สำนักข่าวซินหวา รายงานว่า การชมโทรทัศน์ การใช้คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อย่างกว้างขวาง ทำให้เด็กใช้เวลามากขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ดังกล่าวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เมื่อเร็ว ๆ นี้ ผลการศึกษาวิจัยของแคนาดาพบว่า การใช้เวลามองหน้าจอนานเกินไปอาจจะส่งผลกระทบต่อพัฒนาการเด็ก
ก่อนหน้านี้ สถาบันกุมารเวชศาสตร์ของสหรัฐฯ ได้เผยแพร่คำแนะนำที่ระบุว่า เด็กวัย 2 - 5 ขวบไม่ควรใช้เวลาเวลาอยู่หน้าจอเกิน 1 ชั่วโมง เพื่อทำให้เด็ก ๆ ใช้เวลาอย่างเต็มที่ในกิจกรรมที่เป็นผลดีต่อสุขภาพและพัฒนาการ
เมื่อเร็ว ๆ นี้ นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยคัลการีและมหาวิทยาลัยวอเตอร์ลูของแคนาตา ออกรายงานฉบับหนึ่งระบุว่า ระหว่างเดือนตุลาคม ปี 2011 ถึงเดือนตุลาคม ปี 2016 นักวิจัยได้สังเกตพฤติกรรมของเด็กแคนาดาในวัย 2 - 5 ปี จำนวนกว่า 2,400 คน เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างเวลาที่ใช้อยู่หน้าจอกับพัฒนาการของเด็ก ผลการวิจัยพบว่า เด็กวัย 2 ขวบหากยิ่งใช้เวลาหน้าจอมาก พัฒนาการในวัย 3 ขวบจะยิ่งแย่ลง นอกจากนี้ เมื่อเปรียบเทียบระยะเวลาที่เด็กอยู่กับหน้าจอในเด็กวัย 3 ขวบและพัฒนาการของเด็กในวัย 5 ขวบแล้ว จะมีผลสรุปเช่นเดียวกัน
(Tim/Zhou/Zhou)