การประชุมพุทธศาสนาโลกครั้งที่ 2
"โลกกลมกลืน พรหมลิขิตอยู่ร่วมกัน" การประชุมพุทธศาสนาโลกครั้งที่ ๒ จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 28 มีนาคม ถึง 1 เมษายน ณ เมือง อู๋ซี มณฑลเจียงซู และ เมืองไทเป ไต้หวัน สาธารณรัฐประชาชนจีน ติดตามฟังการถ่ายทอดสดพิธีเปิดการประชุมครั้งนี้ในวันนี้ (๒๘ มีนาคม) เวลา 08:50 น --- 10:00 น ทางซีอาร์ไอภาคภาษาไทย https://thai.cri.cn/ เมตตาธรรมค้ำจุนโลกา
อินทนิล - สวัสดีค่ะท่านผู้ฟังคะ วันนี้ สถานีวิทยุซีอาร์ไอ ภาคภาษาไทย ออกอากาศเป็นกรณีพิเศษ เพื่อถ่ายทอดเสียงพิธีเปิดการประชุมพุทธศาสนาโลก ครั้งที่ 2 ณ ศาลาฝานกง วัดหลิงซาน เมืองอู๋ซี มณฑลเจียงซู สาธารณรัฐประชาชนจีน โดยดิฉันอินทนิล ปลดเปลื้อง และคุณหลี หมิ่น หรือชื่อไทย คุณมิ่งขวัญ หลี่ รวมทั้งทีมงานภาคภาษาไทย ซีอาร์ไอ ขณะนี้เราอยู่กันที่ศาลาฝานกง วัดหลิงซาน จะทำหน้าที่ถ่ายทอดเสียงให้ทานผู้ฟังได้ฟัง สวัสดีค่ะคุณมิ่งขวัญคะ
มิ่งขวัญ - สวัสดีค่ะคุณอินทนิล สวัสดีค่ะท่านผู้ฟัง
การประชุมพุทธศาสนาโลกครั้งที่ 2 จัดขึ้นโดย องค์กรทางพุทธศาสนาของจีน ๔ องค์กรคะ คือ สมาคมพุทธศาสนาจีน มูลนิธิแสงพุทธธรรมสากล สหพันธ์พุทธศาสนาฮ่องกง และสมาคมแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมและศาสนาจีนระหว่างวันนี้ถึงวันที่ 1 เมษายน โดยแบ่งการประชุมออกเป็น 2 ช่วงคะ ช่วงแรก วันที่ 2829 มีนาคมที่วิหารฝานกง ซึ่งอีกไม่กี่นาทีข้างหน้านี้จะมีพิธีเปิดการประชุม และผู้เข้าร่วมประชุมจะขึ้นกล่าวต่อที่ประชุมคะ วันพรุ่งนี้ จะมีการประชุมกลุ่มย่อย ในประเด็นต่างๆ หลังจากนั้น วันที่ ๓๐ มีนาคมจะพักการประชุม เพื่อให้ผู้เข้าร่วมการประชุมโดยสารเครื่องบินจากเมืองนานจิงสู่ไทเป ใต้หวันคะ เพื่อประชุมช่วงสองกันที่นั่น ระหว่างวันที่ ๓๑ มีนาคมถึงวันที่ ๑ เมษายนรวมถึงพิธีปิดการประชุมที่นั่นด้วยคะ
อินทนิล ในส่วนที่ผู้ที่เข้าร่วมการประชุมครั้งนี้ ก็ปรากฎว่า มีบุคคลกว่า 1700 คน จาก ๕๐ ประเทศและเขตแคว้น ซึ่งมีทั้งพระภิกษุ พระภิกษุนี อุบาสก อุบาสิกา นักวิชาการ นักธุรกิจ นักการเมือง ศิลปิน ตลอดจนผู้สนใจในแวดวงพุทธศาสนานะคะ ซึ่งขณะนี้ ทุกๆ ท่านได้มาพร้อมกันอยู่ที่บริเวณวิหารฝานกงที่มีหอประชุมขนาดใหญ่ ในอีกไม่กีวินาทีข้างหน้านี้ พิธีเปิดการประชุมก็จะเริ่มขึ้น ในขณะนี้ ขอเล่าบรรยากาศในหอประชุมให้ท่านผู้ฟังได้ทราบนะคะ หลังจากที่ก่อนหน้านี้ มีการจัดแสดงซิมโปนี่เพลงทางพุทธศาสนา ซึ่งถือได้ว่า เป็นการยิ่งใหญ่อลังการมากๆ และในขณะนี้ กำลังจัดฉายวิดีทัศน์ นำเสนอถึงความเป็นมาของวัดหลิงกวางคะ ซึ่งก็มีพระพุทธรูปที่มีความสูงถึง ๘๘ เมตร ท่านผู้ฟังหลายๆ ท่านก็อาจจะได้เคยทราบเรื่องนี้ และได้เคยเดินทางมากราบนมัสการมาแล้วคะ สำหรับวัตถุประสงค์ในการจัดประชุมครั้งนี้ ก็เพื่อเสริมสร้างสันติภาพ เอกภาพ ความสามัคคี ร่วมมือร่วมใจกันโดยเปิดเวทีอภิปรายถึงบทบาทของพระพุทธศาสนาในการแก้ไขปัญหาสำคัญๆ ที่มวลมนุษย์ในยุคปัจจุบันกำลังเผชิญกันอยู่ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสงคราม การปะทะ ความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงของดินฟ้าอากาศ เรื่องของวิกฤตเศรษฐกิจที่ส่อเค้ารุนแรงมากๆ โดยประเด็นหลักของการประชุมครั้งนี้คือ โลกกลมกลืน พรหมลิขิตอยู่ร่วมกัน เพื่อได้มาซึ่งโลกกลมกลืน พรหมลิขิตอยู่ร่วมกัน ในที่ประชุมคราวนี้ ก็จะมีการแบ่งกลุ่มย่อยเพื่อหารือประเด็นย่อยๆ ถึง ๑๗ ประเด็นด้วยกัน
