บทวิเคราะห์:เศรษฐกิจจีนเดินหน้าอย่างมั่นคงท่ามกลางปัจจัยที่ผันผวน

2019-06-11 16:19:00 | CRI
Share with:

图片默认标题_fororder_20190611rp1

จากข้อมูลของสำนักงานด่านศุลกากรแห่งชาติจีน ประกาศเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน   ช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้  ยอดการนำเข้าส่งออกของจีนมากถึง 12.1ล้านล้านหยวน  เพิ่มขึ้น 4.1 % เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีที่แล้ว    ในวันเดียวกันกระทรวงวัฒนธรรม และการท่องเที่ยวแห่งชาติจีนประกาศว่า   ช่วงเทศกาลบะจ่าง   จำนวนประชาชนที่เดินทางท่องเที่ยวในประเทศเพิ่มขึ้น 7.7% เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีที่แล้ว   รายได้จากการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น 8.6%  

ภายใต้สถานการณ์ความขัดแย้งทางการค้าระหว่างประเทศที่ยกระดับขึ้นในบริบทโลก  และการนำเข้าส่งออกระหว่างประเทศที่ชะลอตัวลง     การค้ากับต่างประเทศของจีนยังคงเติบโตขึ้นอย่างมั่นคง    การอุปโภคบริโภคช่วงวันหยุดเทศกาลยังคงเพิ่มขึ้น   ทั้งนี้แสดงให้เห็นว่า  เศรษฐกิจจีนมีความแข็งแกร่ง   มีศักยภาพมาก  และมีแนวโน้มการพัฒนาที่ดี  

การนำเข้าส่งออกของจีนในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ มีจุดเด่นสองประการ คือประการแรก      การค้าทั่วไปเติบโตขึ้น 6.1%   สะท้อนให้เห็นว่า   การยกระดับอุตสาหกรรมของจีนกำลังมีบทบาทมากขึ้นในการพัฒนาเศรษฐกิจ  และอุตสาหกรรมของจีนมีกำลังการแข่งขันมากขึ้นในตลาดสากล    

ประการที่สอง   แม้ว่ายอดมูลค่าการค้าระหว่างจีน-สหรัฐฯในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ลดลง 9.6%   คิดเป็น 11.7% ของยอดมูลค่าการค้าต่างประเทศของจีน   แต่ยอดการนำเข้าส่งออกระหว่างจีนกับหุ้นส่วนการค้าสำคัญ เช่น  สหภาพยุโรป   อาเซียน และญี่ปุ่นกลับขยายตัวอย่างต่อเนื่อง และการนำเข้าส่งออกระหว่างจีนกับประเทศรายทาง “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง”เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว   มีอัตราเติบโตสูงกว่าดัชนีเฉลี่ยของการค้าต่างประเทศ  4.9%   ทั้งนี้แสดงให้เห็นว่า   หุ้นส่วนการค้าของจีนนับวันจะมีความหลากหลายยิ่งขึ้น  จีนสามารถเพิ่มทักษะในการต้านแรงกดดันจากภายนอกให้เข้มแข็งขึ้น ด้วยวิธีการปรับสภาวะการตลาดระหว่างประเทศ  

การที่ดัชนีการค้าต่างประเทศ และการอุปโภคบริโภคช่วงเทศกาลของจีนในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ดีกว่าที่คาดการณ์ ถือเป็นเรื่องไม่ง่าย  เพราะเกิดขึ้นภายใต้สถานการณ์ที่สหรัฐฯ ยกระดับความขัดแย้งทางการค้ากับจีนอีกครั้งหนึ่ง

