เปิดสอนวิชาภาษาจีนในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พอกลับมาสอนเมืองไทย ตอนแรกๆ คณะอัษรศาสตร์เปิดเป็นวิชาเลือก 4 วิชา จีนหนึ่งสองสามสี่ และสอนอยู่คนเดียว เพราะไม่มีใครเลย ไม่มีใครช่วยเลย ไม่มีใครพร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือ และที่สำคัญพอกลับไปเปิดสอนที่จุฬา ก็เป็นที่เพ่งเล็งจากสันติบาลด้วย สันติบาลไทยก็ตามมาสอบถามประวัติ ว่าเป็นใคร มาจากไหน เราบอกว่าจุฬาให้ไปเรียนและให้มาสอน เขาก็ถามว่าสอนอะไร ก็คุยกับเขา แต่เขาก็มาบ่อยมาก จนในที่สุดก็รำคาญ จึงบอกว่าคุณก็มานั่งฟังฉันสอน อยากรู้ว่าสอนอะไรเข้าไปนั่งฟังเลย สันติบาลก็เข้าไปนั่งฟัง ฟังอยู่สัก 2-3 วันเขาก็เลิก เพราะตำราก็ำไม่มีอะไร เพราะตอนนั้นกลับมาก็ไม่มีตำรา ก็เอาตำราที่เคยเรียนที่อเมริกามาสอน ใช้ตำราที่เคยเรียนปีหนึ่งมาแปลเป็นภาษาไทยแล้วก็สอน ถูกสอบประวติ ถูกเพ่งเล็งมาก เพราะตอนนั้นเมืองไทยยังไม่มีความสัมพันธ์กับจีน เพิ่งจะเปิดปี 1975 กับจีนก็ยังกลัวคอมมิวนิสต์อยู่ เวลาสอนก็ลำบากเหมือนกันเพราะว่าตอนนั้นบ้านเราไม่ทราบว่าภาษาจีนศัพท์จะไม่เหมือนกันขนาดนั้น อย่างพอกลับไปสอน สิ่งที่เราสอนก็คือสิ่งที่เราเรียนจากครูที่อเมริกา เช่นเราสอนศัพท์ หูท่ง แปลว่า ซอย หรือสอนศัพท์ว่า ซีหงซื่อ แปลว่า มะเขือเทศ หรือ โจ่วลู่ แปลว่าเดิน ก็ปรากฏว่า นิสิตที่เรียนกลับไปบ้านไปให้คุณพ่อคุณแม่ดู ปรากฏว่าถูกผู้ปกครองติงมาว่า สอนอะไรนี่ ศัพท์หูท่งไม่รู้จัก ต้องพูดว่า เซี่ยง อะไรอย่างนี้ ศัพท์พวกนี้เขาไม่รู้จัก ซีหงซื่อเขาก็ไม่รู้จัก โจ่วลู่ ทำไมต้องโจ่วลู่ โจ่ว เฉยๆ ไม่ได้หรือ และการออกเสียงก็เหมือนกัน อย่างเช่นคำว่า คน เราก็บอกว่า ren ครูก็บอกว่า lao shi ผู้ปกครองก็ติงกลับมาว่าสอนผิด ต้องเป็นเหยิน เหล่าซือ อะไรอย่างนี้ แรกๆ ความที่ไม่มีอาจารย์คนอื่นเลยไม่มีอาจารย์จีนเป็นที่ปรึกษา ก็เสียความมั่นใจไปเยอะเหมือนกัน จนต้องเขียนจดหมายกลับไปถามครูที่อเมริกา ครูก็ดีมาก อธิบายมาให้ และก็เรียนรู้มาว่า มันมีจีนเหนือจีนใต้ ออกเสียงไม่เหมือนกัน และก็มีจีนไต้หวัน จีนทางใต้ คนเรียนในเมืองไทยส่วนใหญ่เรียนจีนทางใต้ ทางไต้หวัน เพราะไต้หวันช่วยเหลือมาตลอดตอนแรกๆ ศัพท์ก็ไม่เหมือนกัน คล้ายๆ ภาษาอังกฤษกับอเมริกัน ที่มีศัพท์ไม่เหมือนกัน