มิ่งขวัญ - การประชุมพุทธศาสนาโลกครั้งที่ ๒ แบ่งประเด็นย่อยทั้งหมด ๑๗ ประเด็น อาทิ พุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์ พุทธศาสนากับการดำเนินธุรกิจ ชนชาติกับการเผยแผ่พุทธศาสนา และประเด็นที่นาสนใจอีกหลายๆ ประเด็น ขณะนี้ ใกล้ถึงเวลาจัดพิธีเปิดประชุมแล้วคะ ดิฉันจะถือโอกาสนี้ขอเล่าให้ท่านผู้ฟังได้ทราบถึงกำหนเการพิธีเปิดการประชุมครั้งนี้ ดังนี้คะ คือพิธีจะเริ่มจากพระมหาเถระอีเฉิง นายกสมาคมพุทศาสนาจีน พระมหาเถระซิงหยุน ประธานมูลนิธิแสงพุทธรรมสากล และพระมหาเถระจั๋วกวง ประธานสมาพันธ์พุทธศาสนาฮ่องกงร่วมกันจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย จากนั้น บุคคลสำคัญจากองค์กรเจ้าภาพจัดการประชุมซึ่งประกอบด้วยพระมหาเถระอีเฉิง พระมหาซิงหยุน และพระมหาเถระจั๋วกวง คุณเย่ เสี่ยวเหวิน อธิบดีกรมศาสนากิจจีน คุณจัง เหลียนเจิน ประธานสภาปรึกษาการเมืองมณฑลเจียงซู และนายหยัง เว่ยเจื๋อ เลขาธิการคณะกรรมการพรรคคอมมิวนิสต์จีนประจำเมืองอู๋ซี ร่วมกันประกอบพิธีเปิดการประชุมพุทธศาสนาโลกครั้งที่ 2
อินทนิล ลำดับต่อจากนั้น พระมหาเถระอีเฉิง นายกสมาคมพุทธศาสนาจีนจะขึ้นกล่าวคำปราศรัย ต่อด้วยพระมหาเถระซิงหยุน ผู้ก่อตั้งมูลนิธิแสงพุทธธรรมสากล อล้วก็ อีกท่านหนึ่งที่จะขึ้นกล่าวคำปราศรัยคือ พระมหาเถระจั๋วกวง ประธานสมาพันธ์พุทธศาสนาฮ่องกงนะคะ แล้วก็จะมีคณะ บุคคลซึ่งเป็นตัวแทนทางด้านผู้นำประเทศต่างๆ อย่างเช่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศาสนาของศรีลังกาก็จะอ่านสารอวยพรของนายมหินดา ราชภักษา (Mahinda Rajapaksa) ประธานาธิบดีศรีลังกา
ขณะที่จะมีผู้แทนของ นายเควิน รูดด์ ( Kevin Rudd) นายกรัฐมนตรีออสเตรเลียจะกล่าวโดยอ่านสารอวยพรของนาย เควิน รูดด์ ผู้ที่จะกล่าวคือ นายเฮนรี ตัง (Henry Dang) เลขาธิการสมาคมพุทธศาสนาออสเตรเลีย ต่อจากนั้น นายเหลียง เป่าหัว ประธานคณะกรรมการประจำสภาผู้แทนประชาชนมณฑลเจียงซูกล่าวคำปราศรัย ต่อด้วยนายตู้ ชิงหลิน รองประธานสภาปรึกษาการเมืองแห่งชาติจีนจะขึ้นกล่าวคำปราศรัย นี่คือพิธีการในส่วนของพิธีเปิด เมื่อพิธีเปิดเสร็จสิ้นลงแล้ว ก็จะมีพระภิษุ พระภิษุนี และบุคคลในวงการต่างๆ ที่เข้าร่วมการประชุมในคราวนี้ จะขึ้นกล่าวคำปราศรัยต่อที่ประชุม ๕๐ ท่านด้วยกัน ซึ่งประเด็นที่จะกล่าวคำปราศรัยนั้นจะสอดคล้องกับหัวข้อของการประชุมในครั้งนี้ที่บอกว่า โลกกลมกลืน พรหมลิขิตอยู่ร่วมกัน
มิ่งขวัญ -ขณะนี้ พิธีกรกำลังแนะนำ ๔ ฝ่ายที่ร่วมกันจัดการประชุมครั้งนี้
อินทนิล -ซึ่งก็ขอเรียนให้ท่านผู้ฟังได้ทราบว่า ๔ ฝ่ายที่ร่วมในการจัดประชุมครั้งนี้เป็นองค์กรพุทธศาสนาในสาธารณรัฐประชาชนจีนคะ นั่นก็คือ สมาคมพุทธศาสนาจีน
มิ่งขวัญ-คะสมาคมพุทธศาสนาจีนก่อตั้งขึ้นโดยบุคคลที่มีชื่อเสียงในวงการพุทธศาสนาจีนเมื่อเดือนพฤษภาคมปี 1953 นายจ้าว ผู่ชูเป็นนายกสมาคมคนเเรก นายกสมาคมคนปัจจุบันคือพระมหาเถระอี เฉิง
อินทนิล -ตะ นอกจากสมาคมพุทธศาสนาจีน องค์กรที่ ๒ ก็คือ สมาคมแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมศาสนาจีนคะ
มิ่งขวัญ- สมาคมแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมศาสนาจีนเป็นองค์กรที่ประกอบด้วยชาวจีนโพ้นทะเลเเละชาวต่างชาติเชื้อสายจีน จากเเผ่นดินใหญ่จีน ฮ่องกง มาเก๊า องค์กรนี้มีสมาชิกทั่วประเทศ
อินทนิล -แล้วก็ มูลนิธิแสงพุทธธรรมสากลไต้หวัน แล้วอีกองค์กรหนึ่งก็คือ สมาพันธ์พุทธศาสนาฮ่องกงคะ ท่านผู้ฟังคะ ขณะนี้ บริเวณด้านหน้าของหอประชุมบนเวที ผู้นำสงฆ์จากองค์กรทางศาสนาทั้ง๔ องค์กรจะร่วมกันบูชาพระรัตนตรัย แล้วก็ในขณะพระภิษุสงฆ์ พระภิษุนี อุบาสก อุบาสิกา ร่วมทั้งผู้เข้าร่วมประชุมทุกคนต่างก็ตั้งจิตแน่วแน่ เพื่อร่วมแรงร่วมใจกัน ส่งความปรารถนาดี บูชาคุณพระรัตนตรัย เพื่อขอพรให้การประชุมในครั้งนี้ประสบความสำเร็จ บรรลุสมดังวัตถุประสงค์ที่มุ่งหวังตั้งใจ คือ ต้องการให้โลกเกิดสันติสุข โลกใรความสงบสุข อย่างถาวร ประชาชนทุกคนมีความสุข โดยภายใต้หลักธรรมคำสอนของพระพุทธองค์นะคะ ขณะนี้ ที่บนเวทีพระภิษุสงฆ์ พระเถรานุเถระ ซึ่งจะประกอบพิธีในการบูชาพระรัตนตรัย ซึ่งถือได้ว่าเป็นพิธีที่สำคัญที่สุดสำหรับการเปิดการประชุมพุทธศาสนาโลกในครั้งนี้
