เมื่อเดือนตุลาคมปี 2017 การประชุมสมัชชาผู้แทนพรรคคอมมิวนิสตร์จีนทั่วประเทศครั้งที่ 19 ได้จัดขึ้นที่กรุงปักกิ่งอย่างสำเร็จ นับเป็นเหตุการณ์สำคัญยิ่งในประวัติศาสตร์จีน เพราะได้กำหนดเป้าหมายการพัฒนา แผนปฏิบัติ นโยบายเชิงรวม และภารกิจสำคัญของการพัฒนาประเทศอย่างรอบด้านในช่วง 30 ปีข้างหน้า ภายใต้การนำของพรรคคอมมิวนิสตร์จีน ซึ่งไม่เพียงแต่เกี่ยวพันอย่างใกล้ชิดกับชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนจีนเกือบ 1,400 ล้านเท่านั้น หากยังมีผลต่อประเทศต่างๆ ทั่วโลกไม่มากก็น้อยในยุคสมัยแห่งโลกาภิวัตน์ เพราะปัจจุบันคงไม่มีใครปฏิเสธว่า จีนเป็นประเทศที่มียอดมูลค่าเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก และนับวันมีบทบาทสำคัญมากขึ้นบนเวทีสากลทั้งในด้านการพัฒนา การปฏิรูป สันติภาพ และความมั่นคง เป็นต้น
ด้วยเหตุนี้ สมัขขาฯ 19 ของพคจ.จึงได้รับความสนใจระดับสูงในขอบเขตทั่วโลกตั้งแต่ก่อนจัดขึ้นจนถึงวันนี้ สื่อมวลชนหลักๆ เกือบทุกประเทศ ทั้งของโลกตะวันตกที่มีระบบการปกครองบริหารแตกต่างกันกับจีน และโลกที่ 3 ซึ่งก็เป็นประเทศที่กำลังพัฒนาเฉกเช่นกับจีน ต่างคอยลงบทวิเคราะห์มติและผลสำเร็จของที่ประชุมครั้งนี้ ประเมินแนวทางการเดินหน้าของพคจ. อภิปรายโอกาสร่วมพัฒนาที่จีนจะแบ่งปันกับประเทศอื่นๆ เป็นต้น
จีนไทยใช่อื่นไกล พี่น้องกัน ประเทศไทยในฐานะหนึ่งในประเทศที่มีความสัมพันธ์กับจีนดีที่สุด แกนกลางประชาคมอาเซียน และหุ้นส่วนร่วมมือหลักโครงการหนึ่งแถลหนึ่งเส้นทางในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ย่อมจับตามองมติที่ประชุมผู้แทนพรรคคอมมิวนิสต์จีนทั่วประเทศครั้งที่ 19 ผลสำเร็จด้านการพัฒนาประเทศในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาที่คณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนชุดที่ 18 และการเปลี่ยนแปลงอันใหญ่หลวงที่จะเกิดขึ้นกับจีนและทั่วโลกในอนาคตอย่างใกล้ชิด เพราะฉะนั้น มีนักการเมือง นักวิชาการ และนักสื่อสารมวลชนที่มีชื่อเสียงของไทยมากมายหลายคน พากันศึกษาวิจัยรายงานของท่านสี จิ้นผิง เลขาธิการใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์ต่อที่ประชุมสมัชชาฯ 19 พคจ. แสดงความคิดเห็นที่มีคุณค่า หรือเปิดมุมมองที่น่าสนใจ
ในบรรดาผู้วิเคราะห์ชาวไทยที่มีวิสัยทัศน์ มีเพื่อนเก่าคนหนึ่งของสถานีวิทยุซีอาร์ไอ นั่นก็คือคุณชัยวัฒน์ วนิชวัฒนะ บรรณาธิการอาวุโส หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ และนายกสมาคมผู้สื่อข่าวไทย-จีน หลังจากติดตามข่าวในเรื่องรายงานของท่านสี จิ้นผิงที่สื่อจีนและสื่อไทยนำเสนอ คุณชัยวัฒน์ วนิชวัฒนะได้ให้สัมภาษณ์ผมในหลายประเด็นร้อนเกี่ยวกับสมัชชาฯ 19 ความเห็นที่มีเนื้อหาสาระและมีวิสัยทัศน์ สร้างความประทับใจอันลึกซึ้งทั้งกับผม เพื่อนร่วมงานห้องภาคภาษาไทย และบรรดาบรรณาธิการจากศูนย์ข่าวซีอาร์ไอ สะท้อนให้เห็นถึงความเป็นมืออาชีพของบรรณาธิการอาวุโสว และความเชี่ยวชาญด้านจีนศึกษาในฐานะนายกสมาคมผู้สื่อข่าวไทย-จีน รายการวันนี้ ขอเชิญท่านผู้ฟังร่วมเจาะลึกประเด็นการพัฒนาของจีนตามธงสมัชชาฯ 19 พคจ. ตามมุงมองของคุณชัยวัฒน์ วนิชวัฒนะครับ
นายกสมาคมผู้สื่อข่าวไทย-จีนให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับรายงานต่อที่ประชุมสมัชชาฯ 19 พคจ.(2)
1.คุณชัยวัฒน์ครับ ช่วง 5 ปีที่ผ่านมาภายใต้การนำของพรรคคอมมิวนิสต์จีนที่มีเลขาธิการใหญ่สี จิ้นผิงเป็นแกนกลาง ประชาชนจีนได้สร้างผลสำเร็จใหญ่หลวงในการพัฒนาประเทศ คุณชัยวัฒน์ประทับผลสำเร็จด้านใดมากที่สุดครับ?
