การประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 15 ได้จัดขึ้นที่อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรีและอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ระหว่างวันที่ 23-25 ตุลาคมนี้ ประเด็นหลักของการประชุมครั้งนี้คือ "เชื่อมโยงประชาคม สร้างเสริมประชาชน"การประชุมได้ปรึกษาหารือกันในปัญหาต่างๆ เช่น การจัดตั้งคณะกรรมธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน การส่งเสริมความร่วมมือด้านการเงิน การป้องกันภัยธรรมชาติ การสร้างกลไกความร่วมมือ ตลอดจนการพัฒนาทรัพยากรบุคลากรเป็นต้น
ระหว่างการประชุมที่เป็นเวลา 3 วัน นอกจากการประชุมสุดยอดอาเซียนแล้ว ยังจะจัดการประชุมสุดบอดระหว่างผู้นำอาเซียนและประเทศคู่เจรจา ซึ่งรวมถึงการประชุมสุดยอดอาเซียน 10+1ครั้งที่12 การประชุมสุดยอดอาเซียน 10+3 ครั้งที่12 ตลอดจนการประชุมสุดยอดอาเซียน 10+6 ครั้งที่ 4 ด้วย
วันที่ 23 นี้ พิธีเปิดอย่างเป็นทางการของการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่15และการประชุมสุดยอดระหว่างผู้นำอาเซียนกับประเทศคู่เจรจาได้จัดขึ้นที่หัวหิน พิธีเปิดได้เริ่มขึ้นท่างกลางเสียงการขับร้องเพลง "อาเซียนเวย์"ที่แสนไพเราะ ผู้นำจาก 6 ประเทศอาเซียน นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ เลขาธิการอาเซียน และคณะผู้แทนจากประเทศต่างๆกว่า 1500 คนได้เข้าร่วมพิธีเปิดในวันเดียวกัน นักแสดงจากประเทศไทยได้มอบการแสดงรำวงโขนเรื่องรามเกียรติ์ที่น่าประทับใจให้แก่แขกผู้มีเกียรติย์ที่มาเข้าร่วมพิธีเปิด
ผู้นำของสี่ประเทศอาเซียน เช่น อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์และกัมพูชาไม่ได้เข้าร่วมพิธีเปิดเนื่องจากติดภารกิจภายในประเทศ แต่ได้เดินทางถึงหัวหินในค่ำวันเดียวกัน และทันที่เข้าร่วมการประชุมสุดยอดและการประชุมที่เกี่ยวข้อง นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะได้กล่าวคำปราศรัยในพิธีเปิดว่า
"เราจำเป็นต้องเริ่มคิดเกี่ยวกับแนวทางใหม่สำหรับการดำเนินการ ในยุคโลกาภิวัฒน์เช่นปัจจุบัน เราไม่มีเวลามากเพียงพออีกต่อไป และเพื่อที่จะรับมือกับความท้าทายต่างๆ อย่างมมีประสิทธิภาพ เราจะต้องเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับโครงสร้างขององค์กรเพื่อให้มีการตัดสินใจได้อย่างรวดเร็ว ในขณะเดียวกันที่การดำเนินการตามการตัดสินใจดังกล่าวจะต้องทำได้อย่างทันท่วงที ในการนี้ กระผมสนับสนุนให้เลขาธิการอาเซียนมีบทบาทในการนำประเด็นที่มีความเร่งด่วนไปสู่การพิจารณาของผู้นำอาเซียนเพื่อให้มีการดำเนินการอย่างทันท่วงที การเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียนนี้จะเป็นเพียงก้าวแรก ก่อนที่จะขยายไปสู่การเชื่อมโยงที่กว้างขึ้น
ในเอเชียตะวันออก ซึ่งจะเชื่อมอาเซียนเข้ากับส่วนที่เหลือของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และทำให้เกิดความก้าวหน้าและความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจแก่ทุกฝ่าย การเสริมสร้างการเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียนนี้มิได้หมายความว่า เป็นการเชื่อมโยงประชาชนทางกายภาพเท่านั้น แต่ยังหมายถึงการการยึดโยงทางด้านจิตใจและความคิดของประชาชนของอาเซียนทั่วภูมิภาค เราจำเป็นที่จะต้องส่งเสริมเชื่อมโยงทางด้านภูมิปัญญาและวัฒนธรรมบนพื้นฐานของมิตรภาพและความเข้าใจอันดีของประชาชนต่อเป้าหมายร่วมกัน ตลอดจนการมีมรดกทางประวัติศาสตร์ร่วมกัน การติดต่อระหว่างประชาชนต่อประชาชนนี้จะช่วยส่งเสริมให้เกิดความคิดที่ว่า "เรารู้สึกถึงความเป็นอาเซียน" อันเป็นปัจจัยสำคัญปัจจัยหนึ่งในกระบวนการสร้างประชาคม ในการนี้ประเทศไทยยินดีที่จะจัดตั้ง "อาเซียนแชนแนล" เพื่อเป็นช่องทางการส่งเสริมความเข้าใจอันดีและอัตลักษณ์ร่วมของประชาชนอาเซียน ภารกิจที่รออยู่ข้างหน้าของเราย่อมไม่ง่ายดายนัก และรัฐบาลเพียงฝ่ายเดียวก็คงไม่สามารถทำให้บรรลุผลได้ ดังนั้น จึงเป็นความรับผิดชอบของทุกภาคส่วนของสังคม รวมทั้งภาคเอกชน ภาคประชาสังคมตลอดจนเราทุกคน ที่จะขับเคลื่อน "ประชาคมอาเซียน" ของเราไปข้างหน้า หากพิจารณาถึงพลวัตที่เปลี่ยนแปลงของภูมิภาคและของโลก เราจะต้องรักษาความพยายามที่จะบรรลุเป้าหมายเหล่านั้นให้ยั่งยืนต่อไป กระผมเชื่อมั่นว่าเราสามารถบรรลุประชาคมอาเซียนที่เป็นจริงร่วมกันได้โดยการมีความมุ่งมั่นอย่างจริงจังและด้วยจิตวิญญาณแห่งความร่วมมือ"
หลังจากพิธีเปิดได้สิ้นสุดลง ได้จัดการหารืออย่างไม่เป็นทางการระหว่างผู้นำอาเซียนกับผู้แทนสมัชชารัฐสภาอาเซียน การหารืออย่างไม่เป็นทางการระหว่างผู้นำอาเซียนกับผู้แทนเยาวชนอาเซียน และการหารืออย่างไม่เป็นทางการระหว่างผู้นำอาเซียนกับผู้แทนภาคประชาสังคม หลังจากนั้น ได้จัดการรับรองแถลงการณ์หัวหิน-ชะอำว่าด้วยการจัดตังคณะกรรมธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน และได้จัดพิธีเฉลิมฉลองการจัดตั้งคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน บ่ายวันเดียวกัน ในฐานะที่เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมครั้งนี้ ฝ่ายไทยยังได้จัดงานแสดงนิทรรศการภาพเขียนสีน้ำประชาคมอาเซียน และยังได้มอบหนังสือภาพเขียนสีน้ำประชาคมอาเซียนให้แก่ผู้นำประเทศอาเซียนเป็นของขวัญด้วย หนังสือเล่มนี้ประกอบด้วยภาพสีน้ำที่เกี่ยวกับสิ่งก่อสร้าง สถานที่ท่องเที่ยว โบราณสถานและวิถีชีวิตที่เป็นสัญลักษณ์ของ10ประเทศอาเซียนทั้งหมดกว่า 140 รูป
วันที่ 24 ตุลาคมนี้ การประชุมสุดยอดระหว่างผู้นำอาเซียน 10+1 และการประชุมอาเซียน 10+3ได้จัดขึ้นที่หัวหิน นายเวิน เจียเป่า นายกรัฐมนตรีจีน นายยูกิโอะ ฮาโตยามา นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นและนายอี มยอง บัก ประธานาธิบดีเกาหลีใต้ ได้เข้าร่วมการประชุมร่วมกับผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียน ผู้นำของประเทศต่างๆได้แลกเปลี่ยนความเห็นอย่างกว้างขวางและลึกซึ้งในด้านต่างๆ เช่น การรับมือกับวิกฤติการณ์การเงินระหว่างประเทศและการส่งเสริมความร่วมมือเชิงเนื้อแท้เป็นต้น
ผู้นำประเทศอาเซียน+3 ได้หารือต่อในการประชุมเต็มคณะในหัวข้อหลัก คือ การทบทวนความร่วมมือในกรอบอาเซียน+3 และทิศทางในอนาคต และการหารือเกี่ยวกับการสร้างความแข็งแกร่งให้กับความร่วมมือในกรอบอาเซียน+3 เพื่อรับมือกับสิ่งท้าทายต่าง ๆ โดยให้ความสำคัญกับประเด็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การจัดการภัยพิบัติทางธรรมชาติ ความมั่นคงทางอาหารและพลังงาน ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจและการเงิน สาธารณสุข และการศึกษา ในการประชุมฯ ครั้งนี้ ได้มีการรับรองแถลงการณ์ชะอำหัวหินว่าด้วยความร่วมมือเกี่ยวกับความมั่นคงด้านอาหารและการพัฒนาพลังงานชีวภาพในกรอบอาเซียน+3 โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาระบบสำรองข้าวฉุกเฉินเอเชียตะวันออก ซึ่งเป็นโครงการนำร่องที่มีสำนักงานชั่วคราวอยู่ในประเทศไทยให้เป็นกลไกถาวร เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงด้านอาหาร ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจและการเงิน