China Radio International
ข่าวภายใน
    ประเทศ
ข่าวต่างประเทศ
 ข่าวการเมืองและ
 การต่างประเทศ
 ข่าวเศรษฐกิจ
 ข่าววัฒนธรรม

 ข่าววิทยาศาสตร์
  เทคโนโลยี่

 ข่าวกีฬา
 ข่าวอื่น
วันที่ 13 พฤศจิกายน ปี ค.ศ.2009
อ่านต่อ>>

จีนปัจจุบัน

เศรษฐกิจ

พาเที่ยวจีน

วัฒนธรรม

ชนชาติส่วนน้อย

การเมือง
(GMT+08:00) 2009-09-30 18:09:55    
ศาสตราจารย์ประพิณ มโนมัยวิบูลย์ อาจารย์สอนภาษาจีนคนแรกในมหาวิทยาลัยของไทย

cri

ท่านผู้ฟังคะ เมื่อกล่าวถึงการเรียนการสอนภาษาจีน ท่านผุ้ฟังหลายท่านก็อาจกล่าวเป็นเเสียงเดียวกันว่า นั่นละ เป็นวัตถุประสงค์แท้จริงของการรับฟังรายการของซีอาร์ไอเพราะมีรายการสอนภาษาจีนทั้งทางวิืยุและทางอินเตอร์เน็ต และขณะนี้ การเรียนภาษาจีนกำลังกลายเป็นเป็นกระแสนิยม ในเมืองไทยมีมหาวิทยาลัยและโรงเรียนต่างๆ ทั่วประเทศเปิดสอนภาษาจีน รัฐบาลจีนก็ได้ส่งครูอาสาสมัครไปสอนในประเทศไทยปีหนึ่งกว่าพันคนทีเดียวค่ะ แต่ท่านผู้ฟังเคยทราบไหมคะว่า การเปิดวิชาภาษาจีนในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นครั้งแรกที่เปิดสอนภาษาจีนในมหาวิทยาลัยของไทยนั้น ต้องถูกตำรวจสันติบาลเพ่งเล็งมากแถมยังเข้าไปนั่งฟังในห้องเรียนว่าสอนอะไรบ้าง เพราะตอนนั้นจีน-ไทยยังไม่มีความสัมพันธ์ทางการทูต การเรียนการสอนภาษาจีนในประเทศไทยกว่าจะเจริญเฟื่องฟูมากๆ ในทุกวันนี้ ศาสตราจารย์ดร.ประพิณ มโนมัยวิบูลย์ ซึ่งขณะนี้ดำรงตำแหน่งผู้อำำนวยการศูนย์เอเชียศึกษาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้อำนวยการศูนย์ภาษาและวัฒนธรรมจีนศิรินธร นายกสมาคมครูภาษาจีนของประเทศไทย และตำแหน่งสำคัญๆ เกี่ยวกับการเรียนการสอนภาษาจีนของไทยอีกหลายตำแหน่ง เป็นผู้ทุ่มเทกำลังส่งเสริมผลักดันมาตลอด และเป็นอาจารย์สอนภาษาจีนคนแรกในมหาวิทยาลัยของไทยค่ะ ในรายการวันนี้ เรามาฟังอาจารย์ประพิณเล่าเรื่องเกี่ยวกับพัฒนาการการเรียนการสอนภาษาจีนของประเทศไทยค่ะ

