ประการที่สาม แสดงความต้องการของตนออกมา
เรื่องที่ทำให้เรากลุ้มใจ หงุดหงิดในระหว่างการทำงานคือ เจ้านายไม่เข้าใจหรือไม่สำนึกถึงความต้องการของเรา เมื่อมีความเห็นที่แตกต่างกันกับเจ้านาย คนเราส่วนใหญ่มักหยุดและไม่ยอมพูดออกมา เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาขึ้น เพราะกลัวว่าการแสดงความเห็นของตนออกมาจะทำลายความสัมพันธ์กับเจ้านาย และทำลายผลประโยชน์ของตัวเอง แต่การอดทนก็ไม่ใช่วิธีการที่ดีเช่นกัน นายแพทริก อามาร์ นักจิตวิทยาฝรั่งเศสเน้นว่า ถ้าจำเป็น ก็ควรแสดงความเห็นของตนออกมาโดยตรง ทำเช่นนี้จะช่วยแก้ไขปัญหาได้แน่นอน อย่าให้การอดทนแรงดันเป็นความเคยชินจนลืมไปว่า ตัวเองก็มีความต้องการเช่นกัน เราควรสนใจความรู้สึกของตน เมื่อรู้สึกปวดหัว หงุดหงิด คลื่นไส้ ไม่เจริญอาหารหรือรับประทานอาหารมากเกินไป ก็แสดงว่า อาจถึงเวลาต้องคุยกับเจ้านายบ้างแล้ว
ประการที่สี่ ไม่ใส่อารมณ์มากเกินไปในที่ทำงาน
เรามักคิดว่า ทุ่มเทไปเท่าไร จะต้องได้รับการตอบแทนที่เท่ากันกลับมา ดังนั้น เมื่อทุ่มเทกำลังในการทำงานเท่าไร ก็เชื่อว่า น่าจะได้รับสิ่งตอบแทนที่ตั้งไว้เท่านั้น แต่ความคิดเช่นนี้ไม่ถูกต้อง เจ้านายไม่ใช่พ่อแม่ของเรา อย่าหวังว่า เจ้านายจะดูแลเราแบบพ่อแม่
ประการที่ห้า เมื่อผลประโยชน์ของบริษัทกับของตนเองเกิดความขัดแย้งกัน บางคนได้แต่บ่น หงุดหงิด อารมณ์เสีย กระทั่งมีอาการไม่สบาย แต่ไม่ทำอะไรให้ดีขึ้นมา การหลีกเลี่ยงไม่ใช้หนทางแก้ไขปัญหา เราทุกคนควรรับผิดชอบต่ออารมณ์ของตนเอง ดังนั้น ควรใช้ท่าทีที่แข็งขัน พยายามปรึกษาและแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นกับคนอื่น เพื่อจะได้แก้ไขปัญหาโดยเร็ว
กลุ่มคนประเภทใดมีความสุขมากที่สุด
ผลการสำรวจปรากฎว่า ข้าราชการมีความสุขมาก เพราะว่ามีแรงกดดันจากการทำงานน้อยกว่ากลุ่มคนอื่นๆ
ในช่วง 30 กว่าปีมานี้ ผู้ชายมีความสุขมากกว่าผู้หญิง เพราะว่าผู้ชายเริ่มลดงานให้น้อยลงเรื่อยๆ และพยายามใช้ชีวิตอย่างมีความสนุกสนานมากขึ้น ส่วนผู้หญิงจำนวนมากเข้าสู่สังคมมากขึ้น ทำงานไม่แพ้ผู้ชาย แต่ยังต้องดูแลครอบครัวด้วย ดังนั้น จึงต้องทำงานหนักกว่าผู้ชาย และผู้หญิงที่มีลูกมีความสุขมากกว่าผู้หญิงที่ไม่มีลูก
1 2
|