มิ่งขวัญ - ลำดับต่อไป ผู้แทนฝ่ายจัดการประชุมคราวนี้ได้เดินขึ้นสู่เวที และจะร่วมในพิธีเปิด ซึ่งก็ประกอบไปด้วยนายเย่เสี่ยวเฝิน อธิบดีกรมศานกิจแห่งชาติจีน นางจางเหลียนเจิน ประธานสภาปรึกษาการเมืองมณฑลเจียงซู และนายหยางเว่ยเจ๋อ เลขาธิการคณะกรรมการพรรคคอมมิวนิสต์เมืองอู๋ซี
ขณะนี้ พระมหาเถระอีเฉิง นายกสมาคมพุทศาสนาจีนกำลังจะกล่าวคำปราศรัยอวพรคะ ท่านกล่าวว่า พระเถรานุเถระ แขกผู้มีเกียรติทั้งหลาย
พิธีเปิดการประชุมพุทธศาสนาโลกครั้งที่ 2 ที่เอิกเกริกมโหฬาร เปี่ยมไปด้วยบรรยากาศสิริมงคล การประชุมนี้จะจัดเป็นเวลา 6 วันที่เมืองอูซีและเมืองไทเป และแบ่งกลุ่มหารือในประเด็นต่างๆถึง 17 ประเด็น และจะจัดนิทรรศการศิลปะวัฒนธรรมทางพุทธศาสนาหลายครั้งด้วย นับเป็นมหกรรมพุทธศาสนาโลก และเป็นโอกาสสำคัญในการเผยแผ่วัฒนธรรมพุทธศาสนา ซึ่งจะทำให้แวดวงพุทธศาสนาของสองฝั่งช่องแคบไต้หวันมาพร้อมหน้ากัน ณ ที่นี่ อาตมภาพรู้สึกปิติยินดีอย่างยิ่ง ขอให้ประชุมครั้งนี้ประสบความสำเร็จ
อินทนิล -ท่านผู้ฟังคะ นี่ก็คือคำกล่าวของพระมหาเถระอีเฉิง นายกสมาคมพุทศาสนาจีน ท่านก็อวยพรให้การประชุมครั้งนี้ประสบความสำเร็จด้วยดี ในลพดับต่อไปนะคะ ก็จะมีพระมหาเถระซิงหยุน ประธานมูลนิธิแสงพุทธรรมสากลจะขึ้นกล่าวอวยพรต่อการประชุมครั้งนี้
มิ่งขวัญ -- มูลนิธิแสงพุทธธรรมสากลก่อตั้งขึ้นโดยพระมหาเถระ ซิง หยุนเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ปี 1991 เป็นองค์การที่รวมประชาชนที่ เคารพนับถือพุทธศาสนา สมาคมนี้มุ่งให้การศึกษา เผยแพร่วัฒนธรรม ฝึกปฏิบัติตามหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า และให้การบริการศาสนกิจ พระมหาเถระซิง หยุนเป็นประธาน นายอู๋ โป๋โสง เลขาธิการพรรคก๊กมินตั๋ง เป็นประธานกิติมศักดิ์ เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม ปี1992 มูลนิธิแสงพุทธธรรมสากลจัดตั้งสำนักงานใหญ่ที่นครลอสเองเจลิส สหรัฐอเมริกา ปัจจุบันมีสาขาของมูลนิธิฯอยู่ในกว่า 100 ประเทศ อาทิ ประเทศไทย สหรัฐฯ แคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีเเลนด์ ฝรั่งเศส เยอรมนี อังกฤษ เนเธอเเลนด์ สวีเดน นอร์เวย์ ญี่ปุ่น ปราซิล อาเจนตินา เป็นต้น
อินทนิล - บทบาทสำคัญของมูลนิธินี้คือ เผยแผ่พระพุทธศาสนาให้กับผู้ที่สนใจทั่วโลก จะเห็นได้ว่า สาขาของมูลนิธินี้ก่อตั้งอยู่ในประเทศต่างๆ แล้วยังจะมีการก่อตั้งสาขาเพิ่มมากขึ้นอีก ในขณะนี้ พระมหาเถระซิงหยุน ประธานมูลนิธิแสงพุทธรรมสากลกำลังกล่าวคำปราศรัย กล่าวอวยพรต่อการประชุมในครั้งนี้ เมื่อวาน พระอีกองค์หนึ่งซึ่งเป็นผู้แทนของมูลนิธิแสงพุทธรรมสากลกล่าวในการแถลงข่าวว่า ทางไต้หวันได้มีการเตรียมความพร้อมในการประชุมคราวนี้อย่างเต็มที่ รู้สึกอบอุ่นที่ได้ร่วมจัดการประชุมพุทธศาสนาโลกครั้งที่ ๒ ร่วมกันจัดโดยสองฟากฝั่งช่องแคบไต้หวัน ในขณะนี้ ที่บริเวณบนเวทีนั้น ก็ปรากฎว่า พระมหาเถระซิงหยุน ประธานมูลนิธิแสงพุทธรรมสากลกำลังกล่าวคำปราษรัยคะ ท่านกล่าวชื่นชมการเตรียมการประชุมคราวนี้ ของทางเมืองอู๋ซี มณฑลเจียงซู
