รายการครั้งที่แล้ว เราได้คุยเรื่องสถาบันขงจื๊อกับดร.ม.ร.ว.กัลยา ติงศภัทิย์ รองอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รายการวันนี้ เราจะคุยกับท่านและคุณบุญญารัตน์ สุวรรณจินดาผู้อำนวยการฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัยมหิดลในเรื่องความร่วมมือระหว่างสองฝ่ายกันต่อนะครับ เชิญติดตามรับฟังรายการของเราครับ
ท่านผู้ฟังครับ ทุกวันนี้ ในประเทศต่างๆ เกิดกระแสนิยมเรียนภาษาจีน ขณะเดียวกันกับกระแสดังกล่าว จีนก็ให้ความสำคัญกับการเรียนภาษาของประเทศอาเซี่ยนเหมือนกัน มหาวิทยาลัยของจีนกว่า 10 แห่ง เช่น มหาวิทยาลัยภาษาต่างประเทศปักกิ่ง มหาวิทยาลัยปักกิ่ง มหาวิทยาลัยภาษาต่างประเทศและการค้าระหว่างประเทศกวางตุ้ง มหาวิทยาลัยภาษาต่างประเทศเซี่ยงไฮ้ และมหาวิทยาลัยชนชาติยูนนานได้เปิดสอนภาษาของประเทศอาเซียนต่างๆ เช่น ภาษาไทย กัมพูชา ลาว เวียดนาม พม่า มาเลเซียและอินโดนีเซียน ดร.ม.ร.ว.กัลยา ติงศภัทิย์ รองอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกล่าวถึงผลคืบหน้าใหม่ๆ ของความร่วมมือด้านการเรียนการสอนภาษาระหว่างไทยกับจีนว่า
"ทางด้านภาษาเราก็ได้มีความคืนหน้าเกิดขึ้น ขณะนี้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้พัฒนาแบบทดสอบภาษาไทยที่เป็นมาตรฐาน เพื่อใช้วัดระดับภาษาไทยของชาวต่างประเทศที่เรียนภาษาไทย
ในทุกทักษะ ไม่ว่าจะเป็นการอ่าน การเขียน การพูดหรือการฟัง ซึ่งโครงการนี้จะเริ่มขึ้นที่มหาวิทยาลัยหนานหนิง ต่อไปจะเข้าไปยังมหาวิทยาลัยปักกิ่ง"
ท่านผู้ฟังครับ นอกจากความร่วมมือด้านการเรียนการสอนภาษาแล้ว มหาวิทยาลัยจีนและไทยยังมีโครงการความร่วมมือในด้านอื่นๆ อีกหลายด้าน คุณบุญญารัตน์ สุวรรณจินดาผู้อำนวยการฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัยมหิดลแนะนำโครงการความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยของจีนว่า
"ขณะนี้ มหาวิทยาลัยมหิดลมีความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยหลาย
แห่งของจีน เช่น เมื่อสองปีที่ผ่านมา เราได้จัดสัมมนาความร่วมมือกับ University Of Chinese Medicine ในเรื่องเกี่ยวกับทางด้านการแพทย์ นอกจากนี้ ก็มีมหาวิทยาลัยที่เราเพิ่งลงนามในสัญญาความร่วมมือกันไปเมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา คือ Kunming Medical Universtity กับ NanJing Universtity ในส่วนของ Kunming Medical Universtity เรามีความร่วมมือกันนานมากประมาณ 20-30 ปีมาแล้ว ปัจจุบัน เรากำลังรื้อฟื้นความสัมพันธ์กันอีกครั้งในการช่วยพัฒนาในด้าน การแพทย์และสาธารณสุข Kunming Medical Universtity จะจัดส่งอาจารย์มาฝึกอบรมที่มหาวิทยาลัยมหิดลในเดือน
1 2
|