สมัยนั้นต้องไปศึกษาภาษาจีนที่สหรัฐอเมริกา

เรื่องภาษาจีนที่จุฬาเริ่มเปิด ตอนนั้นประมาณปี 1965 จุฬาฯ เปิดสอนภาษาญี่ปุ่น โดยรัฐบาลญี่ปุ่นส่งอาจารย์มาช่วยทั้งหมด พอจุฬาฯ เปิดภาษาญี่ปุ่นแล้วก็มีคนท้วงติงเยอะว่า ทำไมเปิดภาษาญี่ปุ่น แทนที่จะเปิดภาษาจีน เพราะภาษาจีนเป็นภาษาที่ญี่ปุ่นรับอิทธิพลไป ควรจะเปิดภาษาจีนมากกว่าภาษาญี่ปุ่น แต่ภาษาจีนนี้เปิดไม่ได้เพราะไม่มีมูลนิธิไหนช่วยเปิด และเราไม่มีอาจารย์ที่รู้ภาษาจีนในจุฬาฯ เผอิญตอนนั้นเรียนภาษาไทยปริญญาโทอยู่ คือที่จริงเอกภาษาไทยมีทั้งปริญญาโทปริญญาเอก ชอบภาษาไทยมากกว่า เรียนปริญญาโทอยู่และเขียนวิทยานิพนธ์เรื่อง สามก๊ก เผอิญเป็นคนที่พูดถาษาจีนได้นิดหน่อย พูดภาษาแต้จิ๋วได้ิ แต่อ่านเขียนไม่ได้ พอคณะอักษรถูกคนท้วงเยอะๆ ก็คิดว่าควรจะเปิดถาษาจีน และคิดว่าเมื่อเราไม่มีคนเราก็ควรจะส่งอาจารย์รุ่นเด็กๆ ของเราไปเรียนภาษาจีนที่ไหนสักแห่ง และกลับมาเปิดภาษาจีนให้ ดูจากภาษาญี่ปุ่นแล้วเขาส่งคนมาสอนทุกอย่าง มูลนิธิญี่ปุ่นเขาสอนอะำไรเราไม่รู้เรื่อง คณะอักษรเลยคิดว่าควรจะมีคนไทยที่รู้ภาษาจีนมาเปิดภาษาจีนและสอน เผอิญตอนนั้นทางอเมริกามีทุนให้ คือศาสตราจารย์หลี่ฟางกุ้ยมาเมืองไทยและบอกว่ามีทุนของมหาวิทยาลัยวอชิงตัน ซึ่งจะให้ไปเรียนภาษาจีนได้ และท่านก็อยากได้คนไทยไปเรียน เพราะท่านคิดว่าภาษาไทยกับภาษาจีนมีความสัมพันธ์กัน ศาสตราจารย์หลี่ฟางกุ้ยเป็นนักภาษาศาสาตร์ที่มีชื่อเสียงมาก ศึกษาเรื่องภาษาไทยและภาษาจีนมาตลอด เพราะฉะนั้นคณบดี ณ ขณะนั้น ก็บอกว่า โอ้ ประพิณ พูดภาษาแต้จิ๋วได้ สนใจเรื่องจีนใช่ไหม ทำเรื่อง สามก๊ก ก็ไปเรียนภาษาจีนแล้วกันและกลับมาเปิดภาษาจีนให้คณะอักษรศาสตร์ ทางจุฬาก็ตกลงจะรับทุนทางมหาวิทยาลัยวอชิงตัน พอจบปริญญาโทปี 1967 สอบวิทยานิพนธ์เสร็จก็เดินทางไปอเมริกาเลย ไปที่มหาวิทยาลัยวอชิงตันที่ซีอาโท เพราะตอนนั้นที่นั่นภาษาจีนเป็นท็อป 10 เป็นมหาวิทยาลัยที่เก่งมากทางด้านภาษาจีน ก็ไปเรียนที่นั่น ไปถึงแล้วถึงทราบว่าภาษาแต้จิ๋วกับภาษาจีนกลางไม่เหมือนกันเลย เพราะเมื่อก่อนไม่มีความรู้เรื่องภาษาจีนเลย ไปถึงแล้วก็พูดได้นิดหน่อยเฉพาะแต้จิ๋ว ต้องเรียนภาษาจีนกลางตั้งแต่ปีหนึ่งเลย คือความที่ไม่มีความรู้ จุฬาส่งไปเรียนปริญญาโทก็จริง แต่ต้องเรียนวิชาที่เป็นวิชาปริญญาตรีทั้งหมดที่เป็นภาษาจีน ต้องเก็บหน่วยกิจภาษาจีนทั้งหมดเลย เก็บหมดภายใน 2 ปี เรียนซัมเมอร์ เรียนหนักมากตอนแรกๆ อาจารย์ที่สอนที่นั่นเป็นอาจารย์ที่เคยเป็นอาจารย์สอนที่ปักกิ่งก่อนและออกจากประเทศตอนที่เปลี่ยนแปลงการปกครอง ปี 1949 มีศาสตราจารย์ที่เป็นคนจีนหลายคน เช่น ศาสตรจารย์หลี่ฟางกุ้ย ศาสตรจารย์เหยียน และมีอาจารย์หลายๆ ท่าน และมีอาจารย์ฝรั่งด้วย แต่ก็เป็นอาจารย์ฝรั่งที่พูดจีนเก่งมากไม่เห็นหน้าก็ไม่รู้ว่าเป็นฝรั่ง คนหนึ่งเคยเป็นบาทหลวงอยู่เมือวจีนเกือบ 20 ปี ท่านมีภรรยาเป็นคนจีน เพราะฉะนั้นพูดภาษาจีนกลางกันเก่นมากเลย วิธีสอนคือช่วงเช้าอาจารย์จะเล็คเชอร์ บ่ายก็จะมีพวกติวเตอร์ที่เป็นคนจีนที่ไปเรียนปริญยเอก มหาวิทยาลัยจับไปท่องทุกวัน ท่องบทเรียน ท่องบทเรียน พอเรียนถึงปริญญาโทก็กลับจุฬาว่าไม่อยากเรียนแล้วคิดถึงเมืองไทย อยากกลับบ้าน แต่พอมาถึงคณบดีตอนนั้นเผอิญเปลี่ยนคณบดี ท่านก็บอกว่าไม่ได้ ประพิณต้องกลับไปเรียนใหม่ให้ถึงปริญญาเอก ท่านบอกว่ากว่าจะมาเปิดภาษาจีนที่จุฬาควรจะต้องจบปิญญาเอก จะได้เก่ง และก็ปริญญาโทอีกหน่อยก็ไม่มีความหมายแล้ว ให้กลับไปเรียนใหม่ ทั้งๆ ที่ไม่อยากไป ก็เลยต้องกลับไป ท่านก็หาทุนให้ใหม่ ก็ไปเรียนต่อที่ที่เดิม ก็เรียนต่อถึงปริญญาเอก และจบกลับมา ตอนนั้นเรียนถึงปี 1973 และเขียนวิทยานิพนธ์ หลายปี พอ1973 ก็กลับมาเก็บข้อมูลที่เมืองไทย ตอนที่กลับมานั้น ท่านก็ให้เปิดภาษาจีนเลย เปิดภาษาจีนเป็นวิชาเลือกที่คณะอักษรศาสตร์ สอนอยู่ประมาณปีหนึ่งก็กลับไปเขียนวิทยานิพนธ์เสร็จแล้วก็สอบ แล้วก็จบเมื่อปี 1975

เปิดสอนวิชาภาษาจีนในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

พอกลับมาสอนเมืองไทย ตอนแรกๆ คณะอัษรศาสตร์เปิดเป็นวิชาเลือก 4 วิชา จีนหนึ่งสองสามสี่ และสอนอยู่คนเดียว เพราะไม่มีใครเลย ไม่มีใครช่วยเลย ไม่มีใครพร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือ และที่สำคัญพอกลับไปเปิดสอนที่จุฬา ก็เป็นที่เพ่งเล็งจากสันติบาลด้วย สันติบาลไทยก็ตามมาสอบถามประวัติ ว่าเป็นใคร มาจากไหน เราบอกว่าจุฬาให้ไปเรียนและให้มาสอน เขาก็ถามว่าสอนอะไร ก็คุยกับเขา แต่เขาก็มาบ่อยมาก จนในที่สุดก็รำคาญ จึงบอกว่าคุณก็มานั่งฟังฉันสอน อยากรู้ว่าสอนอะไรเข้าไปนั่งฟังเลย สันติบาลก็เข้าไปนั่งฟัง ฟังอยู่สัก 2-3 วันเขาก็เลิก เพราะตำราก็ำไม่มีอะไร เพราะตอนนั้นกลับมาก็ไม่มีตำรา ก็เอาตำราที่เคยเรียนที่อเมริกามาสอน ใช้ตำราที่เคยเรียนปีหนึ่งมาแปลเป็นภาษาไทยแล้วก็สอน ถูกสอบประวติ ถูกเพ่งเล็งมาก เพราะตอนนั้นเมืองไทยยังไม่มีความสัมพันธ์กับจีน เพิ่งจะเปิดปี 1975 กับจีนก็ยังกลัวคอมมิวนิสต์อยู่ เวลาสอนก็ลำบากเหมือนกันเพราะว่าตอนนั้นบ้านเราไม่ทราบว่าภาษาจีนศัพท์จะไม่เหมือนกันขนาดนั้น อย่างพอกลับไปสอน สิ่งที่เราสอนก็คือสิ่งที่เราเรียนจากครูที่อเมริกา เช่นเราสอนศัพท์ หูท่ง แปลว่า ซอย หรือสอนศัพท์ว่า ซีหงซื่อ แปลว่า มะเขือเทศ หรือ โจ่วลู่ แปลว่าเดิน ก็ปรากฏว่า นิสิตที่เรียนกลับไปบ้านไปให้คุณพ่อคุณแม่ดู ปรากฏว่าถูกผู้ปกครองติงมาว่า สอนอะไรนี่ ศัพท์หูท่งไม่รู้จัก ต้องพูดว่า เซี่ยง อะไรอย่างนี้ ศัพท์พวกนี้เขาไม่รู้จัก ซีหงซื่อเขาก็ไม่รู้จัก โจ่วลู่ ทำไมต้องโจ่วลู่ โจ่ว เฉยๆ ไม่ได้หรือ และการออกเสียงก็เหมือนกัน อย่างเช่นคำว่า คน เราก็บอกว่า ren ครูก็บอกว่า lao shi ผู้ปกครองก็ติงกลับมาว่าสอนผิด ต้องเป็นเหยิน เหล่าซือ อะไรอย่างนี้ แรกๆ ความที่ไม่มีอาจารย์คนอื่นเลยไม่มีอาจารย์จีนเป็นที่ปรึกษา ก็เสียความมั่นใจไปเยอะเหมือนกัน จนต้องเขียนจดหมายกลับไปถามครูที่อเมริกา ครูก็ดีมาก อธิบายมาให้ และก็เรียนรู้มาว่า มันมีจีนเหนือจีนใต้ ออกเสียงไม่เหมือนกัน และก็มีจีนไต้หวัน จีนทางใต้ คนเรียนในเมืองไทยส่วนใหญ่เรียนจีนทางใต้ ทางไต้หวัน เพราะไต้หวันช่วยเหลือมาตลอดตอนแรกๆ ศัพท์ก็ไม่เหมือนกัน คล้ายๆ ภาษาอังกฤษกับอเมริกัน ที่มีศัพท์ไม่เหมือนกัน