มิ่งขวัญ -ลำดับต่อไปคือ พระมหาเถระจั๋วกวง ประธานสมาพันธ์พุทธศาสนาฮ่องกงจะกล่าวคำปราศรัยอวยพรในพิธีเปิดการประชุมคะ ท่านกล่าวว่า การประชุมครั้งนี้ได้ตั้งประเด็นหลักที่ดีมาก "โลกกลมกลืน พรหมลิขิตอยู่ร่วมกัน" เป็นการประกาศอย่างหนักแน่นว่า พวกเราได้สืบทอดหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า พวกเราปรารถนาให้โลกมีความกลมกลืน พวกเราร่วมกันสร้างสรรค์โลกสมานฉันท์ ความกลมกลืนสมานฉันท์นั้น เป็นแก่นแท้ในคำสอนของพระพุทธเจ้า เนื่องจากสรรพสัตว์มีพหรมลิขิตอยู่ร่วมกัน จึงอยู่ด้วยกันในโลกใบนี้ พรหมลิขิตทำให้เราได้มาร่วมการประชุม ณ ที่นี้ ซึ่งเป็นเพียงการเริ่มต้นเท่านั้น พรหมลิขิตได้รวบรวมสติปัญญาและความคิดของมวลมนุษย์ ฉะนั้น พวกเราจึงควรสืบสารพรหมลิขิตนี้ต่อไป และนำสิ่งที่ได้ฟัง ได้เรียนรู้และได้หารือกลับไปเผยแพร่ต่อไป นี่เป็นภารกิจของพุทธศาสนิกชน พวกเราต้องทุ่มเทตลอดชีวิต อาตมภาพปรารถนาด้วยความจริงใจว่า การประชุมพุทธศาสนาโลกครั้งที่สองจะทำให้พรหมลิขิตอยู่ร่วมกัน และประสบความสำเร็จอย่างงดงาม
อินทนิล - นี่ก็คือคำกล่าวของพระมหาเถระจั๋วกวง ประธานสมาพันธ์พุทธศาสนาฮ่องกง คุณมิ่งขวัญคะ ในขณะนี้ ที่บริเวณบนเวที ผู้นำสงฆ์จากฮ่องกงของจีนกำลังเดินลงจากเวทีคะ ซึ่งในลำดับต่อจากนี้ไป ก็จะมีผู้แทนของประเทศต่างๆ ที่เข้าร่วมการประชุมขึ้นกล่าวคำปราศรัยต่อ โดยในลำดับต่อไปนะคะ จะเป็นคำกล่าวของผู้แทนของประธานาธิบดีศรีลังกา ท่านที่จะกล่าวในลำดับต่อไปก็คือ นายบันดารานายาเก จักรวาติ พันบันดูกาบายา ดีอัส ( Bandaranaike Chakravathi Panbandukabaya Dias) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศาสนาของศรีลังกา ท่านจะอ่านสารอวยพรของนายมหินดา ราชภักษา (Mahinda Rajapaksa) ประธานาธิบดีศรีลังกา
มิ่งขวัญ - นายบันดารานายาเก จักรวาติ พันบันดูกาบายา ดีอัส ( Bandaranaike Chakravathi Panbandukabaya Dias) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศาสนาของศรีลังกากล่าวว่า
การประชุมพุทธศาสนาโลกครั้งที่ 2 ที่มีประเด็นหลักว่า "โลกกลมกลืน พรหมลิขิตอยู่ร่วมกัน" จะสะท้อนให้เห็นถึงเจตนารมณ์แห่งความกลมกลืนสมานฉันท์ เพื่อแสวงหาสันติภาพและความปรองดองของโลก
วิกฤตต่างๆที่ทั่วโลกกำลังเผชิญอยู่ยิ่งทำให้หลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้ามีความสำคัญมากขึ้น ข้าพเจ้าขอชื่นชมสมาคมพุทธศาสนาจีน สมาพันธ์พุทธศาสนาฮ่องกง มูลนิธิแสงพุทธธรรมสากล และสมาคมแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมศาสนาจีนที่ร่วมกันจัดการประชุมครั้งนี้ขึ้น ข้าพเจ้าขออวยพรให้การประชุมครั้งนี้ประสบความสำเร็จ และเผยแผ่ หลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าสู่มวลมนุษยชาติได้กว้างขวางยิ่งขึ้น
อินทนิล - คะ นี่ก็คือคำอวยพรของนายมหินดา ราชภักษา (Mahinda Rajapaksa) ประธานาธิบดีศรีลังกา ต่อจากนี้ ผู้ที่จะกล่าวคำอวยพรต่อที่ประชุมมาจากประเทศ ออสเตรเลีย
มิ่งขวัญ - คะ นายเฮนรี ตัง (Henry Dang) เลขาธิการสมาคมพุทธศาสนาออสเตรเลียจะขึ้นเวทีอ่านสารอวยพรของนายเควิน รูดด์ ( Kevin Rudd) นายกรัฐมนตรีออสเตรเลีย
อินทนิล -แล้วก็ขอเรียนให้ท่านผู้ฟังได้ทราบว่า ออสเตรเลียก็เป็นประเทศที่เข้าร่วมในการประชุมพุทธศาสนาโลกตั้งแต่การประชุมครั้งแรก คือ เมื่อปี ๒๐๐๖ ปัจจุบัน ชาวออสเตรเลียที่นับถือศาสนาพุทธมีจำนวนมาก อีกทั้งนับวันมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นด้วย
มิ่งขวัญ -คะ นายเฮนรี ตัง (Henry Dang) เลขาธิการสมาคมพุทธศาสนาออสเตรเลียกล่าวว่า
การประชุมพุทธศาสนาโลกครั้งที่ 2 เปิดโอกาสอันมีค่าให้พุทธศาสนิกชนพร้อมหน้ากัน ร่วมกันหารือบทบาทของพุทธศาสนาขณะที่ทั่วโลกกำลังเผชิญกับปัญหาและการท้าทายต่างๆ ที่ออสเตรเลียศาสนาและความเชื่อถืออันหลากหลายอยู่รวมกัน โอบอ้อมอารี