การออกเสียงก็จะมีจีนเหนือจีนใต้ ที่สุดเราก็ค่อยๆ เชื่อมั่นตัวเองมากขึ้น ๆ อีกอย่างที่สำคัญก็คือวรรณยุกต์ จีนที่เรียนในไต้หวันหรือเมืองไทยเขาไม่มี ชิงเซิง เขาจะเป็นเสวียเซิง อะไรอย่างนี้ เราบอกว่า xue sheng , di fang เขาก็บอกว่าไม่ใช่ ต้องเป็นตี้ฟาง เสวียเซิง หรืออี้เตี่ยนเอ๋อ เราบอกว่า yi dianr เขาบอกว่าไม่ใช่ สมัยก่อน CCTV ก็ไม่มี ให้ไปฟัง CCTV ว่าจะออกเสียงยังไงก็ไม่ได้ อะไรอย่างนี้ ตอนแรกๆ ที่เปิดเป็นวิชาเลือก มีคนเลือกเรียน 10 กว่าคน เป็นวิชาเลือก 4 หน่วยกิจ เขาเลือกเรียนเพราะเขาสนใจ บางคนบอกว่าเพราะพ่อแม่อยากให้เรียน พอรู้ว่าเปิดภาษาจีนก็อยากให้เรียน เด็กมาลงวิชา เนื่องจากบางคนตารางเขาแน่น ที่จริงตารางสอนต้องเริ่ม 8 โมง แต่เด็กเขาเรียนไม่ได้ เราก็บอกว่ามาเรียน 7 โมงแล้วกัน เราก็สอน 7 โมง ก็เรียน 7 โมงเช้าถึง 8 โมง แล้วก็จับมาฝึกเสียงตอนบ่ายเมื่อเขาว่าง ทำทุกอย่างเหมือนตัวเองเคยเรียนมา เพราะฉะนั้นนิสิตรุ่นแรก ๆ จะสนิทกันมากๆ เลย มาท่่องกันทุกวัน เดี๋ยวก็ยังคบกันเป็นเพื่อนเลย กับนิสิตรุ่นแรกๆ นัดกินข้าวกัน อะไรกัน เหมือนเป็นเพื่อนกันเพราะอายุก็ห่างกันไม่มาก พอตอนหลังก็ค่อยๆ พัฒนา เปิดวิชาเลือก 4 ปีเต็มๆ ทำคนเดียวไม่มีใครช่วย ทำอยู่คนเดียว 4 ปีเต็มๆ ตอนหลังมีอาจารย์วัลยา มาช่วย อาจารย์จบจากไต้หวัน พอมีอาจารย์มาช่วยเราก็ค่อยๆ เปิดเป็นวิชาโทภาษาจีนในคณะอักษรศาสตร์ สมัยนั้นคนเรียนส่วนใหญ่ไม่เกิน 25 คนต่อปี เพราะภาษาจีนยังไม่เป็นที่นิยมมาก พอคณะอักษรศาสตร์คิดจะเปิดวิชาภาษาจีนเขาก็ชมว่ามีวิสัยทัศน์ไกลนะ ปี 1965 1966 ก็เริ่มคิดจะเปิดภาษาจีนขณะที่ จีนยังไม่เป็นที่รู้จักของใครๆ และก็ไม่มีใครเห่อเรียนภาษาจีน เราก็บอกทำเพื่อวิชาการ เปิดเป็นวิชาโทจนกระทั่งปี 2524 ถึงได้เปิดเป็นวิชาเอกภาษาจีนปีแรก ตอนนั้นมีอาจารย์เพิ่มขึ้น กฎของเมืองไทยคือ เปิดวิชาเอกต้องมีอาจารย์ประจำ 3 คน ถึงจะเปิดเป็ยวิชาเอกได้ ตอนนั้นอาจารย์วัลยามาช่วยสอน ตอนหลังบอกว่ามีรุ่นน้องจบมา ก็ค่อยๆ แนะนำกันมาทำ ก็มีคนสอนเพิ่มขึ้น ก็ค่อยๆ สร้างขึ้นมาจาก 1 คน 2 คน 3 คน แต่ว่าตอนนี้เป็นอีกรูปหนึ่งแล้ว ยังคิดว่า ถ้าจบกลับมาใหม่ๆ สมัยนั้นเหมือนสมัยนี้ คงจะสนุกกว่านี้เยอะ เพราะว่าทุนก็เยอะ ความช่วยเหลือก็เยอะมาก สมัยนั้นเรียกว่าหัวเดียวกระเทียมลีบ 1 2
|