China Radio International
ข่าวภายใน
    ประเทศ
ข่าวต่างประเทศ
 ข่าวการเมืองและ
 การต่างประเทศ
 ข่าวเศรษฐกิจ
 ข่าววัฒนธรรม

 ข่าววิทยาศาสตร์
  เทคโนโลยี่

 ข่าวกีฬา
 ข่าวอื่น
วันที่ 13 พฤศจิกายน ปี ค.ศ.2009
อ่านต่อ>>

จีนปัจจุบัน

เศรษฐกิจ

พาเที่ยวจีน

วัฒนธรรม

ชนชาติส่วนน้อย

การเมือง
(GMT+08:00) 2009-10-16 15:00:21    
โลกควรให้ความสนใจมากยิ่งขึ้นกับความปลอดภัยของธัญญาหาร

cri

วันที่ 16 ตุลาคมเป็นวันธัญญาหารโลก ประเด็นสำคัญของปีนี้คือ "รับมือกับวิกฤตการเงิน ประกันความปลอดภัยของธัญญาหาร"เมื่อเร็วๆ นี้ องค์การธัญญาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติหรือFAOประกาศรายงานเกี่ยวกับสภาพความไม่ปลอดภัยของธัญญาหารของโลกประจำปี2009 ว่า วิกฤตการเงินโลกส่งผลกระทบต่อประเทศต่างๆ ทั่วโลก โดยเฉพาะทวีความกดดันต่อความปลอดภัยของธัญญาหารประเทศกำลังพัฒนา ระบบธัญญาหารของโลกต้องดำเนินการปฏิรูปทันที

ประการแรก วิกฤตการเงินและวิกฤตธัญญาหารครั้งนี้เกิดขึ้นในเวลาเดียวกัน วิกฤตธัญญาหารที่เกิดขึ้นระหว่างปี 2006 – 2008 ทำให้ราคาธัญญาหารโลกเพิ่มขึ้น แม้ว่าปัจจุบัน ราคาธัญญาหารโลกลดลงเมื่อเทียบกับราคาสูงสุดเมื่อปี 2008 แต่ยังสูงกว่าราคาเมื่อหลายปีที่ผ่านมา วิกฤตการเงินโลกครั้งนี้เพิ่มความร้ายแรงต่อวิกฤตธัญญาหาร ประชาชนของประเทศกำลังพัฒนาต่างๆ ต้องซื้อธัญญาหารที่มีราคาสูง ทั้งๆ ที่ตกอยู่ในภาวะยากจนแล้ว และยิ่งเป็นภัยต่อความปลอดภัยของธัญญาหารที่มีมาชานาน

ประการที่ 2 วิกฤตการเงินโลกครั้งนี้ส่งผลกระทบอย่างกว้างขวาง ก่อนหน้านี้ วิกฤตการเงินที่ส่งผลกระทบกับประเทศกำลังพัฒนาเพียงอยู่ในบางประเทศหรือบางภูมิภาคเท่านั้น ประเทศที่ได้รับผลกระทบจะใช้วิธีการต่างๆ เช่น การลดค่าเงิน การขอเงินกู้หรือขอความช่วยเหลือมากยิ่งขึ้นจากประชาคมโลก เพื่อรับมือกับวิกฤตการเงิน แต่วิกฤตการเงินโลกครั้งนี้ส่งผลกระทบทั่วโลก ไม่ว่าประเทศพัฒนาหรือประเทศกำลังพัฒนา ล้วนไม่สามารถรอดได้ ดังนั้น วิธีการดังกล่าวยากที่จะแก้ปัญหาได้

ประการที่ 3 คู่ขนานไปกับกระบวนการกระแสโลกาภิวัตน์ทางเศรษฐกิจได้รับการพัฒนาไปเรื่อยๆ ประเทศกำลังพัฒนาได้รับผลกระทบจากตลาดโลกมากยิ่งขึ้น ปัจจุบัน ยอดการค้าและการหมุนเวียนเงินทุนของประเทศต่างๆ เกิดสภาพถดถอย นอกจากนี้ ยอดการค้าส่งออก การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศและเงินช่วยเหลือการพัฒนาจากประชาคมโลกก็ลดลง สภาพเช่นนี้ไม่เพียงแต่ทำให้ตำแหน่งงานและรายได้ของประชาชนลดน้อยลงเท่านั้น หากยังทำให้รัฐบาลประเทศต่างๆ ลดการจัดสรรงบประมาณด้านความปลอดภัยของธัญญาหาร จึงทำให้ประชาชนผู้ยากจนมากยิ่งขึ้นได้ธัญญาหารไม่เพียงพอ

สำหรับวิกฤตการดังกล่าว ประชาคมโลกต้องใช้ความพยายามมากยิ่งขึ้นเพื่อบรรลุซึ่งความปลอดภัยของธัญญาหารอย่างยั่งยืน มองจากระยะสั้น ควรเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงระบบความปลอดภัยของธัญญาหารที่มีอยู่ในปัจจุบัน เพื่อแก้ความยากลำบากกับผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือมากที่สุด มองจากระยะไกล ต้องเพิ่มการลงทุนเพื่อยกประสิทธิภาพในการผลิตการเกษตรของประเทศกำลังพัฒนาให้สูงขึ้น ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ผลักดันการเติบโตทางเศรษฐกิจ และแก้ปัญหาความยากจนและอดอยาก ปริมาณการผลิตธัญญาหารทั่วโลกเมื่อปี 2008 สูงถึง 2245 ล้านตัน สร้างสถิติสูงสุดในประวัติศาสตร์ เพราะว่า ประเทศพัฒนาเพิ่มการผลิต 11% ส่วนประเทศกำลังพัฒนาเพิ่มขึ้นเพียง 1.1% เท่านั้น ความจริง ถ้าไม่พิจารณาปัจจัยมหาประเทศด้านการเกษตร เช่น จีน อินเดียและบราซิล เป็นต้น ปริมาณการผลิตธัญญาหารของประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ ลดลง 0.8% ซึ่งแสดงว่า ภูมิภาคและประชากรยากจนต้องการการเพิ่มการลงทุนและการสนับสนุนทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในด้านการเกษตรอย่างเร่งด่วน เพื่อทำให้ผลเก็บเกี่ยวการเกษตรสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

Kt