เคารพซึ่งกันและกันทำให้ทุกศาสนาอยู่ร่วมกันอย่างสามัคคี ในฐานะที่เป็นสังคมที่เปิดกว้าง เราสนับสนุนสิทธิประโยชน์ของประชาชนออสเตรเลียในการคุ้มครองวัฒนธรรมและศาสนาของตน องค์การพุทธศาสนาได้ใช้ความพยายามร่วมกันเพื่อเสริมสร้างความเข้าใจระหว่างศาสนาต่างๆ จึงได้รับความเคารพจากสังคมออสเตรเลีย ความเพียรพยายามของสมาคมพุทธศาสนาออสเตรเลียที่มีต่อการประชุมครั้งนี้สะท้อนให้เห็นถึงการทุ่มเทกำลังเพื่อสร้างโลกกลมกลืนสมานฉันท์
อินทนิล - คะ นี่ก็คือใจความในสานอวยพรต่อการประชุมของนายเควิน รูดด์ ( Kevin Rudd) นายกรัฐมนตรีออสเตรเลียโดย นายเฮนรี ตัง (Henry Dang) เลขาธิการสมาคมพุทธศาสนาออสเตรเลียเป็นผู้ขึ้นอ่านสารอวยพรนี้ต่อที่ประชุมคะ ท่านผู้ฟังคะ ขณะนี้ สถานีวิทยุซีอาร์ไอภาคภาษาไทยกำลังถ่ายทอดเสียงพิธีเปิดการประชุมพุทธศาสนาโลกครั้งที่ ๒ ซึ่งเราถ่ายทอดจากหอประชุมวิหารฝานกง วัดหลิงซาน เมืองอู๋ซี มณฑลเจียงซู สาธารณรัฐประชาชนจีนนะคะ ในลำดับต่อไปนะคะ คุณมิ่งขวัญ คือ
มิ่งขวัญ - คะ ลำดับต่อไป นายเหลียง เป่าหัว ประธานคณะกรรมการประจำสภาผู้แทนประชาชนมณฑลเจียงซูกล่าวคำปราศรัย
อินทนิล - ซึ่งขณะนี้ ท่านกำลังกล่าวคำปราศรัยกับที่ประชุมอยู่นะคะ คุณมิ่งขวัญ ในส่วนของนโยบายของรัฐบาลจีน ซึ่งเปิดกว้างให้กับประชาชนจีนในการนับถือศาสนาก็ได้มีการกำหนดไว้เป็นลายลักษณ์อักษรชัดเจนเลยใช่ไหมคะ
มิ่งขวัญ - คะ ประเทศจีนให้อิสรเสรีแก่ผู้ที่นับถือศาสนาอย่างเต็มที่นะคะ รัฐธรรมนูญและกฎหมายจีนระบุไว้อย่างชัดเจนว่า ประชาชมีสิทธิเสรีภาพเต็มที่ในการนับถือศาสนา การปฏิบัติศาสนกิจต้องเป็นไปตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ ตัวบทกฎหมายที่เกี่ยวข้องและนโยบาย ให้ความเสมอภาคเท่าเทียมกันแห่ทุกศาสนา แยกศาสนาออกจากการเมือง รัฐให้การคุ้มครองกับการปฏิบัติศาสนกิจที่ถูกต้องตามกฎหมาย ผู้ที่นับถือศาสนากับผู้ที่ไม่นับถือศาสนาต้องให้ความเคารพซึ่งกันและกัน องค์กรทางศาสนาและการปฏิบัติศาสนกิจจะต้องไม่ถูกบงการโดยกลุ่มอิทธิพลในต่างประเทศ
อินทนิล - นี่ก็คือนโยบายที่ชัดเจนของรัฐบาลจีน คุณมิ่งขวัญคะ ในส่วนของเมืองอู๋ซีซึ่งเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมในครั้งนี้มีการเตรียมความพร้อมมากเลยที่เดียว ขณะนี้ บริเวณด้านหน้าเวที ท่านตู้ ชิงหลิน รองประธานสภาปรึกษาการเมืองแห่งชาติจีนขึ้นกล่าวต่อที่ประชุมคะ
มิ่งขวัญ - คะ ท่านตู้ ชิงหลิน รองประธานสภาปรึกษาการเมืองแห่งชาติจีนล่าวว่า
แขกผู้มีเกียรติ มิตรทั้งหลาย
พระเถรานุเถระ นักวิชาการ และผู้สนใจในพุทธศาสนาจากทั่วโลก มาชุมนุมพร้อมหน้ากัน ณ ริมทะเลสาบไท่หูอันสวยงาม มาหารือเพื่อสร้างความสมานฉันท์ เนื่องในโอกาสอันพิเศษนี้ ข้าพเจ้าขอแสดงความยินดีต่อการเปิดการประชุมพุทธศาสนาโลกครั้งที่สอง และขอต้อนรับแขกผู้มีเกียรติทั้งหลายที่ร่วมการประชุมครั้งนี้
โลกกลมกลืน เริ่มต้นจากจิต การประชุมครั้งแรกมีความยิ่งใหญ่มโหฬาร ปฏิญญาผู่โถซาน ส่งเสริมให้ชาวพุทธทั่วโลกสมความปรารถนาหกประการ ผู้ร่วมการประชุมได้ร่วมกันหารือหลักธรรม เชิดชูแนวคิดสมานฉันท์ สะท้อนให้เห็นถึงความเมตตากรุณาที่ต้องการช่วยสรรพสัตว์ให้พ้นทุกข์ ตลอดจนมนต์เสน่ห์พิเศษของวัฒนธรรมพุทธศาสนา จึงได้รับเสียงตอบสนองอย่างคับคั่ง
โลกกลมกลืน พรหมลิขิตอยู่ร่วมกัน การประชุมครั้งนี้ ทำให้ชาวพุทธทั่วโลกพร้อมหน้ากันที่ภูเขาหลิงซาน วัตถุประสงค์และแนวคิดของการประชุมครั้งนี้สืบเนื่องมาจากครั้งแรก และเป็นการขยายผลของความปรารถาหกประการ สอดคล้องกับพุทธธรรมและกระแสความต้องการของยุคสมัย จึงจะส่งผลอันลึกซึ้งยาวไกล
