จีนออกบทวิเคราะห์ แนวคิดเกมผลรวมศูนย์ (Zero Sum Game)ทำลายทุกฝ่าย

2019-08-05 11:53:45 | CRI
Share with:

图片默认标题_fororder_20190805lhyx1

เมื่อเร็วๆนี้ สหรัฐฯ ประกาศปรับเพิ่มการเก็บภาษีศุลกากร 10% ต่อสินค้าที่นำเข้าจากจีนวงเงิน 300,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งไม่เป็นไปตามฉันทามติระหว่างการเจรจาผู้นำจีน-สหรัฐฯที่โอซากา สะท้อนว่า สหรัฐฯ ยังคงยึดแนวคิดเกมผลรวมเป็นศูนย์ หรือ Zero Sum Game ซึ่งจะเป็นการสร้างอุปสรรคต่อการเจรจาทางเศรษฐกิจและการค้าระหว่างจีน-สหรัฐฯ ทำลายประโยชน์ของคนจีนและทั่วโลก ทำให้เศรษฐกิจโลกมีความเสี่ยงที่จะชะลอตัวมากขึ้น

แนวคิดเกมผลรวมเป็นศูนย์ระบุว่า เมื่อฝ่ายหนึ่งได้เปรียบ อีกฝ่ายก็ต้องเสียเปรียบ ไม่แพ้ก็ต้องชนะ ผลรวมประโยชน์ของสองฝ่ายจะเป็น “ศูนย์” ตลอด แนวคิดนี้นับว่าเหลวไหลในทางทฤษฎี และเป็นภัยในทางปฏิบัติ แต่ว่าคนบางส่วนในสหรัฐฯ นำแนวคิดนี้ไปใช้ในเศรษฐกิจระหว่างประทศ มองว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศอื่นเป็นการทำลายประโยชน์ทางเศรษฐกิจของประเทศตน จึงต้องใช้ปฏิบัติการตอบโต้ ช่วงกว่า 1 ปีที่ผ่านมา สหรัฐฯ พูดจาไม่อยู่กับร่องกับรอย ใช้แรงกดดันขั้นสุด และมีข้อเรียกร้องเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปฏิบัติการเหล่านี้ล้วนมาจากแนวคิดเกมผลรวมเป็นศูนย์

อย่างไรก็ตาม โลกปัจจุบันเปิดเสรีและเชื่อมถึงกัน กระแสโลกยุคใหม่ทางเศรษฐกิจไม่อาจต้านทานได้ มนุษย์เป็นประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันและร่วมทุกข์ร่วมสุขกันมานาน แนวคิดเกมผลรวมเป็นศูนย์เป็นแนวคิดที่ล้าหลัง ไม่เหมาะสมสำหรับยุคปัจจุบัน และถูกคัดออกโดยประวัติศาสตร์ คนอเมริกันบางคนยังคงฝันที่จะใช้แนวคิดเกมผลรวมเป็นศูนย์นี้มารักษาความเป็นใหญ่แต่เพียงผู้เดียว อีกทั้งยังเป็นการขัดกับกฎเกณฑ์การพัฒนาทางเศรษฐกิจ ยิ่งกว่านั้นเป็นการทวนกระแสการพัฒนาทางประวัติศาสตร์ รังแต่จะทำลายทั้งตนเองและผู้อื่น

จีน-สหรัฐฯ ในฐานะประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่ 2 อันดับแรกของโลก มีปัญหาเศรษฐกิจและการค้าที่สลับซับซ้อน มีเพียงการเจรจาเท่านั้นจึงจะแก้ไขปัญหาได้ ขอให้ชาวอเมริกันบางคนมองแนวโน้มการพัฒนาทางประวัติศาสตร์อย่างถ่องแท้ คล้อยตามกฎเกณฑ์การพัฒนาทางเศรษฐกิจ ก้าวออกจากแนวคิดเกมผลรวมเป็นศูนย์โดยเร็ว เปิดทางให้การเจรจานำไปสู่การแก้ไขปัญหา ไม่ใช่ปฏิบัติเพื่อสร้างปัญหา

(BO/LING/CAI)

  • เสียงข่าวประจำวัน (15-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (15-11-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (15-11-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (14-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (14-11-2567)

何喜玲