การออกเสียงก็จะมีจีนเหนือจีนใต้ ที่สุดเราก็ค่อยๆ เชื่อมั่นตัวเองมากขึ้น ๆ อีกอย่างที่สำคัญก็คือวรรณยุกต์ จีนที่เรียนในไต้หวันหรือเมืองไทยเขาไม่มี ชิงเซิง เขาจะเป็นเสวียเซิง อะไรอย่างนี้ เราบอกว่า xue sheng , di fang เขาก็บอกว่าไม่ใช่ ต้องเป็นตี้ฟาง เสวียเซิง หรืออี้เตี่ยนเอ๋อ เราบอกว่า yi dianr เขาบอกว่าไม่ใช่ สมัยก่อน CCTV ก็ไม่มี ให้ไปฟัง CCTV ว่าจะออกเสียงยังไงก็ไม่ได้ อะไรอย่างนี้ ตอนแรกๆ ที่เปิดเป็นวิชาเลือก มีคนเลือกเรียน 10 กว่าคน เป็นวิชาเลือก 4 หน่วยกิจ เขาเลือกเรียนเพราะเขาสนใจ บางคนบอกว่าเพราะพ่อแม่อยากให้เรียน พอรู้ว่าเปิดภาษาจีนก็อยากให้เรียน เด็กมาลงวิชา เนื่องจากบางคนตารางเขาแน่น ที่จริงตารางสอนต้องเริ่ม 8 โมง แต่เด็กเขาเรียนไม่ได้ เราก็บอกว่ามาเรียน 7 โมงแล้วกัน เราก็สอน 7 โมง ก็เรียน 7 โมงเช้าถึง 8 โมง แล้วก็จับมาฝึกเสียงตอนบ่ายเมื่อเขาว่าง ทำทุกอย่างเหมือนตัวเองเคยเรียนมา เพราะฉะนั้นนิสิตรุ่นแรก ๆ จะสนิทกันมากๆ เลย มาท่่องกันทุกวัน เดี๋ยวก็ยังคบกันเป็นเพื่อนเลย กับนิสิตรุ่นแรกๆ นัดกินข้าวกัน อะไรกัน เหมือนเป็นเพื่อนกันเพราะอายุก็ห่างกันไม่มาก พอตอนหลังก็ค่อยๆ พัฒนา เปิดวิชาเลือก 4 ปีเต็มๆ ทำคนเดียวไม่มีใครช่วย ทำอยู่คนเดียว 4 ปีเต็มๆ ตอนหลังมีอาจารย์วัลยา มาช่วย อาจารย์จบจากไต้หวัน พอมีอาจารย์มาช่วยเราก็ค่อยๆ เปิดเป็นวิชาโทภาษาจีนในคณะอักษรศาสตร์ สมัยนั้นคนเรียนส่วนใหญ่ไม่เกิน 25 คนต่อปี เพราะภาษาจีนยังไม่เป็นที่นิยมมาก พอคณะอักษรศาสตร์คิดจะเปิดวิชาภาษาจีนเขาก็ชมว่ามีวิสัยทัศน์ไกลนะ ปี 1965 1966 ก็เริ่มคิดจะเปิดภาษาจีนขณะที่ จีนยังไม่เป็นที่รู้จักของใครๆ และก็ไม่มีใครเห่อเรียนภาษาจีน เราก็บอกทำเพื่อวิชาการ เปิดเป็นวิชาโทจนกระทั่งปี 2524 ถึงได้เปิดเป็นวิชาเอกภาษาจีนปีแรก ตอนนั้นมีอาจารย์เพิ่มขึ้น กฎของเมืองไทยคือ เปิดวิชาเอกต้องมีอาจารย์ประจำ 3 คน ถึงจะเปิดเป็ยวิชาเอกได้ ตอนนั้นอาจารย์วัลยามาช่วยสอน ตอนหลังบอกว่ามีรุ่นน้องจบมา ก็ค่อยๆ แนะนำกันมาทำ ก็มีคนสอนเพิ่มขึ้น ก็ค่อยๆ สร้างขึ้นมาจาก 1 คน 2 คน 3 คน แต่ว่าตอนนี้เป็นอีกรูปหนึ่งแล้ว ยังคิดว่า ถ้าจบกลับมาใหม่ๆ สมัยนั้นเหมือนสมัยนี้ คงจะสนุกกว่านี้เยอะ เพราะว่าทุนก็เยอะ ความช่วยเหลือก็เยอะมาก สมัยนั้นเรียกว่าหัวเดียวทระเทียมลีบ