แนวคิดสันติภาพเกิดจากความร่วมมือ เกิดขึ้นพร้อม ๆ กับการสืบสานและพัฒนาอารยธรรมของสังคมมนุษย์ หลอมรวมอยู่ในประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมประชาชาติจีน
แนวคิดนี้เป็นการให้การยอมรับและเคารพซึ่งกันและกัน มุ่งสู่เป้าหมายที่จิตใจของมนุษย์มีเมตตาต่อกัน มีมุษย์สัมพันธ์ดี สังคมกลมกลืน โลกมีสันติภาพ นอกจากนี้ ยังเป็นการรวมกำลังและความร่วมมือ มีสันติภาพภายใต้ความแตกนต่างกัน โอบอ้อมอารี ให้อภัย มุ่งเป้าหมายเดียวกันภายใต้ความแตกต่างกัน พัฒนาและเจริญรุ่งเรืองร่วมกัน ทั้งนี้เพื่อมุ่งสร้างความดีงามให้กันและกัน และสร้างความดีงามด้วยกัน
เรามีจุดมุ่งหมายเดียวกันจึงมาพร้อมหน้ากันและร่วมมือกันได้ เมื่อต้องเผชิญกับวิกฤตการเงินโลก ความขัดแย้งในสังคม ความแปลกแยกทางวัฒนธรรม และสภาพแวดล้อมที่เลวร้ายลง การยืนหยัดสันติภาพและความร่วมมือ ร่วมกันสร้างสรรค์โลกสมานฉันท์ ต้องถือความผาสุกของประชาชนเป็นเป้าหมาย ชูธงแห่งภารกิจส่งเสริมความก้าวหน้าของมวลมนุษยชาติ สร้างอนาคตเพื่อโลกและสันติภาพที่ดีงามยิ่งขึ้น การได้มาซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วงต้องอาศัยการเคารพความแตกต่าง ปฏิบัติต่อกันอย่างเสมอภาค เพิ่มพูนความเข้าใจด้วยการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น บรรลุความก้าวหน้าร่วมกัน เอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกัน นอกจากนี้ ยังต้องอาศัยความเชื่อถือไว้วางใจ ความเกื้อกูล ร่วมมือกันสร้าวสันติภาพ สร้างวามสมานฉันท์ด้วยการพัฒนา ใช้จิตที่บริสุทธิ์ในการปฏิบัติภารกิจ ร่วมกันแบกรับหน้าที่สร้างโลกสมานฉันท์ ร่วมกันแบ่งปันความสุขจากโลกสมานฉันท์
ประชาชาติจีนรักสันติภาพและส่งเสริมความปรองดอง ประชาชนจีนยืนหยัดสันติภาพ การพัฒนาและความร่วมมือ ดำเนินยุทธศาสนร์ให้ประโยชน์แก่กัน ได้รับชัยชนะร่วมกัน และพัฒนาความร่วมมือกับประเทศต่างๆ ทั่วโลก ร่วมมือกันรับมือกับวิกฤตการเงินโลก มุ่งส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจโลก และความก้าวหน้าของอารยธรรมมวลมนุษยชาติ
จีนกำลังร่วมมือกับประชาชนประเทศต่างๆ ทั่วโลก เพื่อสร้างโลกกลมกลืน ที่มีสันติภาพถาวรและความเจริญรุ่งเรืองร่วมกัน
ศาสนาพุทธเปิดกว้าง พระพุทธเจ้าถือความเท่าเที่ยมกันของสรรพสัตว์ ถือความปรองดองและกลมกลืนเป็นจุดเริ่มต้น พวกเราปรารถนาที่จะให้วงการพุทธศสนาทั่วโลกเชิดชูสันติภาพ ความร่วมมือ และเผยจิตที่เปี่ยมไปด้วยความเมตตา ช่วยกันแก้ปัญหาที่ยากลำบาก ส่งเสริมความสงบสุข ความกลมกลืน ความสมานฉันท์ ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ มนุษย์กัยสังคม มนุษย์กับมนุษย์ และมุ่งสร้างความสงบสุขทางจิต
ขออวยพรให้การประชุมพุทธศาสนาโลกครั้งที่สองประสบผลสำเร็จอันงดงาม และขออวยพรให้มิตรทั้งหลายมีสุขภาพแข็งแรง บังเกิดศิริมงคลนิรันดร
อินทนิล - คะ ตู้ ชิงหลิน รองประธานสภาปรึกษาการเมืองแห่งชาติจีนได้กล่าวต่อที่ประชุม ขณะนี้ ท่านได้เดินลงจากเวที ทักทายกับพระมหาเถระ และบรรดาผู้เข้าร่วมการประชุม ขณะนี้ ถือได้ว่าพิธีเปิดการประชุมพุทธศาสนาโลกครั้งที่ ๒ ส่วนของพิธีการได้สิ้นสุดลงแล้ว ในลำดับต่อไป ก็จะเป็นเวลาที่คณะและบุคคลที่เข้าร่วมการประชุมจะขึ้นกล่าวนำเสนอต่อที่ประชุมอีกประมาณ ๕๐ ท่านด้วยกัน ในโอกาสของการประชุมพุทธศาสนาโลกครั้งที่ ๒ สมเด็จพระพุฒาจารย์ของประเทศไทยมีสาส์นอวยพรถึงที่ประชุมครั้งนี้ ดิฉันขอถือโอกาสนี้อ่านสาส์นฉบับนี้สู่ท่านผู้ฟังคะ ใจความในสารมีว่า
