สะพานเชื่อมฮ่องกง-จูไห่-มาเก๊า

2019-01-29 09:45:34 | CRI
Share with:

图片默认标题_fororder_1

หลังจากเตรียมการมา 6 ปี และก่อสร้างนานอีก 9 ปี สะพานเชื่อมฮ่องกง-จูไห่-มาเก๊า เปิดเดินรถอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน ถือเป็นการสร้างและเปิดให้บริการของสะพานข้ามทะเลยาวที่สุดในโลก ทำให้การไปมาหาสู่กันระหว่างมณฑลกว่างตง เขตบริหารพิเศษฮ่องกงกับมาเก๊าของจีนสะดวกสบายยิ่งขึ้น จริงๆ แล้ว ความหมายสำคัญของสิ่งก่อสร้างที่มหัศจรรย์แห่งนี้มีมากมาย ซึ่งเราจะยกตัวอย่างมาส่วนหนึ่งที่น่าสนใจ

图片默认标题_fororder_2

สะพานเชื่อมฮ่องกง-จูไห่-มาเก๊า มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Hong Kong-Zhu Hai-Macao Bridge มีความยาวทั้งหมด 55 กิโลเมตร ออกแบบให้ใช้งานเป็นเวลา 120 ปี ใช้เงินลงทุนกว่า 100,000 ล้านหยวน เริ่มต้นโครงการก่อสร้างเมื่อวันที่ 15 ธันวาคมปี 2009 และเปิดเดินรถอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 24 ตุลาคมปี 2018 เป็นโครงการก่อสร้างสะพานข้ามทะเลที่มีความยาวมากที่สุด ใช้เงินลงทุนสูงที่สุด และงานก่อสร้างยากที่สุดในประวัติศาสตร์จีน

图片默认标题_fororder_3

1.ทำไมต้องสร้างสะพานเชื่อมฮ่องกง-จูไห่-มาเก๊า? และโครงการนี้มีความหมายสำคัญอะไร?

สะพานเชื่อมฮ่องกง-จูไห่-มาเก๊าสร้างข้ามทะเลหลิงติงหยาง อันเป็นช่องทางเดินเรือที่คึกคักนอกบริเวณปากแม่น้ำจูเจียง สะพานแห่งนี้ทางตะวันออกเชื่อมต่อกับเขตบริหารพิเศษฮ่องกง และทางตะวันตกเชื่อมกับเมืองจูไห่ มณฑลกว่างตง และเขตบริหารพิเศษมาเก๊าของจีน นับเป็นครั้งแรกที่บรรลุการเชื่อมต่อทางบกระหว่างจูไห่ มาเก๊ากับฮ่องกง ลดระยะทางการเดินรถระหว่าง 3 พื้นที่ได้เป็นอย่างมาก

การเปิดให้บริการของสะพานฮ่องกง-จูไห่-มาเก๊า ทำให้การเดินทางระหว่างฮ่องกงกับมาเก๊า และระหว่างฮ่องกงกับจูไห่ประหยัดเวลาได้มาก จากเดิมต้องใช้เวลากว่า 3 ชั่วโมง เหลือเพียง 45 นาที มีความหมายสำคัญในเชิงยุทธศาสตร์ต่อการเพิ่มศักยภาพการแข่งขันในภาพรวม ของดินดอนสามเหลี่ยมแม่น้ำจูเจียง การรักษาความเจริญรุ่งเรืองและความมั่นคงของฮ่องกงและมาเก๊าในระยะยาว และการพัฒนาสร้างสรรค์เขตอ่าวกว่างตง-ฮ่องกง-มาเก๊า

图片默认标题_fororder_4

2.สะพานเชื่อมฮ่องกง-จูไห่-มาเก๊ามีความพิเศษอะไรบ้าง?

สะพานเชื่อมฮ่องกง-จูไห่-มาเก๊ามีระยะทางทั้งหมด 55 กิโลเมตร เป็นช่องทางเดินรถข้ามทะเลแห่งแรกของจีนที่มีสะพาน เกาะเทียม 2 แห่ง กับอุโมงค์ใต้ทะเล รวมเป็นช่องทางข้ามทะเลสายเดียวกัน โครงการก่อสร้างสะพานเชื่อมฮ่องกง-จูไห่-มาเก๊าแบ่งออกเป็น 3 ส่วน 1.โครงการหลักที่ประกอบด้วยสะพานกับอุโมงค์ใต้ทะเล 2. ด่านศุลกากรในฮ่องกง จูไห่ และมาเก๊า 3.ทางเชื่อมสามด่านศุลกากรกับตัวสะพานหลักและอุโมงค์ใต้ทะเล

