หัวเว่ยพร้อมช่วยภาครัฐไทยก้าวสู่ยุคดิจิตอล เปิดงานหัวเว่ย เอเชีย-แปซิฟิก อินโนเวชั่น เดย์ ครั้งที่ 4

2018-06-07 15:02:08 | 2018-06-07 15:02:07  cri
Share with:

วันที่ 6 มิถุนายนที่ผ่านมา หัวเว่ย บริษัทไอทียักษ์ใหญ่ของจีน จัดงาน "หัวเว่ย เอเชีย-แปซิฟิก อินโนเวชั่น เดย์ ครั้งที่ 4 - สร้างสรรค์นวัตกรรมนำเอเชียแปซิฟิกก้าวสู่ยุคดิจิตอล" ณ ห้องฉัตราบอลรูม ชั้น 2 โรงแรมสยาม เคมปินสกี้ กรุงเทพฯ พร้อมพิธีลงนามข้อตกลงความร่วมมือระหว่างหัวเว่ย สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (สนช.) และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยมีทูตานุทูตจากหลายประเทศ อาทิ ปากีสถาน ลาว และกัมพูชา รวมถึงแขกรับเชิญพิเศษและสื่อมวลชนนานาชาติกว่า 300 คนเข้าร่วมงาน

ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวต้อนรับว่า ปีนี้หัวเว่ยและกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจัดงานนี้ร่วมกันขึ้น ได้มีการเชิญบุคคลสำคัญหลากหลายเข้าร่วมเพื่อแลกเปลี่ยนความก้าวหน้าทางด้านดิจิตอล เพราะนี่คือยุคใหม่ ดิจิตอลเป็นเรื่องของทั้งโลก รัฐบาลไทยเล็งเห็นความสำคัญของเรื่องนี้ จึงเลือกจับมือกับบริษัทที่ดีที่สุด เพื่อนำเทคโนโลยีมาปรับใช้กับทุกภาคส่วน สนับสนุนเอสเอ็มอีในยุคเปลี่ยนผ่านนี้

นายกัวผิง รองประธานกรรมการ และประธานกรรมการหมุนเวียนตามวาระของหัวเว่ยเทคโนโลยี

ด้านนายกัวผิง รองประธานกรรมการ และประธานกรรมการหมุนเวียนตามวาระของหัวเว่ยเทคโนโลยี กล่าวพร้อมสนับสนุนประเทศไทย 4.0

เขากล่าวว่า หัวเว่ยเน้นความสำคัญของสิ่งแวดล้อมทางดิจิตอล (Digital Environment) เพราะในปัจจุบันนี้ประเทศต่างๆ ในเอเชียแปซิฟิกกำลังเข้าสู่กระบวนการแปรรูปทางดิจิตอล (Digital Transformation) แต่ทุกประเทศยังมีช่องโหว่ของการพัฒนา ซึ่งในการแปรรูปนี้เกี่ยวเนื่องถึงสิ่งอำนวยความสะดวกขั้นพื้นฐาน ความปลอดภัย และเอไอ ซึ่งถ้าจะแปรรูปให้ประสบความสำเร็จจะต้องมีการทำงานแบบบูรณาการกับทุกหน่วยงาน และต้องขยายความร่วมมือกับภาคเอกชนต่างๆ ซึ่งต้องอาศัยการประสานงานจากรัฐบาล รวมถึงพัฒนาศักยภาพของบุคลากรด้วย ซึ่งหัวเว่ยยินดีขยายความร่วมมือทางดิจิตอลกับทุกประเทศในเอเชียแปซิฟิก

นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวปราศรัยในพิธีและขอบคุณหัวเว่ยที่สนับรัฐบาลไทยมาโดยตลอด และกล่าวว่า "รัฐบาลมีความฝันที่จะเปลี่ยนโครงสร้างของประเทศไทยให้ไปสู่ดิจิตอล เราต้องการให้ดิจิตอลเป็นเครื่องมือในการสร้างความสามารถด้านการแข่งขันของประเทศ แต่ในขณะเดียวกัน ก็เพื่อลดความเลื่อมล้ำ ไม่เท่าเทียมกันของสังคม ซึ่งเราคิดมานานว่าการทำอย่างนี้ต้องมีพันธมิตร ซึ่งก็คือหัวเว่ย โดยได้บอกกับคณะผู้บริหารว่าเรามีความฝันและอยากให้หัวเว่ยช่วยใน 3 ด้านใหญ่ๆ คือ 1.การเปลี่ยนแปลงสังคมให้มีความเข้มแข็ง 2.ช่วยเอสเอ็มอีที่ค่อนข้างเสียเปรียบและด้อยโอกาส 3.เรื่องของการศึกษา ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญในการเชื่อมโยงไม่ให้เกิดความแตกร้าวในสังคม เพื่อให้โอกาสในชีวิตมีความเท่าเทียมกัน

หัวเว่ยมีการตั้ง "ห้องแล็ป" ขึ้นมา ทั้งการสนับสนุนด้านบุคลากร การเข้าไปสนับสนุนมหาวิทยาลัยเพื่อผลิตบุคลากรด้านดิจิตอล จนกระทั่งมาถึงการลงทุนในเรื่องของ "ดิจิตอลแพล็ตฟอร์ม" เพื่อให้อาจารย์และนักศึกษามหาวิทยาลัยใช้แพล็ตฟอร์มเหล่านี้ทดสอบความคิด ซึ่งเป็นการสานต่อในการสร้างประเทศไทยเป็น "Start-up Nation""

นายสมคิดกล่าวอีกว่า "มั่นใจว่าเป็นจังหวะที่ดีที่สุดสำหรับหัวเว่ยในการจัดงานในประเทศไทย ประการแรก เพราะอยู่ในช่วงที่คนไทยกำลังตื่นตัวมากที่สุดอย่างไม่เคยมีมาก่อน เรามีหมายเลขโทรศัพท์มือถือ 121 ล้านเลขหมาย เรามีคนที่เข้าอินเตอร์เน็ตเฉลี่ย 40 ล้านคนต่อวัน เรามีมูลค่าของอีคอมเมิร์ซในขณะนี้ประมาณ 80 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คนรุ่นใหม่ปัจจุบันนี้สั่งซื้อของผ่านอีคอมเมิร์ซทั้งสิ้น แม้กระทั่งในวงการเงินและภาคธุรกิจก็มีการลงทุนอย่างมากมายในเรื่องของอินเตอร์เน็ต มีการเปลี่ยนแปลงในเรื่องของเครื่องจักอุปกรณ์ มีการลงทุนในเอไอและบิ๊กดาต้า ในแวดวงการเงินไทยขณะนี้มีการปรับตัวขนานใหญ่ เพราะรู้ว่าดิจิตอลไฟแนนซ์กำลังมาและมาแรงมาก"

"เรามีการนำอินเตอร์เน็ตลงไปในมากกว่า 70,000 หมู่บ้าน มีการขับเคลื่อนจากทุกกระทรวงที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี ทั้งกระทรวงดิจิตอล กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต่างคึกคักขึ้นมา รวมทั้งกระทรวงศึกษาที่มุ่งเน้นในเรื่องของ Stem หรือ "บุคลากรทดแทน"

  • เสียงข่าวประจำวัน (29-03-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (29-03-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (28-03-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (28-03-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (28-03-2567)

系统管理员