เทศกาลน้ำค้างแข็ง

2018-10-23 10:18:56 | CRI
Share with:

图片默认标题_fororder_20181023-1

เทศกาลน้ำค้างแข็ง ภาษาจีนเรียกว่า “ซวงเจี้ยง” ภาษาอังกฤษใช้คำว่า “First Frost” เป็น 1 ใน 24 เทศกาลจีนตามประเพณีวัฒนธรรมจีน มักจะอยู่ในวันที่ 23 หรือ 24 ตุลาคม ฤดูน้ำค้างแข็ง นับจากระยะน้ำค้างแข็งครั้งแรกในปลายฤดูใบไม้ร่วงของปีหนึ่งๆ ไปจนถึงระยะเวลาน้ำค้างแข็งเกิดขึ้นครั้งสุดท้าย ในต้นฤดูใบไม้ผลิของปีที่สอง ช่วงระยะนี้ เรียกว่าฤดูน้ำค้างแข็ง ซึ่งฤดูน้ำค้างแข็งในภูมิภาคต่างๆ ของจีนนั้นก็แตกต่างกันมาก ทางภาคใต้ของจีนจะไม่มีฤดูกาลน้ำค้างแข็ง แต่ทางภาคเหนือของจีนมีฤดูน้ำค้างแข็งนานถึง 8 เดือนด้วยซ้ำ ฉะนั้น เทศกาลน้ำค้างแข็งนี้ หมายความว่าอากาศหนาวลงและจะย่างเข้าฤดูหนาวแล้ว ชาวบ้านต้องมีการบำรุงรักษาสุขภาพเพื่อรับมือกับความหนาว

图片默认标题_fororder_20181023-2

จริงๆ แล้ว เทศกาลน้ำค้างแข็ง ไม่ใช่หมายความว่ามีน้ำค้างแข็งตกลงจากท้องฟ้า เนื่องจากน้ำค้างแข็งจะเป็นสิ่งที่เกาะตัวกับพื้นดินมากกว่า หนังสือโบราณบันทึกไว้ว่า กลางเดือนกันยายน อากาศเริ่มหนาว น้ำในตอนกลางคืน เริ่มแข็งแล้ว ส่วนในลุ่มแม่น้ำฮวงโห ช่วงเช้าจะพบสีเงินขนาดกว้างใหญ่ในทุ่งนา ซึ่งเป็นการสะท้องแสงของน้ำค้างแข็ง ใบไม้ต่างเริ่มเปลี่ยนสีและเหี่ยว และค่อย ๆ สละจากต้น บางครั้งก็เรียกระยะเวลาน้ำค้างแข็งตกว่า “น้ำค้างแข็งดอกเก๊กฮวย” เนื่องจากช่วงระยะนี้ เป็นช่วงที่ดอกเก๊กฮวยบานเต็มที่

จีนเป็นประเทศการเกษตร ชาวบ้านมีสำนวนว่า “น้ำค้างแข็งตก สังหารร้อยพืชพันธุ์” พืชพันธุ์ต่างๆ ที่เจอกับน้ำค้างแข็งหนัก จะไม่มีโอกาสมีชีวิตอยู่ เนื่องจากน้ำในต้นพืชนั้น พบกับอากาศหนาวและกลายเป็นน้ำแข็ง ทำให้โปรตีนเกาะตัว น้ำในเซลซึมออกไปข้างนอกจนทำให้ต้นพืชขาดน้ำ ฉะนั้น ในภาคเหนือของจีน หากมีพืชยังอยู่ในนา ชาวบ้านมักจะใช้ผ้าหรือต้นข้าวปูอยู่ข้างบนเพื่อช่วยรักษาความอบอุ่น

图片默认标题_fororder_20181023-3

อย่างไรก็ตาม ถึงเวลาที่จะย่างเข้าฤดูหนาวแล้ว ชาวจีนมีประเพณีหลายอย่าง ทั้งอาหารการกินและการใช้ชีวิต เช่น

  1. กินลูกพลับ

เมื่อถึงกันยายนแล้ว ทั่วประเทศจีนล้วนมีลูกพลับออกมาจำหน่าย แต่พันธุ์ภาคใต้กับพันธุ์ภาคเหนือไม่ค่อยเหมือนกัน ผู้เฒ่าในเมืองฉวนโจว มณฑลฮกเกี้ยนจะสั่งสอนลูกหลานว่า วันเทศกาลน้ำค้างแข็งตกนี้ ต้องกินลูกพลับแห้ง ไม่งั้นจะมีน้ำมูกไหล มีการอธิบายถึงประเพณีดังกล่าวว่า ในวันน้ำค้างแข็งตก ต้องกินลูกพลับ ไม่งั้นริมฝีปากจะแตกในช่วงฤดูหนาว ฉะนั้น ชาวบ้านจึงนิยมปีนขึ้นไปต้นลูกพลับ เก็บลูกพลับสดที่หวานอร่อยมารับประทาน

