China Radio International
ข่าวภายใน
    ประเทศ
ข่าวต่างประเทศ
 ข่าวการเมืองและ
 การต่างประเทศ
 ข่าวเศรษฐกิจ
 ข่าววัฒนธรรม

 ข่าววิทยาศาสตร์
  เทคโนโลยี่

 ข่าวกีฬา
 ข่าวอื่น
วันที่ 13 พฤศจิกายน ปี ค.ศ.2009
อ่านต่อ>>

จีนปัจจุบัน

เศรษฐกิจ

พาเที่ยวจีน

วัฒนธรรม

ชนชาติส่วนน้อย

การเมือง
(GMT+08:00) 2009-11-04 18:55:02    
ประธานาธิบดีสาธารณรัฐเช็กลงนามในสนธิสัญญาลิสบอน กระบวนการความเป็นหนึ่งเดียวของยุโรปเริ่มขึ้นใหม่

cri

เมื่อวันที่ ๓ พฤศจิกายนที่ผ่านมา นายวาคลาฟ เคลาส์ประธานาธิบดีสาธารณรัฐเช็กลงนามในสนธิสัญญาลิสบอน จนถึงขณะนี้ ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปทั้งหมด 27 ประเทศได้เสร็จสิ้นขั้นตอนการอนุมัติสนธิสัญญาลิสบอน ทำให้สนธิสัญญฉบับนี้มีความเป็นไปได้ที่จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ ๑ ธันวาคมนี้ กระบวนการความเป็นหนึ่งเดียวของยุโรปได้เริ่มขึ้นใหม่

เมื่อเดือนธันวาคมปี ๒๐๐๗ ผู้นำ ๒๗ ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปลงนามในสนธิสัญญาลิสบอน ที่โปรตุเกส ซึ่งมีเป้าหมายจะใช้สนธิสัญญาฉบับนี้แทนกฎบัตรสหภาพยุโรป ตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ สนธิสัญญาลิสบอนจะต้องยื่นให้ประเทศสมาชิกต่างๆ ของสหภาพยุโรปพิจารณาตรวจสอบก่อน หลังสนธิสัญญาฉบับนี้ได้รับอนุมัติจากประเทศสมาชิกทั้งหมด จะมีผลบังคับใช้ในเดือนมกราคมปี ๒๐๐๙ ทว่า กระบวนการอนุมัติสนธิสัญญาไม่ราบรื่น เมื่อเดือนมิถุนายนปี ๒๐๐๘ ผลการหยั่งเสียงประชามติของประเทศไอร์แลนด์ปรากฎว่า ชาวไอร์แลนด์ปฏิเสธสนธิสัญญาลิสบอน ประธานาธิบดีเยอรมนีและโปแลนด์ไม่ได้ลงนามในสนธิสัญญานี้ ทั้งๆ ที่รัฐสภาของสองประเทศนี้ได้อนุมัติสนธิสัญญานี้ นายวาคลาฟ เคลาส์ประธานาธิบดีสาธารณรัฐเช็ก ผู้ซึ่งมีข้อสงสัยต่อสหภาพยุโรปมากแสดงความเห็นอย่างเปิดเผยว่า สนับสนุนผลการหยั่งเสียงประชามติของไอร์แลนด์ ช่วงเวลานั้น เมฆหมอกของวิกฤติการร่างธรรมนูญสหภาพยุโรปจึงปกคลุมสหภาพยุโรปอีกครั้ง