เป็นสาขาที่มีความก้าวหน้าและได้รับความสนใจมากที่สุดในกรอบอาเซียน+3 โดยเฉพาะการเร่งรัดการจัดตั้งกองทุนสำรองพหุภาคีภายใต้มาตรการริเริ่มเชียงใหม่ จำนวน 1.2 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐภายในสิ้นปี 2552 เพื่อช่วยเหลือประเทศในภูมิภาคในกรณีที่ประสบปัญหาสภาพคล่องจากการไหลออกของเงินทุน และการจัดตั้งหน่วยงานอิสระเพื่อติดตามสภาวะทางเศรษฐกิจในภูมิภาค โดยไทยแสดงความพร้อมที่จะเป็นที่ตั้งของหน่วยงานฯ ดังกล่าว และการเร่งรัดมาตรการริเริ่มเพื่อพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชีย (Asian Bond Markets Initiative-ABMI) เพื่อการระดมเงินทุนในภูมิภาคเพื่อการพัฒนาภายในภูมิภาคเอเชีย รวมทั้งสนับสนุนการศึกษาแนวทางการจัดตั้งเขตการค้าเสรีเอเชียตะวันออก เพื่อส่งเสริมการค้าและการลงทุนในภูมิภาค นอกจากนี้ ผู้นำทั้ง 13 ประเทศ ยังได้กล่าวสนับสนุนผลการประชุม G20 โดยเฉพาะการต่อต้านการกีดกันทางการค้า และการคงดำเนินมาตรการที่เกี่ยวข้องเพื่อให้การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจดำเนินไปอย่างต่อเนื่องในการประชุมสุดยอดครั้งนี้ญี่ปุ่นยังได้กล่าวถึงแนวคิดเรื่อง East Asia community (EAC) ซึ่งให้ความสำคัญกับเรื่อง open regionalism และเสริมสร้างความร่วมมือประเด็นต่าง ๆ บนพื้นฐานความร่วมมือที่มีอยู่แล้วในกรอบต่าง ๆ ไทยได้ประกาศที่จะเป็นผู้ผลักดันความร่วมมือด้านการศึกษาในกรอบความร่วมมืออาเซียน+3 และผู้นำได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่พิจารณารายละเอียดที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งร่างแผนปฏิบัติการเรื่องการศึกษาที่ประเทศไทยจะนำเสนอต่อไป
นายเวิน เจียเป่าได้กล่าวในที่ประชุมว่า เผชิญหน้ากับการท้าทายต่างๆ ทุกประเทศต้องพยายามร่วมมือร่วมใจกัน ผลักดันความร่วมมือในเอเซียตะวันออกให้ก้าวสู่ระดับใหม่ พยายามผลักดันการกระชับความร่วมมือในด้านต่างๆ และผลักดันการสร้างสรรค์การเป็นองค์หนึ่งองค์เดียวกันในภูมิภาคนี้ เพื่อส่งเสริมสันติภาพและความเจริญรุ่งเรืองในภูมิภาคนี้ เขากล่าวว่า
"ไม่ว่าการประชุมสุดยอด10+1 การประชุม 10+3 หรือการประชุม 10+6 ล้วนเป็นการประชุมที่สร้างเงื่อนไขในการสร้างประชาคมเอเซียตะวันออก ซึ่งก็หมายความว่า เราต้องพยายามส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศอาเซียนกับประเทศจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดีย ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ซึ่งก็จะสามารถบรรลุเป้าหมายที่จะรวมตัวเป็นประชาคมเอเซียตะวันออกได้ แต่ว่า ประเทศต่างๆในเอเซียตะวันออกมีสภาพสังคม เศรษฐกิจและระบบที่ไม่เหมือนกัน ระดับการพัฒนาก็ไม่เหมือนกัน ด้วยเหตุนี้ การรวมตัวเป็นประชาคมหนึ่ง จะเป็นกระบวนการที่ต้องค่อยไปค่อยมา"
นายเวิน เจียเป่ายังกล่าวอีกว่า การพัฒนาความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านในเอเซียเป็นส่วนประกอบที่สำคัญมากในนโยบายการต่างประเทศของจีน ขณะเดียวกัน ภายใต้เบื้องหลังที่เผชิญกับวิกฤติการเงินโลก การพัฒนาความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านนั้นก็มีบทบาทอันแข็งขันและอิทธิพลที่ลึกซึ้งในการร่วมกันรับมือกับวิกฤติการเงินโลกด้วย เขากล่าวว่า
