ปีนี้เป็นปีที่สาธารณรัฐประชาชนจีนสถาปนาขึ้นครบรอบ 60 ปี หลังจากการสะสมและการพัฒนาไปเป็นเวลาหลายสิบปี การบินและการบินอวกาศของจีนพัฒนาก้าวคืบหน้าไปอย่างมากและได้รับความสนใจจากทั่วโลกด้วย ในรายการวันนี้ ผมขอเล่าถึงเรื่องผลสำเร็จบางส่วนด้านการบินและการบินอวกาศของจีน
"เสินโจ 7 ได้ออกนอกยานอวกาศแล้ว มีสุขภาพที่ดี ขอทักทายประชาชนทั่วประเทศจีนและประชาชนทั่วโลก"
เมื่อวันที่ 27 กันยายนปี 2008 บนยานอวกาศที่โคจรอยู่เหนือพื้นดินโลกกว่า 300 กิโลเมตร นักบินอวกาศไจ๋ จื้อกังได้เดินออกนอกยานอวกาศซึ่งนับเป็นก้าวแรกของชาวจีน ที่ท่านกำลังฟังอยู่นี้คือ เสียงทักทายที่มีต่อประชาชนทั่วประเทศจีนและประชาชนทั่วโลกของนักบินอวกาศไจ๋จื้อกัง กระบวนการที่มีความหมายทางประวัติศาสตร์นี้แสดงว่า ไจ๋ จื้อกังเป็นนักบินอวกาศที่เดินในอวกาศคนแรกของจีน และทำให้จีนกลายเป็นประเทศที่มีเทคโนโลยี่การเดินอวกาศอันดับที่สามของโลก รองลงจากรัสเซียและสหรัฐ
เทคนิคการบินอวกาศพร้อมนักบินเป็นสหวิทยาการที่ได้ใช้วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี่หลากหลายสาขา ซึ่งเกี่ยวพันถึง 7 ระบบจรวด ยานอวกาศ และการควบคุมสัมผัสระยะไกลด้วยวิทยุ เป็นต้น นับเป็นโครงการที่สลับซับซ้อนที่สุด ใหญ่ที่สุดและมีความเสี่ยงที่สุดในโลกปัจจุบัน นายจังเจี้ยนชี รองผู้บัญชาการของโครงการยานอวกาศพร้อมนักบินกล่าวว่า ถ้าไม่มีวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีที่ก้าวหน้าและความสามารถด้านการวิจัยที่พัฒนาอย่างสูงนั้น การส่งนักบินออกไปเดินอวกาศย่อมเป็นเรื่องที่ไม่อาจเป็นจริงขึ้นมาได้เด็ดขาด เขากล่าวว่า
ยานอวกาศของเราประสบผลคืบหน้าอย่างยิ่งในด้านเทคโนโลยีการปรับเพิ่มและลดความกดอากาศ และยังต้องวิจัยและผลิตชุดอวกาศด้วย นอกจากนั้นยังรวมถึงเทคนิคด้านวิศวกรรมเครื่องยนตร์ขนาดเล็ก และเทคนิคด้านวัสดุศาสนตร์ใหม่ๆเป็นต้น
แต่เมื่อ 60 ปีก่อน สำหรับชาวจีนแล้วเรื่องนี้เป็นความฝันอันยาวไกล ในสมัยนั้น จีนไม่เพียงแต่ไม่มีจรวดขนส่งนักบิน แม้กระทั่งนักวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีที่มีความสามารถระดับโลกก็ไม่มี ยุคนั้น คนที่ทำงานด้านการวิจัยวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี่ในจีนมีไม่ถึง 500 คนด้วยซ้ำ
หลังจากจีนใหม่สถาปนาขึ้นเมื่อปี 1949 เป็นต้นมา รัฐบาลได้ยึดถือการพัฒนาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีเป็นสำคัญ และกำหนดโครงการหลักแห่งการพัฒนาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีระยะยาว
เมื่อปี 1964 จีนสามารถสร้างระเบิดปรมาณูลูกแรกสำเร็จ ซึ่งทำให้ทั่วโลกรู้สึกตกใจเป็นอย่างมาก และอีก 3 ปีถัดมา สามารถผลิตและระเบิดไฮโดรเจนลูกแรกได้ และในปี 1970 จีนยิงส่งดาวเทียมดวงแรกขึ้นสู่อวกาศด้วยความสำเร็จ ทั้งนี้ไม่เพียงแต่ได้เสริมพลังด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและความสามารถด้านการป้องกันประเทศของจีนให้สูงขึ้นเท่านั้น หากยังกำหนดฐานะสำคัญของจีนในเวทีโลก และยังเป็นการเตรียมความพร้อมทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและบุคคลากรสำหรับการพัฒนาด้านการบินอวกาศด้วย นายเหมยหย่งหง ผู้รับผิดชอบที่เกี่ยวข้องของกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีแห่งชาติจีนกล่าวว่า
1 2
|