ตอบ : ผมมองความสำเร็จในด้านการยกระดับเศรษฐกิจซึ่งช่วงที่ผ่านมา 5 ปี GDP ของจีนเติบโตปีละกว่า 7% มองว่าเป็นผลจากการที่รัฐบาลจีนนำการลงทุนด้านสาธารณูปโภคพื้นฐานต่างๆไม่ว่าจะเป็นทางด่วน รถไฟความเร็วสูง ฯลฯ ซึ่งส่งผลต่อการคมนาคมขนส่ง มีผลบวกต่อการขนส่งสินค้าและการเดินทางของประชาชน ทำให้ภาคเอกชนมีการลงทุนตาม ต่างชาติก็เข้ามา เกิดการค้าระหว่างประเทศ มีเงินทุนหมุนเวียนกระจายสู่ประชาชน เกิดการบริโภค เกิดการจ้างงานในหลากหลายระดับเป็นทอดๆไป นี่คือคำตอบว่าทำไมจีนจึงสามารถแก้ปัญหาความยากจนได้ นอกจากลดความยากจนแล้วยังมีเงินเหลือออกไปท่องเที่ยวทั้งในประเทศและต่างประเทศด้วย ดังปรากฎว่าช่วงหลังแต่ละปีคนจีนออกเที่ยวต่างประเทศมากกว่า 100 ล้านคน การท่องเที่ยวและค้าขายดังกล่าวไม่ได้เกิดประโยชน์เฉพาะในจีน แต่ยังส่งผลบวกต่อนานาประเทศทั้งในภูมิภาคและต่อโลก ทำให้ผมมองว่านี่คือความสำเร็จของจีนที่ผมประทับใจด้านนี้ครับ
5. ช่วง 5 ปีที่ผ่านมา จีนลดจำนวนผู้ยากจนจำนวน 60 ล้านคนได้สำเร็จ และกำหนดเป้าหมายขั้นสุดท้ายว่า จะกำจัดความยากจนให้หมดสิ้นในปี 2020 ถือเป็นผลสำเร็จอันยอดเยี่ยมที่ทั่วโลกจับตามองกัน คุณชัยวัฒน์มองว่า ที่รัฐบาลจีนทำงานด้านการขจัดความยากจนถึงขั้นดีเลิศ สาเหตุสำคัญคืออะไร?
ตอบ : การที่จีนสามารถลดจำนวนประชากรที่อยู่ในเกณฑ์ยากจนได้ถึง 60 ล้านคนในช่วง 5 ปีถือว่าเป็นความสำเร็จที่ต้องชมเชยรัฐบาลจีนอย่างยิ่ง ยิ่งมีเป้าหมายจะขจัดความยากจนให้หมดสิ้นในปี ค.ศ.2020 หรือภายใน 3 ปีนี้ ผมถือว่าเป็นความท้าทายที่ต้องจับตามองและร่วมหวังให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว ผมมองว่าที่ผ่านมาแม้ว่าจีนจะทำให้โลกทึ่งและตะลึงมาแล้วมากมาย เช่นสามารถพัฒนาเทคโนโลยีด้านอวกาศส่งมนุษย์ขึ้นท่องอวกาศได้แซงหลายๆประเทศที่พัฒนามาก่อน หรือว่าสามารถสร้างทางรถไฟความเร็วสูงได้มากกว่า 20,000 กิโลเมตร มากเป็นอันดับ 1 ของโลก รวมทั้งการสร้างสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่ที่สวยงามในเวลาอันรวดเร็ว ต่างๆเหล่านี้แต่ถ้าเทียบกับความสำเร็จในการดูแลคนนับพันล้านคนให้มีกินมีใช้ ทำให้คนส่วนใหญ่พ้นจากความยากจน ผมถือว่าผลงานนี้ยิ่งใหญ่กว่าครับ เพราะความยากจนคือปัญหาอันยิ่งใหญ่ของจีนมานานนับหลายร้อยปี การแก้ปัญหาความยากจนคืออุดมการณ์สำคัญของพรรคคอมมิวนิสต์จีน หากทำสำเร็จตามเป้าหมายในปี 2020 ก็เท่ากับว่าจะได้ฉลองครบรอบ 100 ปีของการก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์จีนได้อย่างยิ่งใหญ่ครับ
นายกสมาคมผู้สื่อข่าวไทย-จีนให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับรายงานต่อที่ประชุมสมัชชาฯ 19 พคจ.(3)
4. คุณชัยวัฒน์มองการปราบปรามทุจริตคอรัปชั่นของพรรคคอมมิวนิสต์จีนอย่างไร?
