10 ประเด็นร้อนที่ชาวเน็ตจีนให้ความสนใจในการประชุมสองสภาปี 2019 - 1

2019-03-11 14:42:26 | CRI
Share with:

图片默认标题_fororder_两会调查-1

10 ประเด็นร้อนที่ชาวเน็ตจีนให้ความสนใจในการประชุมสองสภาปี 2019 - 1

ปัจจุบัน จีนกำลังจัดการประชุม “สองสภา” หรือ การประชุมสภาปรึกษาการเมืองแห่งชาติจีน และการประชุมสภาผู้แทนประชาชนแห่งชาติจีนอยู่ ถือเป็นการสรุปและรายงานผลการดำเนินงานของรัฐบาลในระยะเวลาหนึ่งปีที่ผ่านมา รวมทั้งจัดทำแผนการดำเนินงานในระยะหนึ่งปีต่อจากนี้ ด้านสมาชิกสภาผู้แทนประชาชนจากทุกมณฑล ชนเผ่า และแวดวง จะมีข้อเสนอต่าง ๆ อาทิ การยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน การแก้ไขปัญหาสังคม ตลอดจนความเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาประเทศในขอบเขตต่าง ๆ มาเสนอต่อที่ประชุม

สำหรับการประชุมสองสภาปีนี้ ประชาชนจีนต่างมีประเด็นต่าง ๆ ที่ตัวเองสนใจ ก่อนจัดการประชุมฯ เว็บไซต์เหรินหมินของจีนได้จัดการสำรวจความคิดเห็นของผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตเกี่ยวกับประเด็นร้อนต่าง ๆ ที่น่าสนใจในการประชุมสองสภาปีนี้ ดึงดูดชาวเน็ตจีนที่ร่วมกิจกรรมกว่า 4 ล้าน 5 แสนคน

ซึ่งทางเว็บไซต์เหรินหมินได้แบ่งประเด็นที่ได้รับความสนใจออกเป็น 18 ประเด็น และเปิดโอกาสให้ชาวเน็ตจีนคัดเลือก 10 ประเด็นร้อนที่ตัวเองสนใจมากที่สุด โดยประเด็นเหล่านี้มีเนื้อหาครอบคลุมชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน การบริหารประเทศด้วยกฎหมาย การแก้ไขปัญหาความยากจน และการพัฒนาการศึกษา ฯลฯ

วันนี้ พวกเรามาดูกันว่า จนถึงวันเปิดการประชุม “สองสภา” ปีนี้ 10 ประเด็นร้อนที่ชาวเน็ตจีนสนใจมากที่สุดมีอะไรบ้าง

1. การต่อต้านการทุจริต

ปีนี้ “การต่อต้านการทุจริต” ยังคงเป็นประเด็นร้อนที่สุดในความเห็นของชาวเน็ตจีน ต่อเนื่องกันมาเป็นปีที่ 3 การปราบปรามการทุจริตในปีที่แล้ว มีชาวเน็ตให้ความสนใจสนใจเรื่องการคอร์รัปชั่นของเจ้าหน้าที่ระดับสูง ร้อยละ 39 ส่วนชาวเน็ต ร้อยละ 18  สนใจการแก้ไขปัญหารูปแบบนิยม และการปกครองระบบเจ้าขุนมูลนาย ขณะที่ชาวเน็ตร้อยละ 15 สนใจการจัดตั้งระบบควบคุมดูแลทั้ง 4 ระดับ ได้แก่ ระดับอำเภอ ระดับเมือง ระดับมณฑล และระดับชาติ

ผลการสำรวจครั้งนี้ ระบุว่า ปลายปีที่ผ่านมา ชาวเน็ตจีนต่างเห็นถึงผลสำเร็จของการต่อต้านการทุจริตในระดับหนึ่ง ซึ่งในปัจจุบัน การทำงานของเจ้าหน้าที่มีการปรับปรุงให้ดีขึ้น เช่น มีความรับผิดชอบมากยิ่งขึ้น ให้ความสำคัญต่อความใกล้ชิดกับชาวบ้านมากยิ่งขึ้น และใช้วิธีจัดการกับปัญหาอย่างเหมาะสมมากยิ่งขึ้น เป็นต้น 

ชาวเน็ตจีนให้เห็นความเห็นว่า ปัญหาเจ้าหน้าท้องถิ่นยังคงมีอยู่ไม่น้อย เช่น เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นไม่กล้าต่อสู้กับมาเฟีย การเอารัดเอาเปรียบประชาชน การปกครองโดยเน้นระเบียบแบบแผน และการไม่กระจายอำนาจลงสู่ท้องถิ่น เป็นต้น

2. “การบริหารประเทศตามกฎหมาย”

