เทคโนโลยีจีนช่วยส่งเสริมผลไม้ไทยไปทั่วโลก

2019-05-21 15:41:16 | CRI
Share with:

图片默认标题_fororder_20190521ly1

หนังสือพิมพ์เศรษฐกิจรายวันของจีนรายงานว่า  จังหวัดจันทบุรีตั้งอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงใต้และห่างจากกรุงเทพฯกว่า 200 กิโลเมตร เป็นแหล่งผลิตผลไม้ที่ชื่อเสียงของประเทศไทย โดยลำไยนับเป็นผลไม้มีชื่อเสียงชนิดหนึ่ง มีสัดส่วน 20%-30%ของปริมาณการปลูกผลไม้ทั้งหมดในจังหวัดจันทบุรี ลำใยที่นี่เนื้อนุ่ม หวานอร่อย ส่วนใหญ่ส่งออกไปยังประเทศจีน

ปัจจุบัน นักธุรกิจจีนดำเนินการจัดซื้อลำไยจันทบุรีในหลายรูปแบบ เช่น การจัดซื้อลำไยเองแล้วส่งกลับประเทศจีน การจ้างคนไทยช่วยจัดการซื้อและการขนส่ง และยังมีอีกรูปแบบหนึ่งคือ ร่วมมือกับบริษัทไทย เปิดธุรกิจเกี่ยวกับผลไม้ และเปิดโรงงานแปรรูปท้องถิ่น

บริษัทนำเข้า-ส่งออก golden orchard จำกัดของจีน ได้จัดตั้งโรงงานแปรรูปในจังหวัดจันทบุรี โดยเสนอความช่วยเหลือทั้งในด้านเทคโนโลยีและด้านการเงิน เพื่อช่วยชาวสวนจังหวัดจันทบุรีส่งเสริมคุณภาพผลไม้ให้ดีขึ้น ทั้งนี้ บริษัท golden orchard เสนอเงินลงทุนล่วงหน้า 10%-20% ให้ชาวสวนสามารถจัดซื้ออุปกรณ์รุ่นใหม่ ส่งเสริมการรดน้ำ การใส่ปุ๋ยให้ทันเวลา นอกจากนี้แล้ว ทางบริษัทฯ ยังส่งพนักงานเทคนิคไปยังสวนผลไม้ เผยแพร่ความรู้การเพาะปลูกให้กับชาวสวน และช่วยยกระดับการบริหารสวนผลไม้อีกด้วย

ขณะนี้ ช่องทางขนส่งลำไยจากไทยไปยังจีนมี 2 ช่องทางหลักได้แก่ การขนส่งทางบก โดยจะผ่านประเทศลาว เวียดนาม จนถึงเขตปกครองชนเผ่าจ้วงกว่างซี และการขนส่งทางทะเล ลำไยจะถูกจัดขึ้นเรือที่ท่าเรือแหลมฉบัง ที่อยู่ใกล้กับกรุงเทพ และขนส่งไปยังนครกว่างโจว อย่างไรก็ตาม วิธีการขนส่งทั้ง 2 นี้ ต่างต้องใช้เวลา 5-7 วัน  รวมทั้งปัจจัยทางอุณหภูมิ และทางอากาศ มักจะมีผลกระทบต่อคุณภาพของลำไย

ทั้งนี้ กลุ่มบริษัท ซีเทค สิ่งแวดล้อม ของเมืองเซินเจิ้งของจีน ร่วมมือกับกระทรวงเกษตรของไทย และมหาวิทยาลัยบูรพา ดำเนินการวิจัยและคิดค้นห้องเย็นชุมชนออกมา เพื่อยืดอายุผลไม้ อีกทั้งยังสามารถปรับปรุงอุณหภูมิตามผลไม้แต่ละชนิด ปัจจุบัน ห้องเย็นดังกล่าวได้ผ่านการตรวจสอบของมหาวิทยาลัยบูรพาเป็นที่เรียบร้อย โดยรายการ 119 ข้อ ได้ผ่านมาตรการของกระทรวงเกษตรของไทย

(Bo/Zi/Zheng)

  • เสียงข่าวประจำวัน (28-03-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (28-03-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (28-03-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (27-03-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (27-03-2567)

晏梓