอ็มอี รวมถึงด้านอสังหาฯ ที่เห็นชอบร่วมกัน และมีการร่วมมือระหว่างกันของผู้บริหารระดับสูงทั้งสองประเทศ เป็นการตั้งคณะทำงานความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ ซึ่งจะมีการประชุมกันทุกๆ ปี รวมถึงการพัฒนาด้านโลจิสติกส์ และส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรมและการใช้ประโยชน์ในด้านทรัพย์สินทางปัญญา รวมถึงคุ้มครองด้านไอที และส่งเสริมการลงทุนร่วมกัน ซึ่งระดับกระทรวงพานิชย์ทั้ง 2 ประเทศได้หารือร่วมกัน โดยนายกเวิน เจียเป่า ได้แสดงความชื่นชม และพร้อมสนับสนุนในทุกๆ ด้าน ที่ทางไทยและจีนจะได้มีความตกลงร่วมกันในอนาคต"
ลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ หรือ MOU
ในด้านการจัดงานครั้งนี้ เธอกล่าวว่า "การจัดงานครั้งนี้ เป็นครั้งแรกที่กระทรวงพานิชย์นำตัวแทนนักธุรกิจจากจังหวัดต่างๆ ในประเทศไทยมาเจรจาธุรกิจ เช่น ข้าว มันสำปะหลัง มะพร้าว ปาล์มน้ำมัน อาหารแปรรูป ผลไม้เมืองร้อน ยางพารา ผลิตภัณฑ์ไม้ สินค้าแฟชั่นและอื่นๆ นอกจากนี้ยังมีนักธุรกิจจากส่วนกลางในกิจการด้านธุรกิจ บริการด้านการศึกษา อัญมณีและเครื่องประดับ การก่อสร้าง ซึ่งนักธุรกิจทั้งสองฝ่ายสามารถสร้างเครือข่ายการเป็นหุ้นส่วนธุรกิจในการขยายลู่ทางการค้าร่วมกัน วันนี้ได้นำคณะจากส่วนกลางเพื่อมาจัดทำสัญญาซื้อขายสินค้ากับผู้นำเข้ารายสำคัญของประเทศจีน ซึ่งวันนี้มีการจัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ หรือ MOU ถึง 18 ฉบับ ได้แก่ มันเส้น 5 ฉบับ ข้าว 6 ฉบับ ผลไม้ 2 ฉบับ อัญมณีและเครื่องประดับ 1 ฉบับ ยางพารา 4 ฉบับ
ลงนามซื้อขายสินค้า
ส่วน ลีนา พงศ์พฤกษา อัครราชทูตฝ่ายการพานิชประจำกรุงปักกิ่ง ซึ่งเป็นผู้ประสานงานสำคัญครั้งนี้ ก็ได้กล่าวถึงตัวเลขและข้อมูลที่น่าสนใจว่า "เครือข่ายธุรกิจไทยในจีนตอนเหนือ ที่มีความร่วมมืออย่างใกล้ชิดมากขึ้น เพื่อประโยชน์ทั้งสองฝ่ายตามยุทธศาสตร์ศูนย์ภูมิภาคจีน ซึ่งประกอบด้วยมณฑลและเมืองต่างๆ ซึ่งมีประชากรกว่า 400 ล้านคน คิดเป็นประมาณ 1 ใน 3 จีน และเป็น 6.5 เท่าของประชากรไทย และเป็นที่ตั้งของเมืองหลวงคือกรุงปักกิ่ง และเมืองธุรกิจที่สำคัญ ที่นักธุรกิจไทยยังไม่ได้เข้ามาสร้างเครือข่ายธุรกิจมากเท่าที่ควร ซึ่งประชากรในแถบนี้มีรายได้เฉลี่ยมากกว่าภูมิภาคอื่นตกประมาณ 3,100 6,000 เหรียญดอลล่าร์สหรัฐ ต่อคนต่อปี รวมทั้งมีความต้องการบริโภคสินค้าคุณภาพสูงมาก"
1 2 3 4 5 6 7 8
|