การประชุมจี 20 รับมือแนวคิดสวนกระแสโลกาภิวัตน์

2019-06-25 18:55:34 | CRI
Share with:

图片默认标题_fororder_20190625Gel1

วันที่ 27 มิถุนายน นายสี จิ้นผิง ประธานาธิบดีจีนจะเดินทางไปเมืองโอซาก้า ของประเทศญี่ปุ่นเพื่อเข้าร่วมการประชุมสุดยอดผู้นำจี 20 ครั้งที่ 14 นับเป็นครั้งที่ 7 ที่นายสี จิ้นผิงเข้าร่วมหารือเป็นประธานของการประชุม ในการประชุมหลายครั้งที่ผ่านมา ผู้นำจีนล้วนได้ให้ข้อคิดและข้อเสนอของจีนเกี่ยวกับการบริหารเศรษฐกิจโลก  แสดงให้เห็นถึงความรับผิดชอบของจีนในฐานะประเทศใหญ่ของโลก

ปี 2008 วิกฤติการเงินที่เกิดขึ้นจากสหรัฐฯ กระหน่ำทั่วโลก เพื่อไม่ให้วิกฤติครั้งนี้เลวร้ายแรงยิ่งขึ้นและก่อให้เกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจทั่วโลก ผู้นำกลุ่มจี 20 ชุมนุมกันที่กรุงวอชิงตันเป็นครั้งแรกเพื่อหารือวิธีการรับมือ แสดงบทบาทของประเทศกำลังพัฒนาและประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ ใช้มาตรการกระตุ้นทางการเงิน การขยายผลทางการเงินและการปฏิรูประบบกำกับดูแล เป็นต้น จึงได้ควบคุมวิกฤติอย่างมีประสิทธิผล และฟื้นฟูความมั่นใจของตลาดโลก

10 ปีที่ผ่านมา การประชุมสุดยอดจี 20 ได้พัฒนาจาก “กลไกรับมือวิกฤติ” มาเป็น “กลไกบริหารถาวร” กลายเป็นหนึ่งกลไกพหุภาคีที่สำคัญของเศรษฐกิจระหว่างประเทศ แต่ปีหลังๆ นี้ ลัทธิเอกภาคี นโยบายกีดกันทางการค้า และแนวคิดสวนทางกระแสโลกาภิวัตน์มีแนวโน้มรุนแรงมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะสหรัฐฯ ได้ก่อความขัดแย้งทางการค้าฝ่ายเดียวทั่วโลก ทำให้สมาชิก จี 20 ถูกผลกระทบ ทำให้การประชุมสุดยอดโอซาก้าเผชิญกับความท้าทายที่เข้มงวดและสลับซับซ้อนยิ่งขึ้น 

กลุ่มประเทศจี 20 มีประชากร 66% ของโลก มวลรวมเศรษฐกิจเป็นสัดส่วน 85% ของโลก การค้าระหว่างประเทศ 75% ของโลก และยังมีการลงทุนคิดเป็น 85% ของโลก ประวัติศาสตร์กว่า 10 ปีของการประชุมจี 20 แสดงให้เห็นว่า ถ้าหากสมาชิกต่างๆ สามารถประสานจุดยืน เปิดกว้างและร่วมมือกัน กลไกจี 20 ก็จะมีความสามารถในการแก้ไขวิกฤติ ทำให้เศรษฐกิจโลกเดินหน้าสู่หนทางที่ถูกต้อง

(Bo/Lin/Zhou)

  • เสียงข่าวประจำวัน (26-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (26-11-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (26-11-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (25-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (25-11-2567)

林钦亮