ซึ่งโครงการหลักสะพานและอุโมงค์ใต้ทะเลมีความยาวทั้งหมด 29.6 กิโลเมตร แบ่งเป็นสะพานยาว 22.9 กิโลเมตร กับอุโมงค์แบบ Immersed Tube Tunnel (ทำท่อสำเร็จเป็นช่วงๆ บนดินแล้วนำไปฝังและเชื่อมที่ไซต์งาน) ยาว 6.7 กิโลเมตร โดยสองอุโมงค์เชื่อมต่อกับเกาะเทียมตะวันออกกับเกาะเทียมตะวันตก บริเวณน่านน้ำระหว่างเกาะเทียม 2 แห่งเป็นช่องทางเดินเรือที่สำคัญบนทะเลหลิงติงหยาง

图片默认标题_fororder_5

3.ทำไมโครงการหลักสร้างเป็นสะพานทั้งสายไม่ได้ แต่ต้องสร้างอุโมงค์ใต้ทะเล?

เส้นทางการก่อสร้างสะพานเชื่อมฮ่องกง-จูไห่-มาเก๊า จะตัดผ่านช่องทางเดินเรือที่คึกคักที่สุดในทะเลหลิงติงหยาง ซึ่งขณะนี้ช่องทางเดินเรือสายนี้รองรับเรือขนส่งระวางขับน้ำ 100,000 ตันในปัจจุบัน ต่อไปพัฒนาเป็นช่องทางเดินเรือที่รองรับเรือขนาด 300,000 ตัน ดังนั้น ถ้าสร้างสะพานข้ามผ่านช่องทางเดินเรือใหญ่ขนาดนี้ ก็ต้องเป็นสะพานแขวนที่มีความโค้งสูงและกว้างมากเป็นพิเศษ และต้องสร้างเสาตอม่อสูงมาก จึงจะให้เรือขนส่งขนาดใหญ่ลอดใต้สะพานอย่างสะดวก

แต่ทว่า บริเวณน่านน้ำทะเลหลิงติงหยาง อยู่ไม่ไกลจากสนามบินนานาชาติฮ่องกง ข้อจำกัดความสูงของสิ่งก่อสร้างในบริเวณใกล้สนามบิน ทำให้ไม่สามารถสร้างเส้าตอม่าสะพานที่สูงมาก และความโค้งสะพานที่กว้างมาก ด้วยเหตุนี้ อุโมงค์ใต้ทะเลจึงเป็นทางเลือกเพียงอย่างเดียวที่แก้ปัญหาได้ เพื่อบรรลุการเชื่อมต่อระหว่างสะพานกับอุโมงค์ จึงต้องสร้างเกาะเทียมขึ้นมาที่สองด้านของอุโมงค์ ดังนั้น โครงการหลักของสะพานเชื่อมฮ่องกง-จูไห่-มาเก๊าจึงต้องสร้างสะพานข้ามทะเลส่วนหนึ่ง อุโมงค์ลอดใต้ทะเลส่วนหนึ่ง โดยมีเกาะเทียม 2 แห่งเป็นจุดเชื่อม

图片默认标题_fororder_6

4.ผลสำเร็จด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีของสะพานเชื่อมฮ่องกง-จูไห่-มาเก๊าสูงถึงระดับไหน?

โครงการก่อสร้างสะพานเชื่อมฮ่องกง-จูไห่-มาเก๊า ถือเป็น “วิศวกรรมระดับซุปเปอร์” ย่อมมี “นวัตกรรมระดับซุปเปอร์” มากพอเพื่อประกันความสำเร็จของโครงการ เนื่องจากงานการก่อสร้างมีระดับความยากมาก จึงต้องการอาศัยวัสดุใหม่ กรรมวิธีใหม่ อุปกรณ์ใหม่ และเทคโนโลยีใหม่ๆ จำนวนมาก โดยเฉพาะผลงานที่จดทะเบียนเป็นสิทธิบัตรก็มีกว่า 400 รายการ ครอบคลุมหลายๆ มณฑลที่เมื่อก่อนไม่เคยได้สร้างผลงานมาก่อน

