บทวิเคราะห์: การใส่ร้ายจีนเป็น“นักปั่นค่าเงิน”เป็นเรื่องสองมาตรฐาน

2019-08-09 11:28:45 | CRI
Share with:

图片默认标题_fororder_20190809rp1

เมื่อเร็ว ๆ นี้ กระทรวงการคลังสหรัฐฯ จัดจีนในบัญชี “ประเทศนักปั่นค่าเงิน” ซึ่งไม่เพียงแต่ขัดต่อมาตรฐานการประเมินที่สหรัฐฯ กำหนดไว้เองเท่านั้น หากยังแสร้งเป็นมองไม่เห็นการที่รัฐบาลสหรัฐฯ  กดดันเฟดให้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยหลายครั้ง จึงเรียกได้ว่า เป็นการใช้สองมาตรฐานเพื่อยับยั้งคู่แข่ง อย่างไรก็ตาม การที่จีนมีความได้เปรียบด้านการแข่งขันในตลาดโลก ไม่ใช่มาจากการปั่นค่าเงินอย่างแน่นอน  หากมาจากการเปรียบเทียบผลของการทำงานกับค่าใช้จ่าย หรือ สินค้าที่เหมือนกันสามารถนำมาเปรียบเทียบกันด้วยราคา นอกจากนี้ จีนมีโซ่กิจการที่ครบสมบูรณ์ที่สุดในโลก มีความได้เปรียบด้านโซ่อุปทานอย่างเห็นได้ชัด ดังนั้น สินค้าจีนจึงเป็นสินค้าที่ไม่อาจทดแทนได้ ในสายตาของผู้ประกอบการสหรัฐฯ

ในอีกแง่หนึ่ง การกล่าวหาจีนเป็น “นักปั่นค่าเงิน” ก็ไม่ตรงกับความเป็นจริงของเศรษฐกิจจีน ซึ่งกำลังปรับตัวจากการเติบโตอย่างรวดเร็วมาเป็นการเติบโตอย่างมีคุณภาพสูง ดังนั้น การทำให้ค่าเงินหยวนอ่อนตัวจะไม่สอดคล้องกับประโยชน์ของจีนเอง ขณะที่ เศรษฐกิจจีนที่มีแนวโน้มอยู่ในเกณฑ์ดีมาในระยะยาว ได้ทำให้ค่าเงินหยวนอยู่ในระดับสมเหตุสมผล  สมดุล และมั่นคงเป็นปกติ

(TIM/LING/CAI)

  • เสียงข่าวประจำวัน (26-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (26-11-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (26-11-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (25-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (25-11-2567)

何喜玲