จีนเป็นประเทศที่มีหลากหลายเชื้อชาติโดยรวมแล้วมี ถึง 56 ชนชาติอาศัยอยู่ร่วมกันอย่างสันติและใกล้ชิดสนิทสนุม ทำให้ศิลปะวัฒนธรรมของชนชาติต่างๆพัฒนาอย่างคึกคัก เปี่ยมไปด้วยสีสันและความงดงาม นับตั้งแต่จีนใหม่สถาปนาขึ้นเมื่อปี 1949 เป็นต้นมา รัฐบาลได้ให้ความสนใจอย่างมากต่อการอนุรักษ์วัฒนธรรมของชนชาติต่างๆ พยายามอบรมบุคลากรด้านศิลปะของชนชาติต่างๆให้มากยิ่งขึ้น จนทำให้ได้รับการสืบทอดและแพร่หลายต่อไป
ที่ท่านกำลังฟังอยู่นี้คือ เพลง "ซันหัวรึ"ที่ขับร้องโดยหม่าฮั่นตง นักร้องจากชนเผ่าหุย เขาอายุ 47 ปี อาศัยในเขตปกครองตนเองหุย หนิงเสี้ย เขาร้องเพลงซันหัวรึมานานกว่า 30 ปีแล้วและมีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วพื้นนั้น
ผมเริ่มร้องเพลงซันหัวรึเมื่อปี 1972 โดยฝึกจากศิลปินอาวุโสในสมัยนั้น ซึ่งพวกเขาชอบร้องกันตามทุ่งหญ้าขณะเลี้ยงแพะ ผมรู้สึกชื่นชอบและเริ่มร้องตามพวกเขา ยิ่งร้องก็ยิ่งสนุก จึงตั้งใจฝึกอย่างจริงจังและเริ่มศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม แล้วจึงค่อยขึ้นเวทีแสดงและทำเรื่อยมาจนกระทั่งถึงปัจจุบัน
ซันหัวรึเป็นท่วงทำนองการร้องเพลงพื้นบ้านที่แพร่หลายในเขตภาคตะวันตกเฉียงเหนือของจีน นายจิ้นจงเหว่ย หัวหน้าของศูนย์อนุรักษ์มรดกวัฒนธรรมที่ไม่ใช่วัตถุของเขตปกครองตนเองหุยหนิงเสี้ยกล่าวว่า เพลงซันหัวรึเป็นเพลงของชนเผ่าหุยที่มีประวัติศาสตร์มานานนับพันปี เป็นวิถีที่ชาวหุยในทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของจีนสะท้อนถึงความคิดและอารมณ์ ซึ่งเป็นเพลงที่เน้นเสียงสูง แสดงความหมายโดยตรง และไม่มีเนื้อเพลงเฉพาะ นานมาแล้ว ศิลปินพื้นบ้านทุกคนต่างก็จะร้องเพลงซันหัวรึขณะทำงาน แต่ว่าไม่มีการจดบันทึกและรวบรวมไว้อย่างเป็นระบบระเบียบ จนเกือบจะสูญหายไปขณะจีนใหม่สถาปนาขึ้น
ด้วยการสนับสนุนของรัฐบาล หม่าฮั่นตงตัดสินใจว่า จะพยายามฝึกฝนและเผยแพร่ศิลปะนี้ต่อไป หลายปีมานี้ หม่าฮั่นตงได้จัดการแสดงตามที่ต่างๆทั่วประเทศจีนและยังเปิดการแสดงในต่างประเทศด้วย เขากล่าวว่า
เมื่อผมได้ฟังท่วงทำนองหรือเนื้อเพลงดีๆ ผมจะจดบันทึกไว้ทันที เพราะจริงๆแล้ว ศิลปะพื้นเมืองนั้นมีสิ่งต่างๆ ให้เรียนได้ไม่รู้จบ เราต้องจดบันทึกและสืบทอดให้คงอยู่ต่อไป
ทางการท้องถิ่นได้ให้ความสนใจอนุรักษ์และสืบทอดเพลงซันหัวรึด้วย เมื่อต้นทศวรรษที่ 1980 เขตปกครองตนเองหนิงเสี้ยได้จัดเทศกาลเพลงซันหัวรึ และเชิญนักร้องเก่งๆ มาแข่งขันกันขับร้องและมอบรางวัลให้ การกระทำเช่นนี้ได้กระตุ้นความสนใจของหนุมๆ สาวๆ ให้มาเข้าร่วม ทำให้ปัจจุบัน การร้องเพลงซันหัวรึเป็นที่นิยมของผู้คนอย่างกว้างขวางมากขึ้น