จริงๆ แล้ว หากจีนไม่สามารถขจัดความยากลำบากทางเศรษฐกิจในด้านต่างๆ ก็คงไม่ประสบความสำเร็จอย่างทุกวันนี้    หลังผ่านการทดสอบจากวิกฤตการเงินในเอเชียปี 1997 และวิกฤตการเงินระหว่างประเทศปี 2008     เศรษฐกิจจีนมีความแข็งแกร่งและมั่นคงมากยิ่งขึ้น   ปัจจุบัน   จีนมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับสอง  เป็นประเทศอุตสาหกรรมใหญ่เป็นอันดับหนึ่ง   เป็นประเทศการค้าสินค้าใหญ่อันดับหนึ่ง   และเป็นประเทศที่มีเงินตราต่างประเทศสำรองมากที่สุดในโลก   ยอดมูลค่าเศรษฐกิจจีนมีมากกว่า  90 ล้านล้านหยวน     จีนยังมีตลาดอุปโภคบริโภคที่มีประชากร 1,400 ล้านคน ซึ่งถือเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดในโลก     นอกจากนี้ จีนยังมีระบบอุตสาหกรรมที่สมบูรณ์ที่สุดในโลก   ทั้งนี้ทำให้จีนมีความมั่นใจในการรับมือกับปัจจัยทางเศรษฐกิจที่ผันผวน

นอกจากนี้  การพัฒนาที่มีคุณภาพเป็นจุดเด่นอีกจุดหนึ่งของเศรษฐกิจจีน   ปัจจุบัน   ความต้องการภายในประเทศกลายเป็นพลังขับเคลื่อนที่สำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจ     มีอัตราส่วนที่เอื้อต่อการเติบโตของเศรษฐกิจสูงถึง 100 %    ขณะที่เศรษฐกิจส่วนที่ต้องพึ่งพาการค้ากับต่างประเทศของจีนลดลงเหลือเพียง 33%       ขณะเดียวกัน  โครงสร้างเศรษฐกิจจีนได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง     เมื่อปี 2018     รายจ่ายด้านการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีของจีนคิดเป็น 2.18% ของจีดีพี   ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์เข้ามามีส่วนร่วมสูงถึง 58.5%  ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจจีน  เมื่อปีที่แล้ว  จีนถูกจัดอยู่ใน 20  อันดับแรกของการพัฒนานวัตกรรมโลกเป็นครั้งแรก    การเปลี่ยนรูปแบบการพัฒนา และการขับเคลื่อนการพัฒนาทางเศรษฐกิจด้วยนวัตกรรม ทำให้จีนมีทักษะที่เข้มแข็งขึ้นในการรับมือกับความเสี่ยงด้านเศรษฐกิจจากภายนอก

ปัจจุบัน   จีนกำลังเปิดสู่ภายนอกมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง กำลังกลายเป็นแหล่งลงทุนที่ดีของเงินทุนต่างชาติ  ช่วง 4 เดือนแรกของปีนี้  เงินทุนต่างประเทศที่จีนได้นำไปใช้แล้วเพิ่มขึ้น 6.4% เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีที่แล้ว     ผู้รับผิดชอบของบริษัทข้ามชาติหลายๆ แห่ง เช่น  บริษัทควอลคอมม์ (Qualcomm)  บริษัทในเครือโอเอสไอ กรุ๊ป (OSI Group)   บริษัท Jaguar Land Rover     และบริษัท ชไนเดอร์  (Schneider Electric) ล้วนออกมาแสดงท่าทีว่า  มีความปรารถนาที่จะมาลงทุนในจีน  เพื่อมีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนาที่มีคุณภาพของจีน 

เศรษฐกิจจีนที่เติบโตขึ้นอย่างมั่นคงยังส่งผลให้เศรษฐกิจโลกมีความมั่นคงด้วย     หลายปีมานี้   เศรษฐกิจจีนมีส่วนช่วยในด้านการพัฒนาเศรษฐกิจโลกมากกว่า 30%  นาย ฌอน ปิแอร์ ราฟฟาริน (Jean-Pierre Raffarin) อดีตนายกรัฐมนตรีฝรั่งเศสกล่าวไว้ว่า   ความเป็นไปได้ของแนวโน้มการพัฒนาเศรษฐกิจจีนเป็นสิ่งล้ำค่าในโลกปัจจุบัน    จากการคาดการณ์ขององค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ หรือ โออีซีดี  จีนจะยังคงเป็นประเทศที่มีส่วนช่วยเหลือการพัฒนาเศรษฐกิจโลกมากที่สุด    

(bo/cai)  

  • เสียงข่าวประจำวัน (15-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (15-11-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (15-11-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (14-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (14-11-2567)

蔡建新