China Radio International
ข่าวภายใน
    ประเทศ
ข่าวต่างประเทศ
 ข่าวการเมืองและ
 การต่างประเทศ
 ข่าวเศรษฐกิจ
 ข่าววัฒนธรรม

 ข่าววิทยาศาสตร์
  เทคโนโลยี่

 ข่าวกีฬา
 ข่าวอื่น
วันที่ 13 พฤศจิกายน ปี ค.ศ.2009
อ่านต่อ>>

จีนปัจจุบัน

เศรษฐกิจ

พาเที่ยวจีน

วัฒนธรรม

ชนชาติส่วนน้อย

การเมือง
(GMT+08:00) 2009-11-11 18:48:17    
การประชุมผู้นำเอเปคที่ไม่เป็นทางการจะผลักดันสมาชิกต่างๆกระชับความร่วมมือก้าวพ้นจากวิกฤติ

cri

ระหว่างวันที่ 14-15 พฤศจิกายนนี้ การประชุมผู้นำเอเปคที่ไม่เป็นทางการครั้งที่ 17 จะจัดขึ้นที่ประเทศสิงคโปร์

ด้วยการพัฒนา 20 ปี เอเปคกลายเป็นองค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่สมบูรณ์ที่สุดและมีระดับสูงสุดในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ศาสตรจารย์ซู เฮ่า ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเอเชีย-แปซิฟิกสถาบันต่างประเทศจีนเห็นว่า บรรดาสมาชิกเอเปค มีประเทศพัฒนาที่สุดเช่นสหรัฐฯและญี่ปุ่น มีประเทศใหญ่ที่เศรษฐกิจพัฒนาอย่างรวดเร็วเช่นประเทศจีน รวมทั้งยังมีประเทศที่ไม่พัฒนาบ้าง รอบ 20 ปีที่ผ่านมา ผลงานยิ่งใหญ่ที่สุดของเอเปคก็คือ ประสานและรวบรวมประเทศที่มีระดับการพัฒนาไม่เท่ากันมาไว้ด้วยกัน เพื่อส่งเสริมการกลมกลืนกันของเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก เขากล่าวว่า

"ผลงานที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคือ รวมตัวประเทศในแพนแปซิฟิกและรอบแปซิฟิกให้อยู่ในเวทีเดียวกัน เพื่อดำเนินการหารือและแลกเปลี่ยนกันด้านความร่วมมือทางเศรษฐกิจ จัดการโครงการอย่างเป็นรูปธรรม เนื่องจากเป็นองค์กรความร่วมมือภายใต้กรอบเดียวกันที่สมาชิกมีระดับการพัฒนาเศรษฐกิจต่างกัน ทำให้สามารถอำนวยความสะดวกแก่ประเทศพัฒนาและประเทศกำลังพัฒนา ให้มีโอกาสร่วมมือกัน และมีตลาดมากขึ้น"

ช่วงจัดการประชุมผู้นำเอเปคฯ ทั่วโลกกำลังเผชิญกับแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก แต่ยังคงเผชิญกับการท้าทายมากมาย ทำอย่างไรจึงจะส่งเสริมเศรษฐกิจให้พัฒนาอย่างต่อเนื่อง พ้นจากวิกฤตอย่างแท้จริง บรรลุการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จึงเป็นประเด็นที่น่าสนใจของสมาชิกเอเปคต่างๆ แหล่งข่าวแจ้งว่า การประชุมครั้งนี้ จะพิจารณาประเด็นการรักษาการเติบโตทางเศรษฐกิจและการกระชับความร่วมมือส่วนภูมิภาค เป็นต้น ศาสตรจารย์ซู เฮ่าเห็นว่า ปัจจุบัน การพัฒนาเศรษฐกิจภายในเอเปคยังคงมีปัญหาบ้าง เช่น การกีดกันทางการค้าก็เป็นอุปสรรคในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ การประชุมครั้งนี้ จะเจรจาปัญหาดังกล่าวเป็นสำคัญ เขากล่าวว่า

"ความเป็นจริง ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกมีปัญหาอยู่บ้าง เช่น ประเทศพัฒนามีการกีดกันทางการค้าต่อประเทศกำลังพัฒนา โดยเฉพาะมีต่อประเทศจีน ทั้งนี้ไม่สอดคล้องกับหลักการความร่วมมือทางการค้าในเอเปค ในที่ประชุมครั้งนี้ อาจจะถือการคัดค้านลัทธิกีดกันทางการค้าเป็นประเด็นสำคัญ เพื่อจำกัดไม่ให้บางประเทศใช้การกีดกันทางการค้า"

ปัญหาการปฏิรูปและสร้างกลไก เป็นการท้าทายอีกอย่างหนึ่งของเอเปคในหลายปีมานี้ ปีหลังๆนี้ มีผู้เสนอว่า ระบบเอเปคไม่หละหลวมแน่นแฟ้น ควรพัฒนากลไก ตลอดจนมีผู้เสนอให้สร้างเอเปคจากเวทีความร่วมมือทางเศรษฐกิจไปสู่องค์การทางการเมืองและมีกฎข้อบังคับ ศาสตรจารย์ซู เฮ่า เห็นว่า การปฏิรูปกลไกเอเปคควรปฏิบัติตามหลักการค่อยเป็นค่อยไป ปัจจุบัน องค์การดังกล่าวยังคงเหมาะสมต่อการเป็นเวทีหารือและแลกเปลี่ยนทางเศรษฐกิจมากกว่า

ผิง