ครั้งแรกมาเมืองจีนหลังจากเรียนภาษาจีนมานาน

ตอนหลังสันติบาลก็ไม่มายุ่ง พอสถานทูตจีนมาเปิดตรงรัชดา ก็ไปขอความช่วยเหลือ เขาก็ช่วย ขอทุนให้นิสิตปีละ 2 ทุนอะไรแบบนี้ ก็ยังมาทุกปีปีละ 2 คน นิสิตอักษรศาสตร์ และก็ค่อยๆ ให้ความช่วยเหลือ สถานทูตก็ให้ความช่วยเหลือ ให้หนังสือ ให้อะไร ตอนหลังก็ขออาจารย์จีนมาช่วยสอนด้วย ที่โชคดีอย่างหนึ่งคือ ปี 1983 ท่านอธิการบดีจางหรงเสียงของเป่ยต้าไปที่เมืองไทย ก็ช่วยเป็นล่ามแปลให้ พอท่านกลับมาแล้วก็ได้ทุนแลกเปลี่ยนมาที่เป่นต้า 6 เดือน เป็นครั้งแรกที่มาประเทศจีนหลังจากเรียนภาษาจีนมานาน เรียนตั้งแต่ปี 1967 แต่มาประเทศจีน 1983 ครั้งแรก มาอยู่ที่เป่ยต้า 6 เดือน มาวิจัยภาษาจีนปัจจุบัน และก็เข้าห้องเรียนของอาจารย์ภาษาจีน ไปนั่งฟัง ดีมาก เป็นหนแรกมาเมืองจีน ตื่นเต้นมาก ตอนนั้นเมืองจีนไม่เหมือนสมัยนี้เลย ทุกคนจะใส่เสื้อ"เหมา" และก็ใส่เสื้อน้ำเงินธรรดา และต้องใช้เงิน"ไว่ฮุ่ยจ้วน"เงินสำหรับคนต่างชาติ เขาให้พักในหอพักของอาจารย์ ซึ่งก็ดีมาก ที่"เสาหยวน" เราก็ทานข้าวในมหาวิทยาลัย ถ้าไปทานข้าวข้างนอกต้องไปขอ"เหลียงเพี่ยว"จากเพื่อนคนจีน ไม่งั้นซื้อขนมซื้อสลาเปาไม่ได้เลย และซื้อของต้องใช้เงินนอก ต้องไปร้านมิตรภาพ และอีกอย่างเขาบอกให้เราแต่งตัวแบบจีนๆ เราก็พยายามแต่งตัวแบบจีนๆ เอาเสื้อผ้าเรียบๆ มา จนวันหนึ่ง ไปโรงแรมมิตรภาพ จะเข้าไปกินข้าว ยามไม่ให้เข้า ยามบอกเป็นคนจีนไม่ให้เข้า เพราะเราแต่งตัวเป็นจีนมากเลย เรียบ สีน้ำเงิน หน้าก็เป็นจีน แถมพูดจีนได้อีก ต้องควักบัตรของเป่ยต้าให้ดูว่าฉันเป็นผู้เชี่ยวชาญต่างชาตินะ ไม่ใช่คนจีน เขาก็มองใหญ่ ในที่สุดเขาก็ให้เข้าไป สมัยนั้นถ้าอยากกินอาหารฝรั่ง หรืออะไรบางอย่างต้องไปโรงแรมมิตรภาพ กับโรงแรมปักกิ่งตรงเทียนอันเหมิน ข้างนอกไม่มี โยเกิร์ตก็ไม่มี มาโรงแรมมิตรภาพเพื่อซื้อ"ซวนไหน่" ซึ่งอร่อยมาก เป็นโถกระเบื้อง ซึ่งเดี๋ยวนี้ไม่มีแล้ว ใส่โถกระเบื้อง สวยน่ารัก และอร่อย สมัยนั้นกินข้างต้องเป็นเวลา หิวก่อนเวลาร้านก็ไม่เปิด โรงแรมก็ไม่เปิด ในมหาวิทยาลัยก็เหมือนกัน มีเวลากินข้าว 40 หรือ50 นาทีเท่านั้น แต่ว่าได้ภาษา ได้มาสัมผัสภาษาจีนจริงๆ ได้เห็นเมืองจีนจริงๆ นั่นก็เป็นครั้งแรก และก็หนนั้นก็โชคดี เผอิญศาสตรจารย์หลี่ฟางกุ้ยท่านก็มาที่เป่ยต้า ก็พบกันที่"เสาหยวน "ท่านก็แนะนำให้รู้จักอาจารย์"จงเหวินซี่ "ซึ่งเป็นลูกศิษย์ของท่านมาก่อน อย่างอาจารย์จูเต๋อซี หวางหวน หลินเทา เป็นลูกศิษย์ท่านหมด ท่านก็แนะนำให้รู้จัก และก็รู้จักอาจารย์ลู่เจี้ยนหลิน ท่านก็ฝากฝังว่า ประพิณเขาอยู่เมืองไทยคนเดียวนะ พวกเธอต้องช่วยเขา เขา้เป็นลูกศิษย์ฉันเหมือนกัน เพราะฉะนั้น เป่ยต้าจงเหวินซี่เขาช่วยจุฬามากเลย ช่วยมาตลอด ตั้งแต่ปี 1983 อาจารย์ทุกคนเคยไปช่วยเล็คเชอร์ นี่ก็เป็นความสัมพันธ์ที่ผูกพันกับมหวิทยาลัยปักกิ่ง ได้รับความช่วยเหลือที่ดี ได้รับมิตรภาพที่ดีมาตลอด เป็นเพื่อนรักกันมาตลอด

