China Radio International
ข่าวภายใน
    ประเทศ
ข่าวต่างประเทศ
 ข่าวการเมืองและ
 การต่างประเทศ
 ข่าวเศรษฐกิจ
 ข่าววัฒนธรรม

 ข่าววิทยาศาสตร์
  เทคโนโลยี่

 ข่าวกีฬา
 ข่าวอื่น
ѹ 13 Ȩԡ¹ ..2009
ҹ>>

չѨغѹ

ɰԨ

Ǩչ

Ѳ

ҵǹ

ͧ
(GMT+08:00) 2009-09-16 14:58:21    
รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยภาษาต่างประเทศปักกิ่งแสดงความเห็นเกี่ยวกับการส่งเสริมการวิจัยทางวัฒนธรรมของประเทศจีนและอาเซียน (P)
รายการสัมผัสชีวิตจีน

cri

ในรายการครั้งที่แล้ว นางจินลี่ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยภาษาต่างประเทศปักกิ่งได้แสดงความเห็นเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์การเรียนการสอนการแปลและล่าม ในรายการวันนี้ เราจะสนทนากับนางจินลี่ในหัวข้อความร่วมมือด้านการศึกษาระหว่างจีนกับประเทศอาเซียนกันต่อนะครับ ซึ่งนางจินลี่ได้กล่าวถึงความสำคัญของการส่งเสริมการวิจัยทางวัฒนธรรมจีนและประเทศอาเซียนเป็นพิเศษ

ท่านผู้ฟังครับ นับตั้งแต่ภูมิศาสตร์ศึกษาเริ่มเป็นที่สนใจเมื่อทศวรรษ 1950 เป็นต้นมา จีนศึกษา เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา และเอเชียศึกษาได้ประสบผลงานที่ยอดเยี่ยมมากมาย ในช่วงหลายสิบปีมานี้ การวิจัยทางวัฒนธรรมก็กลายเป็นหัวข้อการศึกษาที่นักวิชาการทั้งหลายนิยมศึกษากัน ในกระแสวิชาการ 2 กระแสดังกล่าว จีนและประเทศอาเซียนเป็นเป้าหมายการศึกษามาโดยตลอด นักวิชาการเชื้อสายเอเชียทั้งหลายกลายเป็นผู้ร่วมการวิจัยภูมิศาสตร์ และวัฒนธรรมภูมิภาคที่สำคัญ แต่น่าเสียดายที่เรายังไม่มีสิทธิ์พูดและไม่มีบทบาทชี้นำในวงการวิจัยที่เกี่ยวข้องเท่าใดนัก ไม่ได้สร้างทฤษฎีหลักในการวิจัยที่เกี่ยวข้อง ไม่ได้สร้างเวทีทางวิชาการที่เป็นตัวแทนของประเทศตะวันออก การวิจัยวัฒนธรรมของตนเองแต่ผ่านแง่มุมหรือทฤษฎีตะวันตก แม้จะประสบผลงานบ้าง แต่ก็เป็นสิ่งที่น่าเสียดายมากเพราะเราไม่มีแง่มุมและทฤษฎีของเราเอง

สำหรับประเทศจีนและประเทศอาเซียนแล้ว แก่นแท้ของวัฒนธรรมตนเองคืออะไร จุดร่วมและจุดต่างทางวัฒนธรรมในภูมิภาคนี้มีความเป็นมาอย่างไร และมีอิทธิพลต่อกันอย่างไร เราจะเปลี่ยนทฤษฎีการวิจัยจาก "ชาวเอเชียศึกษาเอเชีย" มาเป็น"เอเชียเป็นของชาวเอเชีย" อย่างไร เราจะสร้างมุมมองของชาวตะวันออกอย่างไร เราจะสร้างความสมานฉันท์ท่ามกลางการพัฒนาและการแข่งขันอย่างไร คำถามเหล่านี้คงจะช่วยให้เราขยายแนวคิดการวิจัยวัฒนธรรมภูมิภาคเอเชียได้

นางจินลี่ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยภาษาต่างประเทศปักกิ่งเห็นว่า "ภูมิภาคอาเซียนเป็นภูิมิภาคที่มีวัฒนธรรมหลากหลาย วัฒนธรรมพุทธศาสนา อิสลาม และลัทธิเต๋าอยู่ร่วมกันอย่างกลมกลืน ขณะเดียวกัน ความเชื่อดั้งเดิมก็ยังคงมีอิทธิพลในสังคมประเทศอาเซียนและจีนเป็นประเทศที่มีศาสนา ความเชื่อและวัฒนธรรมหลากหลายมาตั้งแต่โบราณกาล จีนกับอาเซียนควรเผยแพร่และไม่เผยแพร่ขนบประเพณีบางอย่างของตนอย่างไรบ้างจึงเป็นปัญหาที่เราสองฝ่ายควรให้ความสนใจร่วมกัน"

1 2