China Radio International
ข่าวภายใน
    ประเทศ
ข่าวต่างประเทศ
 ข่าวการเมืองและ
 การต่างประเทศ
 ข่าวเศรษฐกิจ
 ข่าววัฒนธรรม

 ข่าววิทยาศาสตร์
  เทคโนโลยี่

 ข่าวกีฬา
 ข่าวอื่น
วันที่ 13 พฤศจิกายน ปี ค.ศ.2009
อ่านต่อ>>

จีนปัจจุบัน

เศรษฐกิจ

พาเที่ยวจีน

วัฒนธรรม

ชนชาติส่วนน้อย

การเมือง
(GMT+08:00) 2009-08-13 15:24:20    
เพลงชาติจีน

cri

วันที่ 1 ตุลาคม. เป็นวันชาติจีน เช้าตรู่ก่อนอรุณจะทักขอบฟ้าผู้คนนับล้านจากทั่วทุกสารทิศ จะมาพร้อมหน้ากันที่จตุรัสเทียนอันเหมินพื่อร่วมพิธีเชิญธงขึ้นสู่ยอดเสา ครั้นรุ่งอรุณทักขอบฟ้าวงดุริยางของกองทัพปลดแอกประชาชนจีนจะขับร้องและบรรเลงเพลงชาติ ผู้ที่มาร่วมพิธีจะร่วมกันร้องเพลงชาติ เสียงดังกึกก้องกังวานไปทั่วบริเวณ เป็นการรับขวัญวันใหม่ที่สดใส ห้าวหาญ มีพลัง ของประชาชาติจีน ไม่เฉพาะในวันชาติเท่านั้น แต่ทุก ๆ วัน จะมีชาวจีนนับหมื่นพากันมาร่วมพิธีเชิญธงขึ้นสู่ยอดเสาและร่วมร้องเพลงชาติ

เพลงชาติจีนปัจจุบัน หรือเพลงมาร์ชกองกำลังทหาร อาสาเพิ่งได้รับการบรรจุอยู่ในรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยที่ประชุมสภาผู้แทนประชาชนแห่งชาติจีนสมัยที่ 10 ครั้งที่ 2 เมื่อกลางเดือนมีนาปี 2003 นี่เอง ซึ่งนี่แสดงถึงการยอมรับตามกฎหมายในฐานะเพลงประจำชาติจีนอย่างแท้จริง

เพลงมาร์ชกองกำลังทหารอาสา หรือเพลงชาติจีนแต่งขึ้นเมื่อ70 ปีที่แล้ว ประพันธ์เนื้อร้องโดยเถียนฮั่น และแต่งทำนองโดยเนี้ยเอ่อร์ แต่งขึ้นเมื่อ ปีค.ศ 1935 ซึ่งเป็นปีที่จีนอยู่ในยุคสาธารณรัฐ การเมืองช่วงนั้นกำลังปั่นป่วนวุ่นวายะ เพราะต้องเผชิญทั้งศึกนอกศึกใน เพลงนี้ปลุกเลือดรักชาติให้คนจีนยืนหยัดขึ้นขับไล่ผู้รุกรานชาวญี่ปุ่น และนายพลเจียงไคเช็ค พร้อมกับร่วมสร้างจีนใหม่ไปพร้อมๆ กัน เถียนฮั่นแต่งเนื้อร้องเพลงชาติจีนตอนปี 1934 ขณะเพิ่งเข้าเป็นสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์จีนต่อต้านญี่ปุน ก่อนหน้านั้นไม่นานเขาถูกทหารของก๊กมินตั๋งจับตัวไปเข้าคุกระหว่างเขียนบทหนัง และเพลงที่มีเนื้อหาต่อต้านนักรบญี่ปุ่น ส่วนเนี้ยเอ่อร์คนที่แต่งทำนองเพลงชาติจีนปัจุจุบัน เป็นสหายร่วมอุดมการณ์ของเถียนฮั่น หลังจากได้อ่านเนื้อ เพลงที่เถียนฮั่นแต่ง ก็เสนอตัวรับไปแต่งทำนองให้ ซึ่งเขาก็สามารถแต่งทำนองขึ้นมาได้อย่างรวดเร็ว และเสร็จสมบูรณ์ในระหว่างช่วงหนีทหารญี่ปุ่นอย่างหัวซุกหัวซุน