อยากจะสร้างครูสอนภาษาจีนของไทยเอง

คนไทยนิยมเรียนภาษาจีนมากๆ ตั้งแต่ช่วงศตวรรษ 1990 ค่อนข้างนานแล้ว มหาวิทยาลัยที่เปิดสอนภาษาจีนแทบจะหาไม่ได้ พอจุฬาเปิดก็มีที่เปิดอีกแห่งหนึ่งคือ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ที่ปะตานี ตอนนั้นทบวงให้ไปช่วยร่างหลักสูตรซึ่งเป็นหลักสูตรแรกที่ช่วยร่าง หลังจากนั้นก็ช่วยร่างของที่ไหนๆ เต็มไปหมดของเมืองไทย ที่ปะตานีเปิดเป็นวิชาเอก ไม่มีคนสอนก็ต้องบินไปช่วยสอน หลังจากนั้นก็มีธรรมศาสตร์เปิดเป็นวิชาเลือก เปิดอยู่ 3 - 4 แห่ง ของเชียงใหม่ของที่อื่นก็ค่อยๆ เปิดทยอยกันมา คนที่จบส่วนใหญ่ก็ไปเป็นครูเยอะ ก็จะรู้จักกัน แต่ว่าภาษาจีนมาเฟื่องจริงๆ ก็ช่วงทศวรรษ 1990 เฟื่องมาก ตอนหลังศูนย์ภาษาเต็มไปหมด ทุกแห่งก็เปิด ตอนนี้มหาวิทยาลัยที่เปิดภาษาจีนในเมืองไทยมีทั้งหมด 79 แห่ง รวมเอกชนด้วย ทั้งรัฐทั้งเอกชน และโรงเรียนประถมมัธยมก็เปิดทุกระดับ โรงเรียนประถมมัธยมของคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานที่เปิดภาษาจีนมี 1000 กว่าโรง ตอนนี้ก็ร่างหลักสูตรกันอยู่ เป็นประธานไปช่วยเขาทำงานนี้ ร่างหลักสูตรตั้งแต่ประถม 1 ไปจนถึงมัธยม 6 และมัธยม 1 ถึง มัธยม 6 และอีกหลักสูตรหนึ่ง คือ ร่างตั้งแต่ประถม 1 ถึง มัธยม 6 เลย และก็มีมัธยม 4 ถึง 6 อีีกหลักสูตรหนึ่ง จะเรียนแบบภาษาต่างประเทศจริงๆ ทางฮั่นปั้นก็ช่วยทำตำราให้ แต่เราอยากทำตำราของเราเองมากกว่า เพราะเหมาะกับคนไทยมากกว่า กระทรวงศึกษาธิการกำลังขอความช่วยเหลือจากฮั่นปั้นว่า พวกเราจะรวมกันทำ และขอให้ฮั่นปั้นส่งผู้เชี่ยวชาญมาช่วยพวกเราทำเป็นของเมืองไทยโดยเฉพาะ หรือไม่ก็อาจจะขอชุดของฮั่นปั้นที่ดีๆ มาปรับเปลี่ยนบ้างเพราะบางจุดไม่เหมาะ เพราะส่วนใหญ่ตำราของฮั่นปั้นหรือของเมืองจีน ของเป่ยอวี่ เป่ยต้าทั้งหมด สำหรับสอนฝรั่ง จุดเน้นไม่เหมือนกัน เช่น ไปเน้น "บี" "พี" คนไทยเรามี "ป" "พ" อยู่แล้ว ไม่มีปัญหา เราก็อยากจะได้อะไรที่เป็นของไทย ของอุดมศึกษาก็เหมือนกัน เราก็กำลังทำกรรมการชุดหนึ่ง สำหรับอุดมศึกษา ขณะนี้หลายคน โดยเฉพาะวิทยากรจีนที่ไปเมืองไทยบอกว่า เมืองจีนไม่มีอะไรเป็นเอกภาพเลย ต่างคนต่างสอน