"เราถือว่าการพัฒนาความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้เป็นจุดสำคัญของนโยบายการต่างประเทศของจีน เป้าหมายที่สำคัญที่สุดของนโยบายนี้ก็คือ โดยผ่านการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างจีนกับประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อร่วมมือกันรับมือกับการคุกคามที่นำมาจากวิกฤติการเงินโลก การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ วิกฤติการณ์ด้านพลังงาน ความยากจน และโรคภัยไข้เจ็บเป็นต้น ข้าพเจ้าเชื่อว่า ถ้าจีนกับประเทศเพื่อนบ้านมีความสามัคคีกัน อยู่ร่วมกันอย่างสมานฉันท์และเที่ยงธรรม อำนวยประโยชน์แก่กันและกัน เราก็สามารถผ่านพ้นความยากลำบากได้แน่นอน"
บ่ายวันเดียวกัน นางพรทิวา นาคาศรัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ไทยได้กล่าวถึงผลงานการประชุมสุดยอดระหว่างผู้นำอาเซียนกับจีนในงานแถลงข่าว
วันที่ 25 นี้ นายเวิน เจียเป่า นายกรัฐมนตรีจีนได้พบปะกับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีไทย ระหว่างการพบปะ นายเวิน เจียเป่ากล่าวว่า ปีหน้าเป็นปีสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างจีนกับไทยครบรอบ 35 ปี ฝ่ายจีนยินดีที่จะร่วมมือกันกับฝ่ายไทย ส่งเสริมการไปมาหาสู่กันระหว่างเจ้าหน้าที่ระดับสูง กระชับความร่วมมือซึ่งกันและกัน นายเวิน เจียเป่ายังกล่าวว่า ไทยเป็นประเทศหุ้นส่วนที่สำคัญมากในด้านการค้าของจีนในอาเซียน สองประเทศจะใช้โอกาสที่ดีจากการสร้างเขตการค้าเสรีระหว่างจีนกับอาเซียน ขยายการแลกเปลี่ยนและความร่วมมือในด้านต่างๆ พัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับไทยให้ก้าวหน้าต่อไป นายเวิน เจียเป่ายังให้คำประเมินอย่างสูงในการที่ฝ่ายไทยใช้ความพยายามอย่างมากในการจัดการประชุมครั้งนี้ด้วยความสำเร็จ และยังแสดงว่า ฝ่ายจีนยินดีที่จะร่วมกันกับฝ่ายไทย ผลักดันความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับเอเซียตะวันออกให้ประสบผลคืบหน้าใหม่
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะกล่าวว่า ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับจีนได้พัฒนาด้วยความราบรื่นดี ฝ่ายไทยหวังที่จะขยายความร่วมมือกับฝ่ายจีนในด้านต่างๆ เช่น เศรษฐกิจ การค้า การสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกและการท่องเที่ยวเป็นต้น ฝ่ายไทยยินดีที่จะร่วมกันกับฝ่ายจีนในการเสริมการประสานงานในกิจการส่วนภูมิภาคและระหว่างประเทศ เพื่อสร้างคุณูปการในด้านการผลักดันความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับจีน
ต่อจากนั้น การประชุมสุดยอดอาเซียน 10+6 ครั้งที่ 4 ได้จัดขึ้นที่หัวหิน ผู้นำของ10ประเทศอาเซียน จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดีย ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ได้เข่าร่วมการประชุม หลังการประชุม ผู้นำประเทศต่างๆได้ร่วมกันลงนามในเอกสาร 5 ฉบับ ได้แก่ บันทึกความเข้าใจระหว่างอาเซียนกับจีนว่าด้วยการสร้างเสริมความร่วมมือทางด้านมาตรฐานกฏระเบียบ ทางเทคนิค การตรวจสอบและการรับรอง บันทึกความเข้าใจในความร่วมมือด้านทรัพย์สินทางปัญญาระหว่างอาเซียนกับจีน บันทึกความเข้าใจในการจัดตั้งศูนย์อาเซียน-จีน และบันทึกความตกลงว่าด้วยการจัดสรรค์งบประมาณสร้างสะพานระหว่างประเทศเชื่อมเหนือสู่ใต้ ประเทศจีนสู่ประเทศไทยเพื่อพัฒนาลุ่มแม่น้ำโขงเป็นต้น
บ่ายวันเดียวกัน การประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 15 และการประชุมระหว่างผู้นำอาเซียนและประเทศคู่เจรจาได้ปิดฉากลงด้วยความสำเร็จ ผู้นำประเทศอาเซียนต่างพึงพอใจผลการประชุมครั้งนี้ โดยมีความก้าวหน้าด้านความร่วมมือหลายด้าน นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีได้กล่าวคำปราศรัยในพิธีปิดการประชุม
|