บทเพลงปลุกใจนี้ได้กลายเป็นผลงานชิ้นสุดท้ายของเนี้ยเอ่อร์ มาร์ชกองกำลังทหารอาสานี้กลายเป็นเพลงที่ได้รับความ นิยมไปทั่วแผ่นดินใหญ่ กระทั่งเล็ดลอดออกไปนอกประเทศ และได้รับการนำไปขับร้องโดยพอล โรบีสัน นักร้องผิวดำชาวอเมริกัน ผู้นำด้านการต่อต้านสงครามและลัทธิฟาสซิสม์ในตอนนั้น

เพลงนี้ก็ได้ออกแผ่นเสียงเป็นเพลงปลุกใจที่มีชื่อว่า ลุกขึ้นเถิด ! ได้รับกียรติจากมาดามซ่งชิ่งหลิง ภรรยาของดร.ซุนยัดเซ็นเขียนคำนิยมให้ และเมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง ท่ามกลางทหารฝ่ายพันธมิตรที่ได้รับชัยชนะ บทเพลงนี้ก็ยิ่งดังกระหึ่มทีเดียว สำหรับเนื้อหาของเพลงชาติจีน คือ ลุกขึ้นเถิด!มวลชนผู้ไม่ยอมเป็นทาสทั้งหลาย ! ให้เลือดเนื้อของพวกเราสร้างเป็นกำแพงเมืองจีนขึ้นใหม่ !

ถึงเวลาอันเป็นวิกฤตยิ่งของชนชาวจีนแล้ว ทุกผู้คนล้วนต้องแสดงพลังเป็นครั้งสุดท้าย

ลุกขึ้นเถิด ! ลุกขึ้น ! ลุกขึ้น จิตใจหมื่นดวงของพวกเรารวมเป็นหนึ่งเดียว บุกเข้าฟันฝ่าปืนไฟของศัตรู ! บุกเข้าฟันฝ่าปืนไฟของศัตรู !บุกเข้าไป !บุกเข้าไป ! บุกเข้าไป !

ปี 1949 เดือนมิถุนายน เป็นช่วงก่อตั้งจีนใหม่ คณะกรรมการที่ปรึกษาทางการเมืองจีนเปิดประชุมครั้งแรกที่กรุงปักกิ่ง และมอบหมายผู้รับผิดชอบในการกำหนดธงชาติ ตราสัญลักษณ์ประเทศ และเพลงชาติจีน ต่อมา 4กรกฏาคม 1949 มีการจัดการประชุมกลุ่มเป็นครั้งแรกเพื่อคัดเลือกเนื้อเพลงชาติ และในเวลานั้นได้เชิญผู้เชี่ยวชาญด้าน

ดนตรีมาเป็นที่ปรึกษาประจำคณะทำงาน หลังจากการประชุมครั้งนค้นหาเพลงชาติก็เริ่มขึ้นอย่างจริงจัง ในเบื้องต้น เหมาเจ๋อตุง โจวเอินไหล 2 ผู้นำประเทศระดับสูงเห็นชอบลงประกาศขอความเห็นเกี่ยวกับธงชาติ ตราแผ่นดิน และเพลงชาติในหนังสือพิมพ์หลักของประเทศ อย่าง พีเพิลเดลี่ เทียนจินเดลี่ กวงหมิงเดลี่ ติดต่อกัน 8 วัน และก็เป็นข่าวในหนังสือพิมพ์ต่างประเทศอีกหลายฉบับ ซึ่งการสรรหาเพลงชาติลักษณะนี้ได้รับเสียงตอบรับเป็นอย่างดี กระทั่งวันที่ 24 สิงหาคม ก็สามารถรวบรวมต้นฉบับเพลง ชาติจากที่ต่างๆได้ถึง 350 ชิ้น อย่างไรก็ตาม เนื้อเพลงที่เข้าตากรรมการยังไม่เพียงพอ ต้องประกาศขอเวลารวบรวมใหม่อีกครั้ง จนรวบรวมเพลงได้ถึง 632 เพลง

25 กันยายน 1949 เหมาเจ๋อตง และโจวเอินไหล จึงได้เปิดประชุมเรื่องธงชาติ ตราสัญลักษณ์ประเทศ และเพลงชาติจีน หม่าซี่ว์หลุนก็ได้เสนอว่าให้ใช้เพลงมาร์ชกองกำลังทหารอาสาแทนเพลงชาติชั่วคราว ซึ่งได้รับเสียงสนับสนุนจากคณะกรรมการมากมาย

