ชาวแต้จิ๋วกับประเพณีวันตรุษจีน

2019-02-04 13:58:55 | CRI
Share with:

图片默认标题_fororder_20190205-cux-1

“ซิน เหนียน ควั่ย เล่อ”  “ซิงเจียยู่อี่” สวัสดีปีใหม่ วันนี้วัน “ชิวอิก” หรือวันขึ้น 1 ค่ำเดือนอ้ายปีกุนตามปฏิทินจันทรคติจีน เป็นวันแรกของเทศกาลวันตรุษจีน เทศกาลที่สำคัญที่สุดของชาวจีน กิจกรรมฉลองเทศกาลต่างๆ ของชาวแต้จิ๋ว สืบทอดกันมาตั้งแต่โบราณกาล ชาวท้องถิ่นรักษาขนบประเพณีได้เป็นอย่างดี และค่อนข้างสมบูรณ์

วันตรุษจีนจะเริ่มตั้งแต่วันส่งท้ายปีเก่าหรือ “ฉูซี” ทั่วประเทศจีนจะคึกคักสนุกสนาน มักจะมีเห็นสีแดงทั่วไป อย่างเช่นโคมไฟสีแดงที่ประดับประดาตามถนนหนทาง คำกลอนคู่ฉลองอวยพรปีใหม่สีแดงที่ติดอยู่สองข้างประตู ตลอดจนภาพวาดเทวดา รูปต่างๆ ที่ติดข้างบนประตู เป็นต้น และสิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ลูกหลานที่ทำงานหรือเรียนหนังสือในต่างท้องถิ่น ต้องพยายามเดินทางกลับบ้านเกิดเพื่อทานข้าวร่วมกันกับปู่ย่าตายายและพ่อแม่ในอาหารมื้อเย็นสุดท้ายของปีเก่า

วันรุ่งขึ้นคือวัน “ชิวอิก”ขึ้น 1 ค่ำเดือนอ้าย ทุกๆ ครอบครัวจะมีการวางอาหารและผลไม้บนโต๊ะอาหาร อย่างเช่นส้มลูกใหญ่ มีความหมายว่าสิริมงคลและโชคลาภปีใหม่ ผู้ที่เป็นผู้อาวุโสในบ้านจะตื่นแต่เช้า เพื่อจัดพิธีไหว้พระเจ้า หลังจากนั้นจะใส่เสื้อตัวใหม่เรียบร้อย แล้วรอให้ลูกหลานมา “ไป้นี้” แน่นอน “อั้งเปา” เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ ลูกหลานในบ้านที่มีรายได้จะมอบ “อั้งเปา” ให้กับผู้ใหญ่ ขอให้พ่อแม่อยู่ดีกินดี มีสุขภาพแข็งแรง แต่ในวันนี้ ลูกสาวที่แต่งงานไปแล้วจะไม่สามารถกลับบ้านของแม่ ซึ่งถือว่าไม่เป็นมงคล และวันนี้จะไม่กวาดทิ้งขยะในบ้าน และจะต้องระมัดระวังของในบ้านหล่นและแตก

วันขึ้น 2 ค่ำ ลูกสาวที่แต่งงานแล้วจะต้องเดินทางกลับบ้านของแม่ สามีจะไปพร้อมกัน ลูกสาวที่กลับบ้านแม่จะต้องมีอาหารของหวานติดตัว เพื่อไปแจกให้กับเด็กๆ ที่อาศัยในครอบครัวของคุณแม่ แต่แล้วหลังจากอาหารเที่ยง ก็ต้องเดินทางกลับบ้านของสามี เพื่อรับประทานอาหารมื้อเย็น

วันขึ้น 3 ค่ำ ตามประเพณีเก่า มักจะไม่ออกจากบ้าน เพราะวันนี้เป็นวันที่ง่ายจะทะเลาะกับคนอื่น แต่สมัยปัจจุบันประเพณีนี้คงไม่ค่อยได้รับการปฏิบัติแล้ว ใครก็ไม่อยากทะเลาะกันในวันตรุษจีน

图片默认标题_fororder_20190205-cux-2

วันขึ้น 4 ค่ำ เป็นวันเซ่นไหว้บูชาเทวดารูปต่างๆ  เพราะวันนี้เป็นวันเริ่มต้นของบรรดาเทวดา จะต้องกลับมาทำงานปฏิบัติหน้าที่บนโลกมนุษย์อีกครั้ง ที่หมู่บ้านชนบทยิ่งมีบรรยากาศคึกคัก จะเตรียมเนื้อไก่ เป็ด ห่าน ปลาและอาหารอีกหลายๆ ชนิด มาไหว้ต้อนรับเจ้าและเทวดา แล้ววางน้ำตาลจานหนึ่งด้วย เพื่อขอให้ปีใหม่จะใช้ชีวิตหอมหวานมีความสุข

วันขึ้น 5 ค่ำ วันนี้จะเก็บป้ายของเทวดาให้เรียบร้อย แล้วจุดประทัดจากข้างในของบ้านจนถึงนอกบ้าน เพื่อไล่สิ่งที่ไม่ดีออกจากบ้าน