ข้าพเจ้ามีความยินดีอย่างยิ่ง ที่ส่งสาส์นเกี่ยวกับการประชุมชาวพุทธโลก ครั้งที่ ๒ ซึ่งจัดขึ้น ณ เมืองวูสี และไทเป ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ระหว่างวันที่ 28 มีนาคม ถึง วันที่ ๑ เมษายน พุทธศักราช 2552 นี้
พระพุทธเจ้า ทรงอุบัติขึ้นมาในโลกนี้ เพื่อประโยชน์และความสุขของสรรพสัตว์ ทรงประสงค์ให้ชาวโลก หลุดพ้นจากความทุกข์ ด้วยมรรควิถีแห่งความเมตตา และความกรุณา พระองค์ ได้ทรงชี้แนะแนวทางให้บรรลุถึงหนทางนี้ โดยต้องใช้ความเพียรพยายาม สมดังพุทธภาษิตที่มีในพระธรรมบท ว่า
ตุมฺเหหิ กิจฺจํ อาตปฺปํ อกฺขาตาโร ตถาคตา
ปฏิปนฺนา ปโมกฺขนฺติ ฌายิโน มารพนฺธนา
ซึ่งแปลว่า ท่านทั้งหลายพึงทำความเพียรพยายามเอง เพราะว่า พระตถาคต เป็นเพียงผู้ชี้บอก ผู้ปฏิบัติตาม หมั่นเพ่งพินิจ ย่อมหลุดพ้นจากบ่วงแห่งมารได้
ในโลกทุกวันนี้ มีปัญหามากมาย ซึ่งต้องการให้แก้ไขแบบสันติวิธี โลกเราเผชิญกับความทุกข์ยาก และความวุ่นวายต่าง ๆ และไม่มีหนทางใด ในการแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้ดีกว่าคำสั่งสอนของพระพุทธองค์ การเจริญพรหมวิหารสี่ คือ เมตตา กรุณา มุทตา อุเบกขา เป็นเครื่องมือ ที่มีประโยชน์มาก ในการช่วยแก้ไขปัญหาต่าง ๆ เช่น ความวุ่นวาย และความไม่ยุติธรรมในสังคมได้
ในโอกาสนี้ ขอให้เราหมั่นระลึกถึงพระธรรมคำสอนอันประเสริฐของพระองค์ และให้เราพร้อมใจกันทำให้โลกเรานี้ มีความเจริญรุ่งเรือง และเกิดสันติสุขขึ้น โดยใช้หลักธรรมคำสอนของพระองค์
การประชุมชาวพุทธโลก ครั้งที่ ๒ นี้ มีวัตถุประสงค์ในการเสริมสร้างสันติภาพ เอกภาพ ความสามัคคี ความร่วมมือกัน และภราดรภาพ ซึ่งมีรากฐานมาจากการที่ชาวพุทธต่างลัทธิ และต่างภาษา เข้าร่วมประชุมกันในประเทศจีน เป็นครั้งแรก ในนามของคณะสงฆ์ไทย ข้าพเจ้าขอสนับสนุนอย่างเต็มที่ และให้ความร่วมมือสำหรับความคิดริเริ่มเช่นนี้ พร้อมกันนี้ ขอส่งความปรารถนาดี ให้การประชุมครั้งนี้ ประสบผลสำเร็จด้วยดี ขอสันติภาพจงเกิดมีในโลก และขอพรแห่งพระรัตนตรัย จงมีแก่ท่านทั้งหลาย
อินทนิล - ท่านผู้ฟังคะ ขณะนี้ คุณหลู่เฟิง ผู้สื่อข่าวภาคภาษาไทยได้มีโอกาสนมัสการพระพรหมวชิรญาณ รองสมเด็จพระราชาคณะ ผู้นำคณะสงฆ์ที่มาเข้าร่วมการประชุมครั้งนี้ และได้มีโอกาสพูดคุยกับท่าน
ผู้สื่อข่าวซีอาร์ไอ--ท่านหลวงพ่อ โลกทุกวันนี้วุ่นวายจากหลายปัญหา ทั้งวิกฤตเศรษฐกิจ การปะทะ และสงคราม เป็นต้น พุทธศาสนาจะช่วยได้อย่างไรบ้างครับ
พระพรหมวชิรญาณ รองสมเด็จพระราชาคณะ ผู้นำคณะสงฆ์ไทย--พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งปัญญา เพราะฉะนั้น สามารถที่จะแก้ปัญหาต่างๆ ได้ทุกอย่าง ปัญญาในที่นี้หมายถึงธรรมะปัญญา ปัญญาที่ประกอบด้วยธรรมะสามารถช่วยให้โลกเกิดสันติสุข สันติภาพ
ผู้สื่อข่าวซีอาร์ไอ-ท่านหลวงพ่อครับ หัวข้อหลักของการประชุมพุทธศาสนาโลกครั้งที่ ๒ คือ "โลกกลมกลืน พรหมลิขิตอยู่ร่วมกัน " ท่านเห็นว่า หัวข้อดังกล่าวนี้มีบทบาทต่อการพัฒนาโลกสมานฉันท์อย่างไรครับ
พระพรหมวชิรญาณ รองสมเด็จพระราชาคณะ ผู้นำคณะสงฆ์ไทยหัวข้อการประชุมครั้งนี้สอดคล้องกับสภาพความเป็นไป เป็นสัจธรรมอันหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นแนวพุทธก็ตาม หรือจะเป็นแนวสากล แนวพุทธหมายความว่า ชาวพุทธจะต้องร่วมมือร่วมใจกัน ลงเรือลำเดียวกันในการที่จะนำพาชาวพุทธให้บรรลุเป้าหมาย นั่นคือ สันติภาพและสันติสุข ส่วนในทางสากล ไม่ว่าจะนับถือศาสนาใดก็ตาม ประชาคมโลก ประชาชนทุกเชื้อชาติ ทุกศาสนาจะต้องร่วมมือร่วมใจกันในการที่จะทำความดีร่วมกัน เพราะฉะนั้น นับถือศาสนาต่างกันก็ตาม ต่างเชื้อชาติก็ตาม เราสามารถที่จะประสานความดี ความร่วมมือร่วมใจกัน เพื่อประชาคมโลกจะมีความร่มเย็นเป็นสุข ดังนั้น หัวข้อการประชุมครั้งนี้จึงถือว่าเป็นหัวข้อที่ดีมาก