ตอบ : ทุกประเทศในโลกมองว่าการทุจริตคอรัปชั่นเป็นเรื่องเลวร้าย เป็นภัยที่รับไม่ได้ต้องลงโทษผู้กระทำผิด แต่การปราบปรามและการลงโทษนั้นแตกต่างกัน หลายประเทศประสบความสำเร็จขึ้นชื่อว่าระบบราชการใสสะอาด แต่อีกหลายประเทศถูกขึ้นบัญชีดำว่าการทุจริตคอรัปชั่นสูง ความเด็ดขาดและต่อเนื่องของจีนในการกวาดล้างบุคคลที่กระทำการทุจริตฉ้อราษฎร์บังหลวงนั้นเราได้เห็นตัวอย่างครับว่าในช่วงหลายยุคหลายสมัยที่ผ่านมาจีนทำจริงในเรื่องนี้ ทั้งบุคคลระดับใหญ่ กลาง เล็ก แค่ 5 ปีที่ผ่านมาก็ทราบว่ามีการจับกุมได้นับล้านคนซึ่งปรากฎเป็นข่าวต่อเนื่อง เป็นการสะท้อนจุดยืนของผู้นำจีนว่าเอาจริง คนที่คิดจะทำจึงเกิดความเกรงกลัว ไม่กล้า ทำให้งบประมาณจากภาษีอากรที่เก็บจากประชาชนถูกใช้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ มีคำถามว่าทำไมหลายประเทศทำไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลจากการเลือกตั้ง ยิ่งเป็นรัฐบาลเผด็จการที่ขาดระบบการตรวจสอบก็ยิ่งทำไม่ได้เพราะมีการทำงานแบบสองมาตรฐาน มีการจับฝ่ายหนึ่งแต่มองไม่เห็นความผิดของอีกฝ่ายหนึ่ง ซึ่งนั่นคืออันตรายต่ออนาคตของประเทศนั้นๆครับ
3. ในฐานะบรรณาธิการอาวุโสของหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ คุณชัยวัฒน์เห็นว่า ประสบการณ์การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของจีน มีอะไรที่จะนำไปปรับปรุงและประยุกต์ในในการพัฒนาของประเทศไทย?
ตอบ : ความสำเร็จในการพัฒนาเศรษฐกิจของจีนอยู่ในสายตาของนานาชาติและก็เป็นข้อศึกษาใหญ่ของประเทศไทยด้วย เพราะไทยกับจีนมีความผูกพันมีความร่วมมือกันหลายด้าน ทั้งด้านประวัติศาสตร์ การเมือง สังคม และเศรษฐกิจ สิ่งที่ไทยน่าจะเห็นชัดเจนอย่างหนึ่งในความสำเร็จของจีนคือก่อนจะทำอะไรจีนจะประกาศเป้าหมายชัดเจน มีการกำหนดเป้าหมาย เส้นทางเดิน วิธีการ แล้วผู้นำจีนจะถือธงนำทาง มีการส่งต่อธงให้กับผู้นำรุ่นต่อๆไปให้รับช่วง รับนโยบาย ดังนั้นในสแต่ละเรื่องไม่ว่าจะช้าหรือเร็วสุดท้ายก็จะบรรลุเป้าหมาย ในขณะที่ไทยที่ผ่านมาปฏิบัติเช่นนี้ได้ยากเพราะความแตกต่างในด้านระบบการเมือง ไทยมีหลายพรรค ไม่มีความต่อเนื่อง อาจจะมีการเลือกตั้ง อาจจะมีการรัฐประหาร พอเปลี่ยนขั้วอำนาจก็เปลี่ยนนโยบาย บางเรื่องประกาศไว้ในรัฐบาลหนึ่งแต่อีกรัฐบาลบอกว่าไม่เอา แล้วไปรื้อไปทำกันใหม่ แต่ว่าจากนี้ไปการพัฒนาของไทยอาจจะมีความต่อเนื่อง เพราะวันนี้ไทยมี "คณะรักษาความสงบแห่งชาติ" หรือ คสช.กำกับอยู่ และมีการกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาชาติไว้ 20 ปี ดังนั้นจากนี้ไปไม่ว่ารัฐบาลไหนขึ้นมาก็ต้องดำเนินนโยบายต่อเนื่องไปครับ