China Radio International
ข่าวภายใน
    ประเทศ
ข่าวต่างประเทศ
 ข่าวการเมืองและ
 การต่างประเทศ
 ข่าวเศรษฐกิจ
 ข่าววัฒนธรรม

 ข่าววิทยาศาสตร์
  เทคโนโลยี่

 ข่าวกีฬา
 ข่าวอื่น
วันที่ 13 พฤศจิกายน ปี ค.ศ.2009
อ่านต่อ>>

จีนปัจจุบัน

เศรษฐกิจ

พาเที่ยวจีน

วัฒนธรรม

ชนชาติส่วนน้อย

การเมือง
(GMT+08:00) 2009-07-30 21:13:38    
ขงจื่อ

cri

เมื่อพูดถึงวัฒนธรรมดั้งเดิมของจีน ก็ต้องเอ่ยถึงขงจื่อ เมื่อทศวรรษ 1970 นักวิชาการชาวอเมริกันผู้หฯึ่ง ได้จัดให้ขงจื่ออยู่อันดับ 5 ใน 100 บุคคลที่มีอิทธิพลสำคัญต่อประวัติศาสตร์มนุษยชาติ แต่สำหรับคนจีนแล้ว อิทธิพลของขงจื่อน่าจะอยู่อันดับแรกซะมากกว่า อาจจะกล่าวได้ว่าคนจีนทุกคนต่างได้รับอิทธิพลจากสำนักปรัชญาขงจื่อไม่มากก็น้อย

ขงจื่อ มีชีวิตอยู่ระหว่างก่อน ค.ศ.551-479 มีชื่อตัวว่า ชิว เป็นคนรัฐหลู่ ปัจจุบันก็คือมณฑลซานตง คำว่าจื่อ เป็นคำยกย่องผู้ที่ถูกเรียกว่าเป็นอาจารย์ ขงจื่อ เป็นนักคิดและนักการศึกษาที่ยิ่งใหญ่ ในสมัยปลายชุนชิวและเป็นผู้ก่อตั้งสำนักปรัชญา"หยูเจีย" หรือสำนักปรัชญาขงจื่อนั่นเอง ได้รับการยกย่องว่า เป็นปรมาจารย์แห่งจริยธรรมผู้ยิ่งใหญ่

ขงจื่อเกิดที่รัฐหลู่ซึ่งถือว่าเป็นเมืองที่เก็บรักษาคัมภีร์โบราณสมัยราชวงศ์โจวได้สมบูรณ์ที่สุด ถึงกับได้ชื่อว่าเป็นเมืองแห่งจารีตและดนตรีมาแต่โบราณกาล การก่อรูปแนวคิดของขงจื่ออาจได้รับอิทธิพลจากขนบธรรมเนียม วัฒนธรรม และบรรยากาศทางการศึกษาของรัฐหลู่

ขงจื่อสูญเสียบิดาตั้งแต่อายุ 3 ขวบ มารดาเป็นหญิงผู้ซื่อสัตย์สุจริต เลี้ยงดูขงจื่อมาด้วยความเข้มงวดกวดขัน เพื่อให้ลูกได้เป็นผู้มีความรู้และคุณธรรม ขงจื่อมีความรักและสนใจในการศึกษาหาความรู้ตลอดจนศึกษาพิธีกรรม การเซ่นสรวงต่าง ๆ ที่สืบทอดกันมาแต่โบราณกาล

ขงจื่อตั้งตนเป็นอาจารย์เมื่ออายุ 30ปี เริ่มถ่ายทอดความรู้แก่ศิษย์

เย่างไม่ท้อถอย การถ่ายทอดความรู้ของขงจื่อได้พลิกโฉมการศึกษาสมัยนั้น โดยทำลายธรรมเนียมการเรียนการสอนที่จำกัดอยู่เฉพาะในราชสำนัก ทำให้ประชาชนทั่วไปตื่นตัวทางการศึกษาและวัฒนธรรมมากยิ่งขึ้น ขงจื่อมีวิธีของตนในการรับศิษย์ ไม่ว่าจะเป็นคนชนชั้นใด แค่มอบสิ่งของเล็กน้อยเป็นค่าเล่าเรียน แม้เนื้อตากแห้งเพียงชิ้นเดียวก็รับไว้เป็นลูกศิษย์ เล่ากันว่าท่านมีลูกศิษย์มากถึง 3,000 คน ที่ยกย่องกันว่ามีความรู้ปราดเปรื่องและมีคุณธรรมสูงส่งมี 70 คน จาศานุศิษย์ 70 คนนี้ คนรุ่นหลังจึงได้ทราบแนวคิดต่าง ๆ ของของจื่อ เนื่องจากลูกศิษย์ขงจื่อได้บันทึกคำสอนของอาจารย์ตนไว้ในรูปของคำสนทนาระหว่างอาจารย์กับศิษย์โดยขึ้นต้นว่า "อาจารย์กล่าวว่า..." ภายหลังลูกศิษย์ได้นำคำสอนของขงจื่อมาประมวลแล้วเรียบเรียงขึ้นเป็นหนังสือชื่อ"หลุนอวี่"

บั้นปลายชีวิตขงจื่ได้รวบรวมบันทึก พงศาวดารและปรากฏการณ์ธรรมชาติต่าง ๆ มีชื่อว่า"ชุนชิว" ขงจื่อยังเป็นบรรณาธิการหนังสือสำคัญ ๆ ทางวรรณคดีจีนซึ่งเป็นที่ยกย่องกันภายหลัง ได้แก่ "ซูจิง"(ตำราประวัติศาสตร์) "ซือจิง"(ตำราว่าด้วยลำนำกวี)เป็นผู้ตรวจแก้"อี้ว์จิง"(ตำราว่าด้วยการดนตรี-แต่สาบสูยไปในภายหลัง)และ"หลี่จี้"(ตำราว่าด้วยจารีตประเพณี) หนังสือทั้ง 5 เล่มนี้เรียกรวมกันในภาษาจีนว่า "อู่จิง"หรือคัมภีร์ทั้งห้า นั่นเอง

ขงจื่อเน้นหนักในการบ่มเพาะเรื่องเมตตาธรรม ความชอบธรรมและจารีตประเพณี คำสอนของท่านเป็นสิ่งที่มีคุณค่าและงดงามยิ่ง ความคิดของขงจื่อได้กลายเป็นหัวใจสำคัญในวัฒนธรรมจีน และมีอิทธิพลสำคัญต่อความคิดของชนชาติจีน คุณธรรมอันดับแรกที่ขงจื่อสั่งสอนคือ"เหริน" หรือ เมตตาธรรม เมื่อลูกศิษย์แต่ละคนถามขงจื่อว่า "อะไรที่เรียกว่าเหริน" ขงจื่อก็จะตอบโดยพิจารณาตามบุคลิกอุปนิสัยใจคอของลูกศิษย์คนนั้น ๆ ดังนั้นเมื่อเห็นคำอธิบายกับลูกศิษย์แต่ละคนแล้วก็ไม่เหมือนกันเลย แต่เมื่อเอาคำอธิบายทั้งหลายมารวมความกันก็จะเป็นความหมายอันสมบูรณ์ของเหริน

1 2