ค่าเช่า 300 หยวน การดูแลคนชราแบบอยู่ร่วมกัน

2018-11-07 10:19:25 | CRI
Share with:

จีนมีประชากรผู้สูงวัยมากขึ้นทุกปี จนถึงปลายปี 2016 จีนมีผู้สูงวัยที่มีอายุมากกว่า 60 ปีจำนวนกว่า 230 ล้านคน เป็นประเทศเดียวที่มีผู้สูงวัยมากกว่า 200 ล้านคน

图片默认标题_fororder_yl-2.

 

 

 

ตามความเห็นทั่วโลก เมื่อประเทศหรือเขตแคว้นใดมีผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไปถึง 10% ของประชากรทั้งหมด หรือคนชราอายุ 65 ปีขึ้นไปเป็น 7% ของจำนวนประชากร ก็หมายถึงการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุแล้ว

คาดว่า ถึงปี 2050 จีนจะมีประชากรผู้สูงอายุถึงประมาณ 480 ล้านคน เป็นประมาณ 40% ของผู้สูงอายุทั้งหมดของเอเชีย  25% ของผู้สูงอายุทั่วโลก มากกว่าประชากรรวมของสหรัฐฯ อังกฤษและเยอรมัน 3 ประเทศด้วยซ้ำ ปัญหาผู้สูงอายุจะกลายเป็นการท้าทายใหม่ของการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจ รวมถึงการเปลี่ยนรูปแบบทางเศรษฐกิจของจีน เนื่องจากในกลุ่มผู้สูงอายุนั้น มีกว่า 50% ดูแลตนเองไม่ได้ ถึงปี 2050 ผู้สูงอายุที่ดูแลตนเองไม่ได้ของจีนอาจจะเพิ่มขึ้นถึง 18.75 ล้านคน ดังนั้น กิจการดูแลผู้สูงอายุ สร้างระบบและพัฒนาอุตสาหกรรมผู้สูงอายุทางวิชาการที่มีประสิทธิภาพสูงจึงเป็นช่องทางการลดภาระการดูแลผู้สูงอายุของสังคมจีน

การดูแลผู้สูงอายุ ไม่เพียงแต่การให้เงิน หรือจัดให้อยู่ในสถานสงเคราะห์ผู้สูงอายุเท่านั้น ปัญหาสำคัญประการหนึ่งคือ ความโดดเดี่ยว สำหรับคนรุ่นใหม่ ปัญหาที่น่าปวดหัวไม่เพียงแต่เป็นการเลี้ยงดูแลผู้สูงอายุ หากยังมีการเลี้ยงตัวเองด้วย ในจีนปัจจุบัน ราคาบ้านยังไม่ทันลดลง ค่าเช่าบ้านเพิ่มขึ้นก่อน ซึ่งอาจเป็นความยากลำบากที่ใหญ่ที่สุดสำหรับหนุ่มสาวที่ทำงานในเมืองใหญ่

แต่เมื่อเร็วๆ นี้ หนุ่มสาวที่เกิดหลังทศวรรษปี1990 หรือเรียกว่า “หลัง 90” แย่งกันย้ายเข้าอยู่ในสถานสงเคราะห์ ซึ่งคิดค่าเช่าเพียง 300 หยวนต่อเดือนเท่านั้น

 

图片默认标题_fororder_yl-3

สถานสงเคราะห์คนชรา เป็นสถานที่ดูแลผู้สูงอายุ ทำไมคนหนุ่มสาวพากันเข้าอยู่? เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปว่า ในสถานสงเคราะห์คนชรา ไม่ค่อยมีชีวิตชีวา กระทั่งมีบรรยากาศค่อนข้างเศร้า บางคนดูแลตนเองไม่ได้ บางคนเห็นใจลูก ไม่อยากเป็นภาระของลูก สมัครเข้าอยู่ในสถานสงเคราะห์คนชรา  แต่ไม่ว่าด้วยเหตุใด มีลักษณะเดียวกันคือ ความโดดเดี่ยว  ส่วนคนรุ่นใหม่วัยหนุ่มสาวที่ทำงานในเมืองใหญ่ ก็มีความโดดเดี่ยวเช่นกัน  พวกเขาใช้ประมาณครึ่งหนึ่งของเงินเดือน เช่าบ้านที่ไม่มีวันจะเป็นของตนเองได้ ถึงแม้ว่าผู้สูงอายุกับคนรุ่นใหม่มีชีวิตที่ไม่เหมือนกัน แต่ล้วนต้อเผชิญหน้ากับปัญหาความโดดเดี่ยว

图片默认标题_fororder_yl-1

สถานสงเคราะห์คนชรา ลวี่คางหยางกวาง ของเมืองหางโจว เป็นสถานสงเคราะห์คนชราขนาดใหญ่ที่สุดของเมืองหางโจว ดูแลคนชรากว่า 600 คน แต่เมื่อไม่นานมานี้ สถานสงเคราะห์คนชราแห่งนี้ ได้ย้ายเข้าหนุ่มสาวหลัง 90 จำนวนหนึ่ง พวกเขาได้รับสิทธิพิเศษมาก ค่าเช่าเพียง 300 หยวนต่อเดือน อยู่ใน “ห้องมาตรฐานแบบโรงแรม” เนื้อที่ 30 ตาราเมตรได้ แต่มีเงื่อนไขบังคับคือ แต่ละเดือนจะต้องเข้าร่วมกิจกรรมอาสาสมัครให้บริการคนชราในสถานสงเคราะห์อย่างน้อย 20 ชั่วโมง สามารถเข้าร่วมราตรีเพื่อฉลองเทศกาล พาคนชราออกข้างนอกไปเดินเล่น ออกกำลังกลาย สอนคนชราใช้สมาร์ตโฟน เขียนพู่กันจีน วาดภาพ เป็นต้น 