สถิติที่น่าภาคภูมิใจของสะพานแห่งนี้มีหลายอย่าง เช่น เป็นสะพานข้ามทะเลยาวที่สุด และฟเป็นสะพานที่มีโครงเหล็กกล้าหนักที่สุดของโลก โดยได้ใช้วัสดุเหล็กกล้าทั้งหมด 420,000 ตัน มากเป็น 10 เท่าของปริมาณการใช้เหล็กกล้าของสนามกีฬารังนก หรือเป็น 60 เท่าของหอไอเฟล

สิ่งที่เหลือเชื่อกว่านั้นคือ อุโมงค์ลอดใต้ทะเลของสะพานแห่งนี้ เป็นอุโมงค์ลอดใต้ทะเลยาวที่สุดและอยู่ใต้ทะเลลึกที่สุดของโลก โดยความยาวของอุโมงค์มีความยาวถึง 6.7 กิโลเมตร จุดที่ลึกที่สุดอยู่ใต้ทะเลความลึกอยู่ที่ 48 เมตร วิธีการสร้างอุโมงค์สายนี้นับได้ว่าลำบากมาก โดยอุโมงค์ทั้งสายประกอบด้วยท่อคอนกรีต (concrete) โครงเหล็กกล้าขนาดใหญ่ทั้งหมด 33 ตอน แต่ละตอนยาว 180 เมตร กว้าง 38 เมตร สูง 11.4 เมตร หนัก 80,000 ตัน การเชื่อมต่อท่อทุกตอนใต้ทะเล กลางกระแสน้ำที่ไหลเวียนอยู่ตลอดเวลาก็ถือว่าเป็นเรื่องที่ยากสุดๆ จำเป็นต้องควบคุมความผิดพลาดให้น้อยกว่า 2 เซนติเมตร

อีกสถิติเด่นที่น่าประทับใจคือ ใช้เวลาเพียง 221 วันสร้าง 2 เกาะเทียมที่เชื่อมต่อสะพานและอุโมงค์ ตำแหน่งที่ตั้งของ 2 เกาะเทียม อยู่บริเวณปากแม่น้ำจูเจียง ที่นี่สภาพการไหลของน้ำทะเลมีความสลับซับซ้อน ส่วนดินโคลนใต้ทะเลนุ่มและอ่อนตัวมาก การวางรากฐานรองรับสิ่งก่อสร้างใต้ทะเลบริเวณนี้จึงลำบากมาก วิศวกรจีนออกแบบให้สร้างถังเหล็กขนาดยักษ์ที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางยาว 22.5 เมตร (ซึ่งกินพื้นที่ใหญ่เท่าสนามบาสเกตบอล) และมีความสูง 55 เมตร (สูงเท่าตึก 18 ชั้น) ทั้งหมด 120 ใบ ถังหนึ่งหนัก 500 ตัน วางลงไปใต้ทะเล เพื่อสร้างรากฐานที่มั่นคง และค่อยๆ สร้างเกาะเทียมขึ้นมาบนรากฐานถังเหล็กกล้าเหล่านี้ จึงสำเร็จ

5.รถยนต์ประเภทอะไรบ้างสามารถวิ่งขึ้นสะพานเชื่อมฮ่องกง-จูไห่-มาเก๊า?

ปัจจุบัน รถยนต์ที่มีสิทธิ์วิ่งขึ้นสะพานเชื่อมฮ่องกง-จูไห่-มาเก๊า รวมถึงรถบัสข้ามด่าน รถเมล์ไปกลับหน้าด่าน รถแท็กซี่ข้ามด่าน รถบรรทุกสินค้า และรถส่วนตัวที่มีใบอนุญาตให้ข้ามด่าน ต่อไปในอนาคต รัฐบาลของทั้ง 3 เขตพื้นที่จะค่อยๆ ผ่อนปรนเงื่อนไขการขึ้นวิ่งสะพาน ทำให้พลเมืองของทั้งแผ่นดินใหญ่ของจีน ฮ่องกง และมาเก๊าที่จะสัญจรไปมาระหว่าง 3 พื้นที่เลือกเดินทางผ่านสะพานเชื่อมฮ่องกง-จูไห่-มาเก๊าให้มากขึ้น