วันขึ้น 6 ค่ำ ผู้ที่ประกอบการค้าจะเปิดประตูขายของได้แล้ว สิ่งที่ขาดไม่ได้คือต้องมี “อั่งเปา” มอบให้กับพนักงานที่มาเข้างานปีใหม่

วันขึ้น 7 ค่ำ เป็นวันสำคัญอีกหนึ่งวัน ตามประเพณีเก่า วันนี้ชาวแต้จิ๋วจะรับประทานอาหารผัก “ชิกเอี่ยเก” คืออาหารที่นำเอาผักสด 7 ชนิดมาต้มร่วมกัน เพื่อกินให้หนุ่มขึ้น สาวขึ้น ทั้งจะช่วยย่อยอาหาร ที่กินของดีตั้งแต่วันขึ้น 1 ค่ำมาแล้ว ผักที่ชาวแต้จิ๋วใช้กันทั่วไปมักจะมีหลายอย่างเช่น “ชุงไช่” ผักฤดูใบไม้ผลิ “ซึ่งเกี้ย” กินแล้วมีเงินให้นับมากมาย “คึ่นไช่” กินแล้วจะทำงานขยันขันแข็ง

图片默认标题_fororder_20190205-cux-3

วันขึ้น 8 ค่ำ เป็นวันที่เทวดาแห่งข้าวจะลงมาสู่โลกมนุษย์ ถ้าวันนี้อากาศดีฟ้าใส ปีใหม่จะมีการเก็บเกี่ยวที่ดี แต่ถ้าอากาศไม่ดี ก็คงจะมีการเก็บเกี่ยวน้อยลง

วันขึ้น 9 ค่ำ เป็นวันฉลองวันเกิดของพระเจ้าแห่งฟ้าตามเทพนิยายของจีน โดยวันนี้จะมีการจัดพิธีเซ่นไหว้บูชาขนาดใหญ่ ขอให้พระเจ้าแห่งฟ้ามาดูแล ทำให้ฝนตกตามฤดูกาล มีการเก็บเกี่ยวอุดมสมบูรณ์

วันขึ้น 11 ค่ำ หมู่บ้านชนบทบางแห่งของเขตแต้จิ๋วมีจัดกิจกรรม “เดินสะพานสายรุ้ง” การนี้จัดเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่ไม่ใช่วัตถุของมณฑลกว่างตง ผู้ที่เดินข้ามสะพาน จะตั้งความหวัง ขอพรในวันปีใหม่ ที่เมืองเจียหยาง มีสะพานสิงโตแห่งหนึ่งได้รับความนิยมอย่างมาก ผู้ที่เดินผ่านมักจะจับบางส่วนของตัวสิงโต อย่างเช่นหญิงตั้งครรภ์ จะจับหูสิงโต เพื่อหวังจะได้ลูกชาย เด็กนักเรียนมักจะจับจมูก โดยหวังลายมือการเขียนหนังสือจะสวย จับที่หัวก็หวังว่าจะฉลาดยิ่งขึ้น จับท้องสิงโตจะได้ภรรยาสวย จับปากสิงโต จะได้มีเงินมีทอง จับหางสิงโตจะได้ผลดีในสุดท้าย เป็นต้น

วันขึ้น 15 ค่ำ วันสำคัญสุดท้ายในช่วงวันตรุษจีน ชื่อวัน “ง่วนเซียว” หรือเทศกาลโคมไฟ ในสายตาของชาวแต้จิ๋ว วันนี้มีความสำคัญมาก ถนนหนทางจะมีการวางขายโคมไฟแบบโบราณชนิดต่างๆ ให้เลือก นอกจากนั้น ศาลเจ้าทั่วไปก็มีการติดตั้งโคมไฟไปทั่ว ในหมูบ้านชนบทยังมีการจัดพิธีไหว้บูชาเทวดาขนาดใหญ่ ซึ่งเนื้อไก่ ห่าน เป็ด ผลไม้ ขนมพื้นเมือง เทียนเล่มใหญ่และส้มแต้จิ๋ว ล้วนเป็นสิ่งที่จำเป็น ตามประเพณีดั้งเดิม ยังต้องมีการตั้งสิงโตที่ทำจากน้ำตาล เพราะสิงโตเป็นสัตว์มงคลของจีน มีความสง่า สามารถไล่สิ่งที่ไม่ดีและนำมาซึ่งฐานะและโชคลาภมาด้วย จึงได้รับความนิยมจากชาวแต้จิ๋วอย่างยิ่ง

ตอนเป็นเด็ก โลกของเด็ก หลังอาหารมื้อเย็น พวกเขาจะชูโคมไฟที่พ่อแม่ซื้อให้ พากันออกจากบ้านไปชุมนุมกัน และแห่ตามถนนหนทางตรอกซอกซอย เสียงหัวเราะของเด็กอยู่ในความทรงจำของชาวแต้จิ๋วตลอดชีวิต ถึงแม้ว่า วันรุ่งขึ้นจะต้องตื่นแต่เช้าไปทำงาน  (Bo/Lin) 

  • เสียงข่าวประจำวัน (26-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (26-11-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (26-11-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (25-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (25-11-2567)

何喜玲