  1. ฝึกทหาร

น้ำค้างแข็ง มีความหนาวเหน็ด ในสมัยโบราณ น้ำค้างแข็งจะหมายถึงสังหาร ซึ่งพลทหารมักจะมีการฝึกทหารในหลายเดือนที่อยู่ช่วงระยะน้ำค้างแข็งตก หรือดำเนินการล่าสัตว์ และจนถึงราชวงศ์ฮั่น ประเพณีนี้พัฒนาขึ้นมาเป็นการแข่งขันหรือประลองกำลัง มีการให้รางวัลให้กับผู้ชนะ แต่ถึงสมัยปัจจุบัน ได้เลิกไปแล้ว

  1. ชมดอกเก๊กฮวย

เทศกาลน้ำค้างแข็งตก เป็นช่วงดอกเก๊กฮวยบาน ภาคเอกชนมักจะมีการจัดเทศกาลชมดอกไม้ โดยเฉพาะบ้านร่ำรวย นิยมจัดงานแสดงดอกเก๊กฮวยขนาดเล็ก จัดที่บ้านเอง มีการรวบรวมดอกเก๊กฮวยนานาพันธุ์เป็นร้อยอย่าง แล้วตั้งอยู่ในสวนของบ้านเอง เตรียมอาหารให้เรียบร้อย ชวนเพื่อนมาบ้าน แล้วตามลำดับอายุของสมาชิกครอบครัว เชิญผู้อายุสูงไหว้บูชาเทพเก๊กฮวยก่อน แล้วดื่มเหล้าชมดอกไม้ แต่งกวีวาดภาพ มีความสนุกสนานกัน

  1. ทำความสะอาดสุสาน

สมัยก่อน ผู้คนจะไปทำความสะอาดสุสานและบูชาบรรพบุรุษในเทศกาลน้ำค้างแข็งตก ในภาคใต้ของจีน อย่างเช่นกวางตุ้งและกวางสี ยังมีประเพณีเผาเผือกเพื่อส่งผี ซึ่งจะมีการใช้กระเบื้องกองเป็นเตา แล้วจุดไฟเผากระเบื้องจนกระทั่งให้กระเบื้องเป็นสีแดง แล้วใช้กระเบื้องร้อนเหล่านี้เผาเผือก สุดท้ายพอทานเผือกเรียบร้อย นำกระเบื้องเหล่านี้ไปทิ้งนอกเขตหมู่บ้าน ถือว่าเป็นการเลี้ยงส่งผีและต้อนรับมงคล

  1. รับประทานเนื้อกระต่ายเพื่อบำรุงสุขภาพ

ชาวบ้านเชื่อกันว่า บำรุงสุขภาพในช่วงหน้าหนาว ต้องเริ่มตั้งแต่วันน้ำค้างแข็งตก โดยเห็นว่า บำรุงสุขภาพในฤดูใบไม้ร่วงสำคัญกว่าบำรุงในฤดูหนาว และมีความนิยมในการรับประทาน “เนื้อแพะตุ๋น” “หัวแพะตุ๋น” และ กระต่ายค้างแข็ง เป็นต้น เชื่อกันว่า หัวแพะตุ๋นสามารถรักษาโรคปวดหัว เนื้อแพะตุ๋นสามารถรักษาโรคปอดและโรคระบาด ส่วนเนื้อกระต่ายที่ผ่านน้ำค้างแข็งแช่แล้ว มีความอร่อยเป็นพิเศษและมีคุณอาหารที่ดี

นอกจากนี้ อาหารประเภทเกาลัด ข้าวโพด สาลี่ น้ำผึ้ง เนื้อวัว เป็นต้น ล้วนเป็นอาหารที่เหมาะจะรับประทานในช่วงนี้

และสิ่งที่พลาดไม่ได้อีกอย่างหนึ่งคือ หลังน้ำค้างแข็งตกแล้ว ใบของต้นเมเปิ้ลและต้นหวงหลูจะเริ่มออกสีแดง แดงไปทั้งภูเขา จะเป็นทิวทัศน์พิเศษที่น่าเที่ยวชมในช่วงปลายปี

Bo/Ping/Ping

  • เสียงข่าวประจำวัน (26-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (26-11-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (26-11-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (25-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (25-11-2567)

郑元萍