China Radio International
ข่าวภายใน
    ประเทศ
ข่าวต่างประเทศ
 ข่าวการเมืองและ
 การต่างประเทศ
 ข่าวเศรษฐกิจ
 ข่าววัฒนธรรม

 ข่าววิทยาศาสตร์
  เทคโนโลยี่

 ข่าวกีฬา
 ข่าวอื่น
วันที่ 13 พฤศจิกายน ปี ค.ศ.2009
อ่านต่อ>>

จีนปัจจุบัน

เศรษฐกิจ

พาเที่ยวจีน

วัฒนธรรม

ชนชาติส่วนน้อย

การเมือง
(GMT+08:00) 2009-11-06 18:02:24    
สหรัฐอเมริกาใช้นโยบาย "แครอทใหม่" และไม้เรียวต่อพม่า

cri

ผู้สื่อข่าวซีอาร์ไอรายงานว่า เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายนที่ผ่านมา นายสก๊อต มาร์เซียล (Scot Marciel) เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำอาเซียนกล่าวที่กรุงเทพฯ ว่า แม้ว่ารัฐบาลสหรัฐอเมริกาเริ่มใช้นโยบายติดต่อกับพม่า แต่ก่อนที่ "การปฏิรูปประชาธิปไตย" ของรัฐบาลพม่าจะมีความก้าวหน้านั้น รัฐบาลสหรัฐอเมริกาจะไม่ยกเลิกการคว่ำบาตรพม่า เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายนนี้ นายมาร์เซียล กับนายเคิร์ต แคมป์เบล (Kurt Campbell) ผู้ช่วยรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐอเมริกา ฝ่ายกิจการพิเศษภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก ได้สิ้นสุดการเยือนพม่า นับเป็นครั้งแรกที่เจ้าหน้าที่ระดับสูงของสหรัฐอเมริกาเยือนพม่าในรอบ 14 ปีที่ผ่านมา นักวิเคราะห์เห็นว่า รัฐบาลโอบามากำลังปรับปรุงนโยบายต่อพม่า โดยใช้นโยบาย "แครอทใหม่" และไม้เรียวต่อพม่า หรือเทียบได้กับการใช้นโยบายที่มีทั้งการให้รางวัลและการลงโทษนั่นเอง

ในระหว่างการเยือนครั้งนี้ นายแคมป์เบลได้พบปะกับพล.อ.เต็งเส่ง ( Thein Sein) นายกรัฐมนตรีพม่าที่กรุงเนย์ปีดอ (Nay Pyi Taw) และพบปะกับนางออง ซาน ซู จี (Aung San Suu kyi) ผู้นำพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตยพม่า ที่กำลังถูกกักบริเวณอยู่เมืองย่างกุ้ง นอกจากนี้ นายแคมป์เบลยังได้พบปะกับพลจัตวาจอส่าน (Kyaw Hsan) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงข่าวสารพม่า และผู้นำชนชาติส่วนน้อยต่างๆ รวมทั้งผู้นำพรรคการเมืองต่างๆ เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายนนี้ ก่อนการเดินทางออกจากพม่า เขากล่าวว่า สหรัฐอเมริกากำลังจะปรับปรุงความสัมพันธ์กับพม่าอย่างมีขั้นตอน ขณะเดียวกันเขาเน้นว่า กระบวนการปรับปรุงนี้ต้องอาศัยความพยายามที่แท้จริงในระดับเดียวกันของพม่า

นักวิเคราะห์เห็นว่า การเยือนของนายแคมป์เบลครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะส่งเสริมการพูดคุยโดยตรงระหว่างสองฝ่าย เพื่อดำเนินนโยบายใหม่ของรัฐบาลโอบามาที่ว่าจะมีการติดต่ออย่างมุ่งผลที่เป็นจริง ส่วนรัฐบาลพม่าที่ให้การต้อนรับนายแคมป์เบลในระดับสูง และตอบสนองการเรียกร้องบางอย่างของสหรัฐอเมริกานั้น ก็เป็นการแสดงความสนิทกับสหรัฐอเมริกา สองฝ่ายมีแผนที่จะติดต่อกันอย่างระมัดระวังเพื่อเรียนรู้ซึ่งกันและกัน

สำหรับสหรัฐอเมริกาแล้ว การโดดเดี่ยวและการคว่ำบาตรพม่าไม่ได้รับผลตามที่คาด หากยังทำให้อิทธิพลของสหรัฐอเมริกาที่มีต่อพม่านับวันลดน้อยลง ดังนั้น นางฮิลลารี คลินตัน รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐอเมริกาจึงได้กล่าวเมื่อเดือนกันยายนนี้ว่า รัฐบาลโอบามาได้ปรับปรุงนโยบายโดดเดี่ยวและการคว่ำบาตรพม่า โดยจะใช้นโยบายทั้งคว่ำบาตรและติดต่อ อีกด้านหนึ่ง หลายปีมานี้ เขตเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ไม่ใช่เขตสำคัญทางการทูตของสหรัฐอเมรกิา นายจิม เว็บบ์ (Jim Webb) สมาชิกวุฒิสภาสหรัฐอเมริกากล่าวขณะเยือน 5 ประเทศเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งรวมพม่าด้วยเมื่อเดือนสิงหาคมนี้ว่า การเยือนของเขามีวัตถุประสงค์ที่จะ "แสวงหาโอกาสเพื่อส่งเสริมผลประโยชน์ของสหรัฐอเมริกาในเขตนี้รวมทั้งพม่า" เพราะ "มีความสำคัญอย่างยิ่งที่จะต้องติดต่อกับเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ใหม่ในระดับต่างๆ"

มองจากคำพูดของเจ้าหน้าที่สหรัฐอเมริกาแล้ว นโยบายใหม่ของสหรัฐอเมริกามีความหมาย 3 ชั้น ได้แก่ หนึ่ง ให้ความสำคัญทั้งการติดต่อและการคว่ำบาตร สอง การติดต่อต้องมีผลเป็นจริง และสาม กระบวนการการติดต่อจะดำเนินการในระยะยาว ค่อยเป็นค่อยไปและมีขั้นตอน

ส่วนพม่า ปรารถนาที่จะปรับปรุงความสัมพันธ์กับสหรัฐอเมริกา ส่งเสริมให้สหรัฐอเมริกายกเลิกการคว่ำบาตรด้านการเมืองและเศรษฐกิจที่มีต่อพม่า เพื่อให้มีการพัฒนากว้างขึ้นในโลก และปรับปรุงชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน นอกจากนี้แล้ว พม่าได้ผ่านรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เมื่อปีที่แล้ว และจะจัดการเลือกตั้งทั่วไปในปีหน้า รัฐบาลพม่าหวังว่า ประเทศตะวันตกจะยอมรับความชอบด้วยกฎหมายของการเลือกตั้งครั้งนี้ ดังนั้น พล.อ.เต็งเส่ง นายกรัฐมนตรีพม่า กล่าวบรรยายในที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติว่า การคว่ำบาตรไม่เพียงแต่ขัดขวางการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของพม่า หากยังเป็นการแทรกแซงกิจการภายในของพม่าด้วย การคว่ำบาตรไม่ใช่วิถีทางที่ชอบด้วยกฎหมายในการส่งเสริมสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตย

Zhou/Ldan