ตำราก็ต่างคนต่างทำ อยากจะได้อะไรที่เป็นมาตราฐานที่เป็นแกนกลาง และพัฒนาครูก็พัฒนาไม่ทัน ส่วนใหญ่ตามโรงเรียนทั่วไปเขาก็จะขอครูที่รู้ภาษาจีนที่เรียนมาตั้งแต่เด็กบ้าง อะไรบ้างมาช่วยสอน ซึ่งครูพวกนั้นเรียนมาก็จริง แต่อธิบายไวยากรณ์ก็จะอธิฺบายไม่ถูก เราก็จะอบรมให้ ปิดเทอมก็อบรมทันที อบรมไวยากรณ์บ้าง อบรมเรื่องออกเสียง ฝึกออกเสียงใหม่หมดเลย เพราะแต่ก่อนสอนแต่จีนใต้ ออกเสียงผิด เราก็ต้องฝึกออกเสียงใหม่ ซึ่งฝึกยากมาก ตอนหลังเราขอรัฐบาลจีนว่าเราอยากสร้างครูไทยของเราเอง เพราะขณะนี้ รัฐบาลจีนส่งครูไปสอนก็จริง แต่ไม่ใช่ิส่งไปถาวร หรืออาสาสมัครไปหนึ่งปีก็กลับ เราก็อยากได้คนไทยที่สอนของเราเองได้ เพราะว่าขั้นพื้นฐานยังไงเจ้าของภาษาจะสื่อกันง่ายกว่า เราก็ขอทุนรัฐบาลจีน อย่างเช่นขณะนี้รัฐบาลจีนให้ทุน 300 ทุน เพื่อส่งมาเรียนเมืองจีนปีละ 100 คน เราก็รับสมัครปริญญาตรีทั้งหมดที่จบเอกภาษาจีนทั้งจากมหาวิทยาลัย จากราชภัฏด้วยมาสมัครแล้วเราก็เลือก สอบสัมภาษณ์คัดเลือก ส่งมาเมืองจีน 100 คน เรียนปีหนึ่งเพื่อกลับไปเป็นครูของโรงเรียนต่างๆ รุ่นแรกกำลังจะกลับกรกฎานี้ รุ่นที่สองก็กำลังจะมา และก่อนมาเราก็ให้คนที่จะรับทุนอบรมวิธีการจะเป็นครูในเมืองไทย จะได้ใบประกอบวิชาชีพ อบรมวิชาชีพครูก่อน พอคัดเลือกเสร็จ พฤษภาก็จะอบรมไปถึงสิงหา วิชาครูต่างๆ ที่ต้องรู้ กลับไปจะได้เป็นครูที่ถูกต้องตามกฎหมายของไทย แล้วก็จะส่งมาที่จีน เราก็ขอให้ฮั่นปั้นส่่งไปตามมหาวิทยาลัยดีๆ เช่นเป่ยซือต้า หัวซือต้าเป็นต้น เขาก็พยายามทำตามที่เราขอร้อง ก็ได้ไปหัวซือต้า เป่ยซือต้าพวกนี้ คิดว่าถ้า 300 คนกลับไปก็จะช่วยได้เยอะ ประถมมัธยมก็จะได้เยอะขึ้น สำหรับอุดมเราก็ขอฮั่นปั้นเหมือนกัน อย่างปีนี้ฮั่นปั้นก็ให้ืุทุนมา 200 ทุนให้อาจารย์มาเรียนปริญญาโท ปริญญาเอก ถ้าคนจบโทแล้วก็มาเรียนเอก จบตรีแล้วมาเรียนโท เพื่อกลับไปเป็นครูของอุดมศึกษา และเป็นหน้าที่ของมหาวิทยาลัยต่อไปที่จะต้องพยายามช่วยผลิตครูให้กับเมืองไทยเอง เพราะฉะนั้นงานตอนนี้เยอะมาก ต้องพยายามสร้างฐานของตัวเองให้แข็ง ภาษาจีนในเมืองไทยพัฒนาเร็วเกินไป เลยมีความไม่พร้อมหลายๆ ด้าน ตำรากับครูสำคัญมาก

