บทวิเคราะห์: ความเป็นธรรมเรื่องแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขงอยู่ที่ข้อเท็จจริง

2019-08-03 11:46:54 | CRI
Share with:

แม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขง ลำน้ำสายเดียวกัน แต่มีสองชื่อ สายน้ำสำคัญที่ประชาชนจีน ไทย เวียดนาม ลาว กัมพูชา และเมียนมา  6 ประเทศ ต้องใช้พึ่งพาอาศัยร่วมกัน ปีนี้ แม่น้ำโขงตอนล่างเกิดวิกฤตภัยแล้งบางพื้นที่ ขณะเดียวกัน แม่น้ำล้านช้างตอนบนก็เกิดภัยแล้งเช่นกัน  เมื่อคำนึงถึงความเดือดร้อนของประชาชนในประเทศปลายน้ำ จีนจึงได้บรรเทาความเดือดร้อนโดยเพิ่มปริมาณการปล่อยน้ำลงสู่แม่น้ำตอนล่างให้มากขึ้น เกินกว่าปริมาณการปล่อยน้ำปกติของปีทั่วไป จีนหวังว่า มาตรการที่มีน้ำใจนี้จะช่วยบรรเทาภัยแล้งในแม่น้ำโขงตอนล่างได้

อย่างไรก็ตาม ช่วงหลังๆ นี้ กลับมีสื่อมวลชนบางรายทำให้ผู้รับข่าวสารเข้าใจไปในทางที่ผิด โดยรายงานว่า เขื่อนกำเนิดไฟฟ้าพลังน้ำของจีนได้กักเก็บน้ำในแม่น้ำตอนบน เป็นเหตุให้เกิดภัยแล้งในแม่น้ำตอนล่าง

ผู้เชี่ยวชาญด้านชลประทานที่มีชื่อเสียงของไทยคนหนึ่ง ได้ตอบโต้เรื่องดังกล่าวอย่างเฉียบขาด ขณะให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวไทยว่า ภัยแล้งที่เกิดขึ้นในประเทศไทยมีสาเหตุมาจากอุณหภูมิโลกที่สูงขึ้น และปริมาณฝนที่ตกน้อยลง เขาระบุว่า “เขื่อนกำเนิดไฟฟ้าพลังน้ำของจีนที่อยู่ต้นน้ำ มีขึ้นเพื่อผลิตไฟฟ้า ดังนั้น จึงไม่เพียงแต่ไม่กักเก็บน้ำ หากยังต้องอาศัยการปล่อยน้ำจึงจะสามารถผลิตไฟฟ้าได้ ทำไมจึงไปโทษจีนเล่า?”

ปริมาณน้ำจากแม่น้ำล้านช้าง คิดเป็นสัดส่วนเพียงร้อยละ 13.5 ของปริมาณน้ำทั้งหมดในลุ่มแม่น้ำโขง ในขณะที่ ปริมาณน้ำส่วนใหญ่ในลุ่มน้ำโขงมาจากแม่น้ำสาขาต่าง ๆ ที่อยู่ปลายน้ำและปริมาณน้ำฝน ในปี 2013 และ 2016 ลุ่มแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขงเกิดภัยแล้งอย่างรุนแรงทั้งลุ่มน้ำ จีนก็ประสบภัยแล้งเช่นกัน อย่างไรก็ตาม จีนยังคงบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน โดยการใช้มาตรการปล่อยน้ำลงสู่แม่น้ำโขงตอนล่างเป็นการเร่งด่วน เพื่อช่วยให้ประชาชน 60 ล้านคนในปลายน้ำผ่านพ้นวิกฤตภัยแล้งไปได้

ที่จริงแล้ว บทบาทของเขื่อนกำเนิดไฟฟ้าพลังน้ำที่อยู่ต้นน้ำของจีนนั้น คณะกรรมการแม่น้ำโขงเคยมีข้อสรุปตีพิมพ์ในปี 2017 ว่า “เขื่อนกำเนิดไฟฟ้าพลังน้ำที่อยู่ตอนบนไม่ใช่สาเหตุของการเกิดภัยแล้งในลุ่มแม่น้ำโขง ในทางตรงกันข้าม เขื่อนกำเนิดไฟฟ้าพลังน้ำที่อยู่ในลุ่มน้ำตอนบน กลับมีบทบาทในการปรับระดับน้ำทั้งในช่วงน้ำหลากและช่วงน้ำน้อย ซึ่งเห็นได้จากเมื่ออากาศร้อนจัดทำให้เกิดภัยแล้งในลุ่มแม่น้ำตอนล่าง”

ทว่า ยังคงมีหลายประเทศนอกลุ่มน้ำมองข้ามข้อเท็จจริง โดยกล่าวอย่างไร้ความรับผิดชอบ ทั้งนี้ อาจเป็นเพราะว่า พวกเขาอิจฉาผลของความร่วมมือในลุ่มแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขง หรือไม่ก็มุ่งยุแหย่ความสัมพันธ์ของประเทศลุ่มแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขง และทำลายความร่วมมือของประเทศลุ่มน้ำ

ข้อเท็จจริงย่อมเหนือกว่าคำพูด ดั่งที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีของไทย ผู้ริเริ่มความร่วมมือลุ่มแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขง เชื่อว่า ความร่วมมือลุ่มน้ำดังกล่าวจะนำมาซึ่งความผาสุกแก่ทุกประเทศสมาชิก                                                   

(TIM/LING/CICI)

  • เสียงข่าวประจำวัน (26-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (26-11-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (26-11-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (25-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (25-11-2567)

何喜玲