หลังจากสหภาพยุโรปให้การรับรองหลายๆ อย่างต่อประเทศไอร์แลนด์ การหยั่งเสียงประชามติครั้งที่ ๒ ของไอร์แลนด์ที่จัดขึ้นเมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมานี้จึงเห็นชอบสนธิสัญญาลิสบอน ซึ่งได้ขจัดอุปสรรคที่ใหญ่ที่สุดต่อการมีผลบังคับใช้ของสนธิสัญญานี้ออกไป ต่อมา ประธานาธิบดีโปแลนด์ที่เคยกล่าวว่า จะดูผลการหยั่งเสียงประชามติของประเทศไอร์แลนด์ก่อน แล้วค่อยตัดสินใจว่าจะเห็นชอบหรือไม่ ก็ได้เห็นชอบโดยลงนามในสนธิสัญญาแล้ว ทำให้สาธารณรัฐเช็กกลายเป็นประเทศแต่เพียงหนึ่งเดียวที่ยังไม่เสร็จสิ้นกระบวนการอนุมัติสนธิสัญญานี้ นายวาคลาฟ เคลาส์ประธานาธิบดีสาธารณรัฐเช็กที่มีท่าทีแข็งกร้าวตั้งเงื่อนไขว่า สหภาพยุโรปต้องรับรองสิทธิการยกเว้นของสาธารณรัฐเช็กในการปฏิบัติตามกฎบัตรว่าด้วยสิทธิขั้นพื้นฐานของสหภาพยุโรป เพื่อประกันให้กฎหมายเบเนสเกี่ยวกับการริบทรัพย์ชาวเยอรมันหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ มีผลบังคับใช้ต่อไป หลีกเลี่ยงไม่ให้ผลประโยชน์ของบ้านเมืองและประชาชนได้รับความเสียหาย ต่อมา ประชุมสุดยอดของสหภาพยุโรปที่จัดขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้ ได้ยอมรับเงื่อนไขดังกล่าวของสาธาณรัฐเช็ก

นาย เจอร์ซี บูเซกประธานรัฐสภายุโรปกล่าวว่า นี่เป็นข่าวดีมาก สหภาพยุโรปรอคอยข่าวนี้มานานมากแล้ว ส่วนนายเฟรดริก เรย์นเฟลต์ นายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐเช็กกล่าวว่า ขอบคุณนายวาคลาฟ เคลาส์ประธานาธิบดีสาธารณรัฐเช็กเป็นอย่างยิ่งที่ได้ลงนามในสนธิสัญญาลิสบอนในที่สุด นี่เท่ากับเป็นการส่งสัญญาณให้ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปทราบว่า สาธารณรัฐเช็กยังคงเป็นหุ้นส่วนที่น่าเชื่อถือ

มีความเป็นไปได้ที่สนธิสัญญาลิสบอนจะมีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการในวันที่ ๑ ธันวาคมนี้ หน่วยงานจัดตั้งและหน่วยงานบริหารของสหภาพยุโรปจะมีการเปลี่ยนแปลง ๓ ด้านดังนี้ ประการแรก เปลี่ยนจากการให้ประมุขของประเทศประธานหมุนเวียนดำรงตำแหน่งประธานคณะมนตรีสหภาพยุโรป มาเป็นการจัดตั้งประธานประจำของคณะมนตรีสหภาพยุโรป หรือมีชื่อเรียกว่า ประธานาธิบดีสหภาพยุโรป ซึ่งจะเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ บนเวทีระหว่างประเทศในนามสหภาพยุโรป ประการที่ ๒ รวมตำแหน่งของผู้แทนที่รับผิดชอบนโยบายการทูตและความมั่นคงของคณะมนตรีสหภาพยุโรป กับกรรมการที่รับผิดชอบกิจการทางการทูตของคณะกรรมการสหภาพยุโรปเข้าด้วยกันให้เป็นตำแหน่งเดียว คือผู้แทนระดับสูงที่รับผิดชอบนโยบายการทูตและความมั่นคงของสหภาพยุโรป ซึ่งมีภาระหน้าที่คล้ายกับรัฐมนตรีต่างประเทศ ประการที่ ๓ นโยบายในหลายๆ ด้านที่เดิมต้องให้ประเทศสมาชิกทั้งหมดเห็นชอบจึงจะผ่านได้นั้น จะสามารถผ่านได้เมื่อประเทศสมาชิกส่วนใหญ่ให้ความเห็นชอบ ทั้งนี้เพื่อหลีกเลี่ยงกรณีนโยบายบางเรื่องไม่สามารถผ่านได้เพียงเพราะประเทศเดียวคัดค้าน และจะเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินการให้สูงขึ้น

(cai)