ปีนี้ ประเด็น “การบริหารประเทศตามกฎหมาย” ได้รับความสนใจเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน จากการสำรวจในปีที่แล้วที่อยู่อันดับ 9 ปีนี้ขยับขึ้นมาเป็นอันดับที่ 2 สำหรับปีนี้ ชาวเน็ตประมาณร้อยละ 40 ให้ความสำคัญต่อ “การปราบปรามผู้มีอิทธิพลทั่วประเทศ” ชาวเน็ตร้อยละ 26 ให้ความสำคัญต่อ “รัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม” นอกจากนี้แล้ว ชาวเน็ตจีนต่างให้ความสนใจประเด็นการปฏิรูปกฎหมาย การปกป้องสิทธิผลประโยชน์ของวีรชนผู้สละชีพของจีน รวมไปถึง การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยภาษีเงินได้ส่วนบุคคล เป็นต้น

มาตรการด้านตุลาการที่ดำเนินมาในช่วงเวลาหลายปีมานี้  ชาวเน็ตร้อยละ 27 สนใจเรื่องการจัดตั้งระบบการควบคุมตรวจสอบผ่านอินเตอร์เน็ต นอกจากนี้ ชาวเน็ตร้อยละ 18 สนใจการเพิ่มความโปร่งใสในการระบุรายชื่อบุคคลที่กระทำผิดสัญญา และละเมิดคำสั่งศาล ชาวเน็ตร้อยละ 15 สนใจเรื่องการเพิ่มระดับการลงโทษบุคคลที่ละเมิดสัญญา และไม่ปฏิบัติตามคำตัดสินของศาล และร้อยละ 14 สนใจเรื่องการลงโทษทางอาญาหรือใช้อำนาจตุลาการกักขังบุคคลดังกล่าวนี้

หลายปีมานี้ รัฐบาลจีนได้ทุ่มเทบริหารประเทศตามกฎหมาย  โดยหน่วยงานราชการมีความรับผิดชอบและความซื่อสัตย์สุจริตมากขึ้น มีการใช้อำนาจชอบด้วยกฎหมายมากยิ่งขึ้น ในขณะที่รัฐบาลมีความโปร่งใสในการเปิดเผยข้อมูลมากยิ่งขึ้น เป็นที่ยอมรับของชาวเน็ตจีน

เดือนสิงหาคม ปี ค.ศ.2018 การประชุมคณะกรรมการบริหารประเทศตามกฎหมายอย่างรอบด้าน ของคณะกรรมการพรรคคอมมิวนิสต์จีน ครั้งที่ 1 นายสี จิ้นผิง ประธานาธิบดีจีน กล่าวย้ำในที่ประชุมว่า ต้องส่งเสริมการนำของพรรคคอมมิวนิสต์จีน ในการบริหารจัดการประเทศตามกฎหมาย ยืนหยัดแนวทางทฤษฎี แนวคิด และยุทธศาสตร์ใหม่ ๆ  บนหนทางสังคมนิยมที่มีลักษณะของจีน

3. “การประกันสังคม”

ประเด็นการปฏิรูประบบประกันสังคม “การยกระดับการประกันสุขภาพขั้นพื้นฐานและการป้องกันโรคร้ายแรงให้สูงยิ่งขึ้น” เป็นสิ่งที่ชาวเน็ตจีนให้ความสำคัญมากที่สุด รองลงมา คือ เรื่อง “การเพิ่มเงินบำนาญขั้นพื้นฐานสำหรับผู้เกษียณอายุการทำงาน และเงินบำนาญของชาวเมืองและชาวชนบท” ขณะเดียวกัน “การจัดสรรเงินบำนาญทั่วประเทศ” และ “การปรับปรุงระบบการประกันสังคมข้ามมณฑล”  ยังคงเป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจจากชาวเน็ตระดับหนึ่ง

เมื่อถามถึงความกังวลของผู้ตอบแบบสอบถามต่อชีวิตในวัยชรา ชาวเน็ตร้อยละ 28 มีความกังวลว่า “เงินบำนาญจะพอสำหรับค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันหรือไม่” ในขณะที่ ชาวเน็ตร้อยละ 25 มีความกังวลเรื่อง “ค่ารักษาพยาบาล” ชาวเน็ตร้อยละ 15 มีความกังวลเรื่อง “ผู้ช่วยดูแลในยามชรา” ชาวเน็ตร้อยละ 14 กังวลเรื่อง  “สภาพแวดล้อมในการใช้ชีวิตในวัยชรา” และชาวเน็ตร้อยละ 12 ให้ความสำคัญต่อ “ความทั่วถึงและคุณภาพของหน่วยงานดูแลคนชรา”

นอกจากนี้แล้ว คำถามเกี่ยวกับ “กลุ่มคนที่ได้รับสิทธิประกันสังคมน้อยที่สุด” ชาวเน็ตให้ความเห็นว่า กลุ่มคนยากจนเนื่องจากป่วยเป็นโรคร้ายแรง กลุ่มผู้สูงอายุที่ไม่มีสมาชิกครอบครัวดูแล  เด็กในชนบทที่พ่อแม่ฝากให้ปูย่าตายายเลี้ยง กลุ่มคนพิการ และกลุ่มคนตกงานในเมือง เป็นต้น เป็นกลุ่มผู้ที่เข้าถึงประกันสังคมได้น้อยที่สุด

Tim/Zi

  • เสียงข่าวประจำวัน (21-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (21-11-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (21-11-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (20-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (20-11-2567)

郑元萍