ทั้งเหมาเจ๋อตงและโจวเอินไหลฟังแล้วก็ยอมรับ พร้อมเสริมว่า แม้ขณะนี้ศึกในประเทศจะสงบแล้ว แต่ก็ยัง ต้องเผชิญกับศัตรูนอกประเทศอีก ซึ่งเพลงชาติควรทำหน้าที่สะท้อนถึงพลังและจิตวิญญาณของประชาชนในประเทศ และเนื้อเพลงเดิมก็ให้ความรู้สึกถึงความฮึกเหิม ไม่กลัวที่จะบุกไปข้างหน้าอยู่แล้ว จึงเห็นชอบให้เนื้อเพลงเดิม ที่ประชุมจึงมีมติให้เพลงมาร์ชกองกำลังทหารอาสาเป็นเพลงชาติจีนตั้งแต่วันนั้น แต่ว่ายังไม่มีการกำหนดอย่างเป็น ทางการ อย่างไรก็ตามในพิธีสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีนวันที่ 1 ตุลาคม 1949 ก็มีพิธีเชิญธงข้นเสา พร้อมไปกับเสียงเพลงชาติบรรเลงเป็นครั้งแรกที่บริเวณลานจัตุรัสเทียนอันเหมิน

หลังจากที่เพลงมาร์ชกองกำลังทหารอาสาเป็นเพลงประจำชาติจีนได้ 17 ปี ในช่วงปฏิวัติวัฒนธรรม(ค.ศ.1966-1976) เถียนฮั่น ซึ่งเป็นผู้ประพันธ์เนื้อเพลงได้ถูก 'แก๊งสี่คน' ป้ายสี เพลงที่เขาแต่งจึงไม่สามารถนำมาร้องได้อีก เพลงชาติในช่วงนั้นจึงทำได้แค่เพียงการบรรเลงดนตรี กระทั่งเมื่อแก๊งสี่คนถูกโค่นลงไป ก็มีการเสนอขึ้นมาว่า ประเทศชาติเข้าสู่โฉมหน้าใหม่ของประวัติศาสตร์แล้ว และเพลงชาติเนื้อเดิมที่แต่งโดยเถียนฮั่นไม่สามารถสะท้อนถึงความเปลี่ยนแปลงนี้ได้ จึงควรเปลี่ยนเนื้อร้องใหม่ เดือนมีนาคม 1978 ก็มีมติอนุมัติเนื้อร้องเพลงชาติฉบับใหม่ อย่างไรก็ตาม เนื้อเพลงใหม่นี้ก็ยังมีคนไม่พอใจ โดยชี้ว่าบาง ประโยค ใช้ศัพท์ธรรมดาเกินไป ไม่สละสลวย และฟังแล้วไม่ให้ความรู้สึกฮึกเหิมเท่าเพลงเก่า

ตลอดระยะเวลาช่วง 1980-1982 คณะกรรมการแก้ไขรัฐธรรมนูญได้รับคำทักท้วงจากหลายฝ่ายมีความเห็นว่า เพลงมาร์ชกองกำลังทหารอาสาสะท้อนจิตใจนักปฏิวัติได้ดีกว่าเพลงใหม่ และแสดงออกถึงความไม่ประมาทต่ออันตรายแม้อยู่ประเทศในภาวะสงบสุข อีกทั้งเพลงนี้อยู่ในใจชาวจีนมานาน จึงเสนอให้ยกเลิกเพลงใหม่ที่ใช้มาตั้งแต่ปี 1978

หลังผ่านคลื่นลมทางประวัตศาสตร์มานับครั้งไม่ถ้วน เพลงมาร์ชกองกำลังทหารอาสาก็ได้รับการบรรจุเป็นเพลงชาติจีนในรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนอย่างเป็นทางการ เมื่อกลางเดือนมีนาคมปี 2003 หลายคนคงได้ฟังเพลงชาติจีนจนคุ้นหูจากงานกีฬาโอลิมปิกปักกิ่งเมื่อปี 2008 เพราะนักกีฬาจีนสามารถคว้าเหรียญทองได้มากที่สุดเป็นประวัติการณ์ จึงไม่แปลกที่เราจะได้ยินเพลงชาติจีนดังขึ้นครั้งแล้วครั้งเล่า จนคุ้นหูกันไปเลย เพลงชาติจีนมาจากเพลงมาร์ชกองกำลังทหารอาสา ประพันธ์เนื้อร้องโดยเถียนฮั่น และแต่งทำนองโดยเนี้ยเอ่อร์

--------------------------------------------------------------- 

คำถาม - .ใครคือผู้ประพันธ์เนื้องร้องเพลงชาติจีน?

กรุณาส่งคำตอบทาง sms โดยพิมพ์ CI เว้นวรรคแล้วตามด้วยคำตอบ ส่งมาที่ 4554523