เนื่องจากจำนวนรถส่วนตัวที่ได้รับใบอนุญาตให้ผ่านทางมีจำกัด เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้โดยสารมากยิ่งขึ้น จึงมีการเปิดบริการรถเมล์ไปกลับหน้าด่าน และรถบัสข้ามด่าน สำหรับรถเมล์ไปกลับระหว่างด่าน มี 2 สาย ได้แก่ สายไปกลับฮ่องกง-จูไห่ และสายไปกลับฮ่องกง-มาเก๊า โดยรถเมล์จะจอดที่หน้าด่านศุลกากร ให้ผู้โดยสารต้องลงรถหน้าด่าน และเดินผ่านด่านตรวจคนเข้าเมืองด้วยตนเอง ปกติจะออกรถทุก 5 – 10 นาทีต่อหนึ่งเที่ยว ขายตั๋วใบละ 58 หยวนในช่วงกลางวัน และ 63 หยวนในช่วงกลางคืน สำหรับเด็กและผู้สูงอายุมีสิทธิ์ซื้อตั๋วครึ่งราคา

ส่วนรถบัสข้ามด่านจะให้บริการขนส่งผู้โดยสารเดินระหว่างฮ่องกงกับเมืองต่างๆ ในเขตดินดอนสามเหลี่ยมแม่น้ำจูเจียง แต่ผู้โดยสารต้องทำเอกสารข้ามด่านต.ม.ให้เรียบร้อยล่วงหน้า นอกจากนี้ ยังมีรถแท็กซี่ที่ติดป้ายเดินรถของทั้งแผ่นดินใหญ่ของจีนและฮ่องกง ผู้โดยสารสามารถขึ้นแท็กซี่ประเภทนี้ที่ด่านศุลกากรจูไห่ และนั่งไปถึงสนามบินฮ่องกง หรือสวนสนุก Disneyland ฮ่องกงได้สะดวกสบาย ค่ารถ 180 หยวน ไม่รวมค่าผ่านทางสะพานซึ่งต้องจ่ายเพิ่มอีก 150 หยวนต่อคัน

พูดถึงค่าผ่านทางสะพานฯ ของรถแต่ละชนิด มีมาตรฐานดังนี้ รถส่วนตัวและรถแท็กซี่ 150 หยวนต่อคันต่อครั้ง รถบัสข้ามด่าน 200 หยวนต่อคันต่อครั้ง รถเมล์ไปกลับหน้าด่าน 300 หยวนต่อคันต่อครั้ง รถบรรทุกสินค้าทั่วไป 60 หยวนต่อคันต่อครั้ง และรถบรรทุกคอนเทนเนอร์ (container) 115 หยวนต่อคันต่อครั้ง คนขับสามารถใช้บัตรธนาคารของจีนแผ่นดินใหญ่ ฮ่องกงและมาเก๊า Alipay และ Wechat จ่ายค่าผ่านทางอย่างสะดวกสบาย

6.ขับรถบนสะพานเชื่อมฮ่องกง-จูไห่-มาเก๊า จำกัดความเร็วเท่าไร? กลับรถได้ไหม?

กรมบริหารสะพานเชื่อมฮ่องกง-จูไห่-มาเก๊ากำหนดว่า ปกติ ความเร็วมาตรฐานการขับรถบนสะพานฯ อยู่ที่ 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง แต่ความเร็วมาตรฐานอาจจะปรับเปลี่ยนได้ตามสภาพรถ สภาพภูมิอากาศ หรือกรณีเกิดอุบัติเหตุรถชน หากไม่ได้เกิดกรณีฉุกเฉิน ก็ห้ามกลับรถบนตัวสะพานและภายในอุโมงค์

7.บนสะพานเชื่อมฮ่องกง-จูไห่-มาเก๊ามีห้องน้ำสาธารณะหรือปั๊มน้ำมันไหม?

บนโครงการหลักของสะพานเชื่อมฮ่องกง-จูไห่-มาเก๊า หมายถึงตัวสะพานและอุโมงค์ลอดใต้ทะเล ไม่มีห้องน้ำสาธารณะและปั๊มน้ำมัน เพราะห้ามจอดรถ แต่ที่ด่านต.ม.ของทั้งฮ่องกง จูไห่ และมาเก๊า มีห้องน้ำสาธารณะ สำหรับให้ผู้โดยสารใช้บริการก่อนขึ้นสะพานฯ

บนเกาะเทียมฝั่งตะวันออก ได้กำหนดพื้นที่ชมวิวสำหรับผู้โดยสารที่ขับรถส่วนตัวเดินทาง แต่ยังไม่พร้อมให้บริการ ต้องรออีกหน่อยให้รัฐบาลของทั้ง 3 เขตพื้นที่ร่วมกันตัดสินใจว่า จะเปิดให้บริการเมื่อไร

  • เสียงข่าวประจำวัน (26-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (26-11-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (26-11-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (25-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (25-11-2567)

韩希