อินทนิล - ท่านผู้ฟังครับ นั่นก็เป็นการให้สัมภาษณ์ของพระพรหมวชิรญาณ รองสมเด็จพระราชาคณะ ผู้นำพระสงฆ์ที่เข้าร่วมการประชุมพุทธศาสนาโลกครั้งที่ ๒ ขณะนี้ บริเวณที่ประชุมกำลังมีการขึ้นกล่าวนำเสนอต่อที่ประชุม นอกจากนั้น ในส่วนของการจัดกิจกรรมต่างๆ ก่อนที่พิธีเปิดการประชุมจัดขึ้นในวันนี้ ก็มีการจัดกิจกรรมที่น่าสนใจ เช่น มีการประกวดบทความทางพุทธศาสนา แล้วก็ปรากฎว่า มีผู้ที่ส่งบทความมาจากทั่วโลก เป็นบทความทางพุทธศาสนารวมแล้วถึง ๓๔๐ บทความด้วยกัน ในส่วนของการประกวดบทความคราวนี้ อยากจะกรุณาให้คุณมิ่งขวัญเล่าให้ท่านผู้ฟังทราบได้ไหมคะ
มิ่งขวัญ-- ท่านผู้ฟังคะ การปรับปรุงสภาพแวดล้อมในการดำเนินชีวิต ของเราต้องเริ่มต้นจากการปรับจิต หลักธรรมคำสอนในพระพุทธศาสนา มุ่งให้เรามีสมาธิ สติและปัญญา เมื่อจิตใจของเราใสสะอาดก็สามารถ ดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมีความสุข ในการเตรียมการประชุมครั้งนี้ มีกิจกรรม หนึ่งซึ่งน่าสนใจ คือ การประกวดบทความทางพุทธศาสนา เพื่อรวบรวม ผลงานจากพระสงฆ์ นักวิชาการทางพุทธศาสนาและบุคคลสังคม ทั้งจีนและต่างประเทศ หวังว่าจะเป็นการหว่านเหตุปัจจัยที่ดี ด้วยกัน และสร้างความผูกพันที่ดีด้วยกันคะ
นับตั้งแต่เปิดรับผลงานในวันที่ 15 เมษายนปี 2008 ไปจนถึงวันที่ 26 สิงหาคม สำนักเลขาธิการฟอรั่มพุทธศาสนาโลกได้รับบทความทั้งหมด 340 บท ครอบคลุม ๑๗ ประเด็น มีฉบับภาษาจีน อังกฤษ และไทย เจ้าของผลงานมีทั้งจากแผ่นดินใหญ่จีน เขตบริหารพิเศษฮ่องกง เขตไต้หวัน ตลอดจนประเทศไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ สหรัฐอเมริกา และจากญี่ปุ่น มีทั้งพระสงฆ์ นักวิชาการ อุบาสกอุบาสิกา นักศึกษาและบุคคลทั่วไป
จากนั้นในปลายเดือนกันยายน มีการแต่งตั้ง "คณะกรรมการตัดสินบทความ" ประกอบด้วยพระสงฆ์ เจ้าหน้าที่ ผู้เชี่ยวชาญและนักวิชาการจากสมาคมพุทธศาสนาจีน และสมาคมแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมศาสนาจีน ตลอดจนสื่อมวลชน โดยใช้วิธีการให้คณะกรรมการฯ แบ่งเป็นกลุ่มย่อย และไม่ระบุชื่อผู้เขียนตลอดระยะเวลาทำการตัดสิน ซึ่งแบ่งออกเป็นสามรอบ โดยใช้เวลาพิจารณาสามเดือน ในท้ายที่สุดได้เลือกผลงาน เพื่อมอบรางวัลทั้งหมด 23 บทความ โดยแบ่งเป็น "รางวัลโพธิ" 3 รางวัล "ราวัลปทุม" 5 รางวัล และ "รางวัลวิริยะ" 15 รางวัล
ปรากฏว่า บทความเรื่อง "จัดระเบียบงานศพ เพื่อสังคมแห่งความสุข" โดยพระครูพิพิธสุตาทร (Ven.Phrakhru Pipitsutathon) รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัยได้ "รางวัลวิริยะ"
อินทนิล - ท่านผู้ฟังคะ ในช่วงเวลาเหลืออีกสั้นๆ ขอเล่าถึงความอลังการของวิหารฝานกงให้ท่านผู้ฟังได้ทราบ อยากจะเชิญทุกท่านมาเที่ยวจริงๆ วิหารฝานกงตั้งอยู่บนพื้นที่ ถึง ๗๒๐๐๐ ตารางเมตร ใช้ค่าก่อสร้างรวมประมาณ ๑๘๐๐ ล้านหยวน คิดเป็นเงินไทยตกประมาณ ๑๒๐๐๐ ล้านบาท ภายหลังปิดการประชุมครั้งนี้ วิหารแห่งนี้จะเปิดให้ประชาชนเข้าชม ไม่ว่าจะเป็นชาวจีน หรือชาวต่างประเทศทั่วโลกล้วนมีโอกาสเข้าชมในสถานที่แห่งนี้ ท่านผู้ฟังครับ ติดตามการประชุมพุทธศาสนาโลกครั้งที่ ๒ ซึ่งสถานีวิทยุซีอาร์ไอภาคภาษาไทยจะนำมารายงานหให้ท่านผู้ฟังให้ทราบกันต่อเนื่องต่อไป ในโอกาสนี้ สถานีวิทยุซีอาร์ไอภาคภาษาไทย คุณมิ่งขวัญ และดิฉัน อินทนิล รวมทั้งทีมงานทุกคน ขอขอบพระคุณทุกท่านที่กรุณาติดตามรับฟังการถ่ายทอดเสียงของเรานะคะ วันนี้ต้องลากันก่อน พบกันใหม่ในโอกาสหน้า โลกกลมกลืน พรหมลิขิตอยู่ร่วมกัน สวัสดีคะ
มิ่งขวัญ-- สวัสดีคะ