สมเด็จพระเทพฯ ทรงสนับสนุนการเรียนการสอนภาษาจีนในประเทศไทย

เรื่องการถวายอักษรสมเด็จพระเทพฯ นั้น จริงๆ แล้วแทบจะไม่ได้ถวายอักษรท่าน แต่ว่าท่านเคยมาเอาตำราภาษาจีนกับเทปไป ก็ถวายท่าน มีปัญหาอะไรบางครั้งท่านก็จะถาม พอท่านปรารภว่าจะเรียนภาษาจีน ทางสถานทูตก็หาครูไปถวายอักษรท่านโดยส่่งครูไปถวายอักษรให้ คนหนึ่ง 2 ปี ไปถวายพระอักษรทุุกวันเ่สาร์ ครึ่งวัน 9 โมงถึงเที่ยง ในวัง ครูพวกนี้จะได้รับการคัดเลือกอย่างดี สำเนียงดีมาก เพราะฉะนั้น สำเนียงท่านจะดีมาก และท่านก็จะสนพระทัยเรื่องกลอนบ้าง เรื่องอะไรบ้าง อย่างเช่นมีหนังสือเล่มหนึ่งที่ท่านแปล "หยกใสร่ายคำ" เป็นกลอนที่ท่านแปลเป็นภาษาไทย และท่านก็แปลหนังสือหลายเล่ม ครูแต่ละคนก็จะพยายามสอนตามที่ท่านสนพระทัย และศัพท์ทั่วๆ ไป อย่างอาจารย์คนเก่า อาจารย์หาน ร้องเพลงเพราะมาก ก็สอนเพลงท่าน ทุกวันนี้ทั้งหมด 10 กว่าคนแล้ว เรียมมา 20 ปี ตอนนี้ 20 ปีเศษแล้ว คนละ 2 ปี จะเป็นอาจารย์ที่ไปจาก"เหวินหั้วชู่" สอนการทูตของเมืองจีน แต่มีคนหนึ่งไปจากเป่ยต้า นอกนั้นจะเป็นอาจารย์ไปจาก"ไว่เจียว" โรงเรียนที่สอนกระทรวงการต่างประเทศของเขา อาจารย์ทุกคนสอนดี สอนเขียนพู่กัน ท่านก็เขียนพู่กันเก่ง ท่านรักเมืองจีนมาก เสด็จเยือนจีน 20 กว่าครั้งแล้ว 27 28 ครั้ง เป็นพระรางวงศ์องค์แรกที่เสด็จครบทุกมณฑลของจีน อย่างเส้นทางสายไหมท่านเสก็จก็ตามเสด็จ ท่านเสด็จเน่ยเหมิ่งกู่ก็ตามเสด็จ และหลายๆ จุด เผื่อคนทั่วไปยังไม่เคยไป อย่างจิ่งกางซาน ไปเที่ยวแล้วดีมาก และำได้เห็นประวัติศาสตร์สมัยท่านเหมา ไปจิ่งเต๋อเจิ้น ได้เห็นวิธีการทำกระเบื้องเคลือบ ตามเสด็จหนนั้นพอดี ท่านก็สนับสนุนการเรียนการสอนภาษาจีนที่เมืองไทยด้วย ท่านสนับสนุนมากเลย อย่างที่คณะอักษรศาสตร์ ท่านสนับสนุนมาก มีเด็กได้รับทุนจากท่านมาเรียนเมืองจีนด้วย ท่านบอกว่าจีนเก่งหลายอย่าง ไม่ใช่เฉพาะภาษาจีน ต้องมาเรียนวิทยาศาสตร์ และอื่นๆ ด้วย มีเด็กทุนในพระอุปถัมภ์ของท่านมาเรียนที่เป่ยต้า นอกจากนี้ยังได้สร้างศูนย์ภาษาและวัฒนธรรมจีนสิรินธร รัฐบาลจีนสร้างให้เนื่องในโอกาส 100 ปี สมเด็จย่า ในจำนวนมหาวิทยาลัยปิด มหาวิทยาลัยของรัฐ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงเป็นมหาวิทยาลัยที่มีนักษึกษาที่เรียนเอกจีนมากที่สุด มีเกือบๆ 900 คน 4 ชั้นปี ศูนย์ภาษาและวัฒนธรรมจีนสิรินธนจะจัดการอบรม ส่วนใหญ่งานหลักคืออบรมครู จะอบรมทุกหน้าร้อน อบรมครูต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาไปเรื่อยๆ เป็นครูที่ดีต่อไป และก็จะอบรมครูให้กับหน่วยงานต่างๆ ที่ต้องการอบรม และเผยแพร่วัฒนธรรมจีน ซึ่งเดี๋ยวนี้สถาบันขงจื่อ 12 แห่งในเมืองไทย ก็จะมีภาระกิจคล้ายๆ แบบนี้ จะมีหน้าที่อบรมเผยแพร่ภาษาและวัฒนธรรมจีน แต่สถานบันขงจื่อจะไม่เปิดวิชาที่เป็นปริญญาเอง ถ้าจะเปิดวิชาที่มีการให้ปริญญา ก็ต้องเป็นคณะวิชาเปิด และสถาบันขงจื่อจะส่งครูไปสอน ส่วนสถาบันขงจื่อจะไม่เปิดวิชาที่มีปริญญาเอง ปริญญาบัตรไม่มี อบรมทั้งนั้น อบรมระยะสั้น จะมีการแข่งสุนทรพูด การแข่งพูดภาษาจีน"ฮั่นอวี่เฉียว" ร้องเพลงจีน เขียนพู่กันจีน ประกวดเรียงความด้วยภาษาจีน อะไรพวกนี้ และก็มาร่วมกิจกรรมตอบคำถามซีอาร์ไอ เดี๋ยวนี้เด็กโชคดีมาก ไม่เหมือน 20, 30 ที่แล้ว เปิดเน็ตก็ได้ วิทยุ ทีวี เปิดดู CCTV ได้ทั้งวัน มีสิ่งแวดล้อมทางภาษามากขึ้น เรียนรู้เร็วขึ้น เปิด CD เรียนที่บ้านก็ได้ เปิดเน็ตเรียนก็ได้ เด็กเดี๋ยวนี้โชคดี มีโอกาสเรียนภาษาต่างประเทศมากขึ้น