"มูคามู"เป็นศิลปะการร่ายรำและขับร้องซึ่งแพร่หลายอย่างกว้างขวางในหมู่ชนชาติอุยกูร์ในทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของจีน นับตั้งแต่เมื่อทศวรรษที่ 1950 นายโจวเอินไหลนายกรัฐมนตรีคนแรกของจีนได้ให้ความสนใจอย่างมากด้านการอนุรักษ์ศิลปะและเชิดชูศิลปินด้านนี้
นายอิลีฮามู หัวหน้าฝ่ายศิลปกรรมอำเภอซาเจอ เขตปกครองตนเองซินเกียงกล่าวว่า ก็เหมือนกับศิลปะที่มีมาช้านานหลายอย่าง มูคามูก็เป็นศิลปะที่ครูบาอาจารย์ถ่ายทอดให้ลูกศิษย์ ใช้วิธีการบอกเล่าแบบ ปากต่อปาก เนื่องจากมูคามูมีเนื้อหายาวและท่วงทำนองสลับซับซ้อน จนทำให้ศิลปะนี้เกือบจะสูญหายไป เขากล่าวว่า
ก่อนจีนใหม่สถาปนาขึ้น ผู้ที่สามารถร่ายและขับร้องมูคามูได้นั้นมีน้อยมาก ผู้ที่สามารถร้องได้ส่วนใหญ่ก็ร้องได้เพียงบางส่วนเท่านั้น หลังจีนใหม่สถาปนาขึ้น นายกรัฐมนตรีโจวเอินไหลได้ส่งผู้เชี่ยวชาญมาบันทึกเทปเพลงมูคามูไว้ค่อยๆถอดเทปจดบันทึกไว้ เวลานั้น เนื่องจากผู้ที่ยังร้องมูคามูได้ส่วนใหญ่ล้วนสูงอายุทั้งสิ้น รัฐบาลจึงพยายามให้ความช่วยเหลือ เพื่อสืบทอดศิลปะชนิดนี้ ปัจจุบัน มูคามูได้รับการสืบทอดและแพร่หลายต่อไป ศิลปินหลายคนได้จัดแสดงศิลปะชนิดนี้ในที่ต่างๆ ทั่วประเทศจีนและยังจัดการแสดงที่ญี่ปุ่น อังกฤษ ปากีสถาน เป็นต้น ซึ่งเป็นที่ชื่นชอบของผู้ชม
เกอร์ซาหวังเป็นวีระบุรุษที่องอาจกล้าหาญในจิตใจชาวทิเบต กวีแห่งประวัติศาตร์"เกอร์ซาหวัง"ซึ่งได้บันทึกเรื่องราวของเขาและแพร่หลายสืบทอดกันมานับพันปีแล้ว แต่ เนื่องจากว่าการสืบทอดใช้วิธีบอกเล่า จึงมีรูปแบบหลากหลาย หลังจากสถาปนาจีนใหม่ได้เป็นต้นมา จึงได้ดำเนินการเก็บสะสมรวบรวมและการวิจัย ปัจจุบัน จีนมีศูนย์ดำเนินการวิจัยเฉพาะด้านหลายแห่ง ได้จัดการประชุมทางวิชาการนานาชาติบ่อยครั้งและพิมพ์หนังสือที่เกี่ยวกับเกอร์ซารหวัง ทั้งภาษาทิเบต มองโกเลียและภาษาฮั่นหลายร้อยฉบับ และยังอัดเทปเกี่ยวกับกวีเกอร์ซารหวังไว้กว่า 5,000 ชั่วโมง
นายชีว่างจวิ้นเหม่ย อดีตผู้อำนวยการสภาวิทยาศาสตร์สังคมของเขตปกครองตนเองทิเบตกล่าวว่า ปฏิบัติการด้านการอนุรักษ์วัฒนธรรมของจีนดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า รัฐบาลสนใจอนุรักษ์และพัฒนาวัฒนธรรมของชนชาติในจีนอย่างมาก
ตามโครงการของจีนในอนาคต ยังจะเสริมงานการอนุรักษ์วัฒนธรรมให้มากยิ่งขึ้นต่อไป และส่งเสริมให้ศิลปะวัฒนธรรมของชนต่างๆในจีนพัฒนาอย่างยิ่งยืนต่อไป
|