เมื่อต้นปีนี้ ทางสถานสงเคราะห์ประกาศรับสมัครคนรุ่นใหม่ทั่วทั้งสังคม ได้รับการตอบสนองอย่างรวดเร็ว  หลังผ่านการคัดเลือกแล้ว มีหนุ่มสาว 20 คนเข้าสู่ขั้นตอนการสัมภาษณ์ เพื่อวินิจฉัยว่า หนุ่มสาวเหล่านี้มีใจรักต่อคนชราหรือไม่ และมีเวลาพอที่จะเป็นเพื่อนกับคนชราหรือไม่  คนชราในสถานสงเคราะห์ต้อนรับ “เพื่อนวัยรุ่น”  และชีวิตของพวกก็เกิดการเปลี่ยนแปลงตามมา

การให้หนุ่มสาวเช่าห้องที่เหลือในค่าเช่าต่ำ เพื่อแลกกับการอยู่เคียงข้างกับคนชรา เรียกว่า โครงการ “อยู่เคียงข้าง”

图片默认标题_fororder_yl-4

นายหยาง หยุนไห่ เพิ่งจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเมื่อปี 2013 ก็มาเช่าห้องที่สถานสงเคราะห์แล้ว  ร่วมกับเพื่อนเปิดห้องเรียนศิลปกรรมเด็ก เขาสอนการเขียนพู่กันจีนและการวาดภาพน้ำหมึกจีน ขณะนี้ นอกจากเด็กแล้ว เขายังมีนักเรียนผู้สูงอายุอีก 10 กว่าคน ทุกวันเสาร์ บ่าย 2 โมงครึ่ง ผู้สูงอายุกว่า 10 คนจะนั่งอยู่ในห้องเรียนอย่างตรงเวลา หากนักเรียนเขียนลายมือพู่กันจีนอย่างดี  นายหยางหยุนไห่จะชื่นชม ถ้าเขียนไม่ดี เขาจะชี้ให้เห็นและสอนอย่างใจเย็น หลังเลิกเรียน เขายังจะจัดการบ้านให้นักเรียนกลับไปเขียนที่บ้าน

นายหลี่ เสี่ยวหยางมีเวลาก็สอนคนชราใช้สมาร์ตโฟน ใช้โซเซลมีเดีย อย่างเช่นWeChat  คุณยายหวังอยู่ในเมืองหางโจว แต่ลูกชายทำงานในกรุงปักกิ่ง นายหลี่ เสี่ยวหยางก็สอนคุณยายหวังใช้ WeChat คุยกับลูกชายเพื่อหายคิดถึง

ส่วยนางสาวช่าย จิ้งหรูการเข้าร่วมโครงการ “อยู่เคียงข้าง” นี้  เป็นวาสนาพิเศษ

เพราะเวลานั้น คุณยายของเธอเพิ่งเสียไม่นาน การอยู่กับคนแก่ด้วยกัน ทำให้เธอรู้สึกอบอุ่นใจเหมือนได้สืบทอดความรักกับคุณยายต่อไปได้ และก็สามารถเรียนและฝึกซ้อมการดูแลพ่อแม่ของตนเอง

หลังจากหนุ่มสาวเหล่านี้ย้ายเข้าสู่สถานสงเคราะห์แล้ว คนชรามีรอยยิ้มมากขึ้นอย่างเห็นได้ คนรุ่นใหม่ไล่ความโดดเดี่ยวของคนชราออกไป และนำชีวิตชีวาเข้าสู่สถานสงเคราะห์  ส่วนคนแก่ก็ยินดีแบ่งบันประสบการณ์ของชีวิตให้กับหนุ่มๆ สาวๆ ให้ข้อเสนอและให้กำลังใจแก่พวกเขา ทำให้พวกเขาเข้าใจชีวิตได้มากขึ้น

ในโลกนี้ ไม่ว่าปู่ย่าตายาย พ่อแม่หรือเราตนเอง ไม่มีใครหนีจากการตายและแก่ลงได้  “คุณเป็นเพื่อนฉันโตขึ้น ฉันเป็นเพื่อนคุณแก่ลง” ไม่น่าจะเป็นเพียงคำโฆษณาที่เพราะเท่านั้น หากยังควรเป็นการปฏิบัติที่จริงด้วย  “จะดูแลพ่อแม่ที่แก่ลงอย่างไร และเมื่อเราแก่ลง ใครจะมาดูแลเรา?” ดูเหมือนเป็นปัญหาที่ยังอยู่ห่างไกล แต่ความจริง อีกไม่กี่ปี ก็คงเป็นปัญหาที่จะต้องคิดอย่างเร่งด่วนแล้ว  สังคมจีนและรัฐบาลจีนกำลังพยายามแสวงหาวิธีการและรูปแบบการเลี้ยงดูแลคนชราที่ดีแบบใหม่ เพื่อให้คนแก่ไม่โดดเดี่ยว และให้คนรุ่นใหม่ตระหนักถึงปัญหาผู้สูงอายุมากขึ้น

จริงๆ แล้ว ปีหลังๆ นี้ ในยุโรป เช่นเนเธอร์แลนด์และฟินแลนด์ ก็มีการให้คนรุ่นใหม่เข้าอยู่ในสถานสงเคราะห์ผู้สูงอายุ และในเมืองซีแอตเทิล(Seattle)ของสหรัฐฯ มีการจัดตั้งโรงเรียนอนุบาลในสถานสงเคราะห์คนชราด้วย 

  • เสียงข่าวประจำวัน (26-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (26-11-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (26-11-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (25-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (25-11-2567)

韩希