วันที่ 11 กันยายนปีนี้เป็นวันครบรอบ 8 ปีของเหตุก่อการร้าย 11 กันยาที่เกิดขึ้นในสหรัฐฯ ในช่วง 8 ปีที่ผ่านมา รัฐบาลของนายจอร์จ ดับเบิลยู บุชได้ก่อสงครามอัฟกานิสถานและสงครามอิรักขึ้นโดยอ้างการต่อต้านเหตุก่อการร้าย แต่การต่อต้านเหตุก่อการร้ายของสหรัฐฯไม่ได้ประสบผลที่น่าพอใจ หากยังส่งผลกระทบต่อภาพพจน์ของสหรัฐฯในโลก หลังจากนายบารัค โอบามาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ก็ปรับนโยบายต่อต้านการก่อการร้ายของนายบุชทันที และกำหนดแผนยุทธศาสตร์ต่อต้านการก่อการร้ายฉบับใหม่ แต่นักวิเคราะห์เห็นว่า หนทางการต่อต้านการก่อการร้ายของรัฐบาลโอบามาก็คงจะเต็มไปด้วยอุปสรรคเหมือนกัน
เมื่อเดือนสิงหาคมปีนี้ นายจอห์น เบรนนัน ผู้ช่วยประธานาธิบดีสหรัฐฯฝ่ายความมั่นคงและต่อต้านการก่อการร้ายประกาศแผนยุทธศาสตร์ใหม่ของรัฐบาลโอบามา แผนยุทธศาสตร์ใหม่ฉบับนี้เน้นว่า จะทิ้งแนวคิดก่อสงครามต่อต้านการก่อการร้ายในขอบเขตทั่วโลก และจะปราบปรามองค์การอัลเคดาเป็นหลัก
เมื่อเดือนมีนาคมปีนี้ รัฐบาลโอบามากำหนดแผนยุทธศาสตร์ฉบับใหม่เกี่ยวกับอัฟกานิสถาน-ปากีสถาน โดยมีเป้าหมายหลักคือ ทำลายองค์การอัลเคดาและองค์การหัวรุนแรงตาลีบัน เมื่อเดือนกรกฎาคมนี้ สหรัฐฯเริ่มถอนทหารออกจากอิรัก คาดว่า ทหารที่ถอนออกมาเหล่านี้ ส่วนใหญ่จะเข้าไปประจำการที่อัฟกานิสถาน นายโอบามาพิจารณาในขั้นต้นว่า จะเพิ่มจำนวนทหารสหรัฐฯประจำอัฟกานิสถานให้เป็น 60000 คนภายในปีนี้ แต่ปัจจุบัน ทางการทหารสหรัฐฯมีรายงานชี้ให้เห็นว่า สหรัฐฯอาจจะเพิ่มทหารประจำอัฟกานิสถานให้มากกว่านี้อีก
ขณะเดียวกัน นายโอบามายังพยายามขอการสนับสนุนจากประชาคมโลกในการต่อต้านการก่อการร้าย เพื่อปรับภาพพจน์ของสหรัฐฯให้ดีขึ้น แต่นักวิเคราะห์เห็นว่า แม้ว่ารัฐบาลโอบามาได้ใช้ความพยายามมากมายหลายด้าน แต่ปัจจุบันนโยบายต่อต้านการก่อการร้ายฉบับใหม่ยังไม่ประสบผลที่น่าพอใจ
ก่อนอื่น แม้ว่าอัฟกานิสถานได้จัดการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อเดือนสิงหาคมนี้แล้ว แต่สถานการณ์การเมืองของอัฟกานิสถานในปัจจุบันยังไม่มั่นคง ซึ่งเป็นการท้าทายโยบายอัฟกานิสถานของสหรัฐฯอย่างหนัก
ประการที่สอง นโยบายต่อต้านการก่อการร้ายของนายโอบามากำลังเผชิญกับการท้าทายภายในประเทศ เนื่องจากสถานการณ์ความมั่นคงของอัฟกานิสถานในปัจจุบันยังวุ่นวายอยู่ การเพิ่มทหารไม่ได้ประสบผลที่น่าพอใจ ดังนั้น มีผู้คนจำนวนมากสงสัยว่า อัฟกานิสถานจะกลายเป็นอิรักที่สอง ซึ่งทำให้สหรัฐฯตกอยู่ในภาวะลำบากจากสงครามอีก ในอนาคต นายโอบามาสามารถโนมน้าวให้ประชาชนและบุคคลในวงการต่างๆสนับสนุนนโยบายต่อต้านการก่อการร้ายของเขาได้หรือไม่ ก็ยังเป็นสิ่งที่ไม่แน่นอน
ประการที่สาม สถานภาพในโลกของรัฐบาลโอบามาในปัญหาต่อต้านการก่อการร้ายไม่ได้รับการปรับปรุงดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ทั้งๆที่รัฐบาลโอบามามุ่งจะปรับความสัมพันธ์กับประเทศมุสลิม แต่นักวิเคราะห์เห็นว่า นี่ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะแก้ไขได้ในระยะสั้นๆ อนึ่ง รัฐบาลโอบามาก็ไม่ได้รับการสนับสนุนจากพันธมิตรมากนัก เยอรมนี ฝรั่งเศส และประเทศสมาชิกอื่นๆในองค์การนาโต้ไม่มีปฏิกิริยารวดเร็วนักต่อการเพิ่มทหารประจำอัฟกานิสถาน ซึ่งก็เป็นอุปสรรคไม่น้อยต่อหนทางต่อต้านการก่อการร้ายของสหรัฐฯ
นักวิเคราะห์เห็นว่า เนื่องในโอกาสครบรอบ 8 ปีของเหตุการณ์ 11 กันยา แม้ว่าแผนยุทธศาสตร์ฉบับใหม่ของรัฐบาลโอบามาได้ทิ้งแนวคิดก่อสงครามต่อต้านการก่อการร้ายทั่วโลก แต่ธาตุแท้ของแผนการดังกล่าวไม่ได้เปลี่ยน ซึ่งมีเป้าหมายประการแรกคือ รักษาความมั่นคงของสหรัฐฯ ประการที่สองคือ เผยแพร่ประชาธิปไตยและค่านิยมของสหรัฐฯในทั่วโลกโดยอาศัยสงครามต่อต้านการก่อการร้าย
Zhou/Sun
|