บทวิเคราะห์: จีนชี้รายงานไอเอ็มเอฟไม่ตรงกับที่สหรัฐฯ กล่าวหาจีน

2019-08-11 12:57:10 | CRI
Share with:

图片默认标题_fororder_20190811IMF1

วันที่ 9 สิงหาคม ตามเวลาท้องถิ่น  กองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ ไอเอ็มเอฟ ออกรายงานฉบับหนึ่งโดยย้ำว่า   การเกินดุลบัญชีเดินสะพัดของจีนในปี 2018 ลดลง  อัตราแลกเปลี่ยนเงินหยวนอยู่ในระดับที่สอดคล้องกับพื้นฐานทางเศรษฐกิจ   ทั้งนี้สะท้อนให้เห็นอย่างชัดเจนว่า   การที่สหรัฐฯ กล่าวหาจีนเป็นประเทศบิดเบือนอัตราแลกเปลี่ยนนั้นไม่มีมูลความจริง 

ในฐานะองค์กรวิชาชีพที่มีหน้าที่รักษาเสถียรภาพของระบบการเงินโลก   ไอเอ็มเอฟ จะส่งคณะทำงานเดินทางไปปรึกษาหารือกับแต่ละประเทศสมาชิกเป็นประจำทุกปี  เมื่อเดือนพฤษภาคมปี 2015   ไอเอ็มเอฟก็มีข้อสรุปออกมาว่า  เงินหยวนไม่ได้ถูกประเมินค่าต่ำเกินไป     เมื่อเร็วๆ นี้   ไอเอ็มเอฟย้ำอีกครั้งหลังสิ้นสุดการปรึกษาหารือกับจีนประจำปีนี้ว่า  อัตราแลกเปลี่ยนของเงินหยวนสอดคล้องกับพื้นฐานทางเศรษฐกิจของจีน ค่าเงินหยวนอยู่ในระดับที่สมเหตุสมผล

จากรายงานของ ไอเอ็มเอฟ ที่ได้ประกาศอย่างเป็นทางการเมื่อเร็วๆ นี้  อัตราส่วนการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดในผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศของจีน ในปี 2018  ลดลงราว 1%  มาอยู่ที่ 0.4%  คาดการณ์ว่า  อัตราส่วนในปี2019 จะอยู่ที่ 0.5%  ข้อสรุปนี้สวนทางกับการกล่าวหาของสหรัฐฯว่า จีนเป็นประเทศผู้บิดเบือนอัตราแลกเปลี่ยน เพื่อความได้เปรียบในการแข่งขันทางการค้าซึ่งไม่ยุติธรรม 

วันเดียวกัน   ผู้รับผิดชอบที่เกี่ยวข้องจาก ไอเอ็มเอฟ ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนผ่านทางโทรศัพท์ว่า   จีนมีความคืบหน้าในการเสริมความยืดหยุ่นของอัตราแลกเปลี่ยน    และ ไอเอ็มเอฟ สนับสนุนให้จีนเพิ่มความยืดหยุ่นของอัตราแลกเปลี่ยนต่อไป    จุดยืนดังกล่าวของไอเอ็มเอฟ สอดคล้องกับแนวทางของกลไกอัตราแลกเปลี่ยนเงินหยวน   และชื่นชมจีนที่ได้ทำการปฏิรูประบบอัตราแลกเปลี่ยนเพื่อให้เข้าสู่กลไกการตลาดในช่วงหลายปีที่ผ่านมา   

ตั้งแต่ปี 2015 เป็นต้นมา  จีนใช้กลไกอัตราแลกเปลี่ยนที่มีความหลากหลาย โดยมีการกำกับดูแลบริหาร บนพื้นฐานการอุปทานและอุปสงค์ในตลาด  และสอดคล้องกับตะกร้าสกุลเงินหลักอื่นๆ   นอกจากนี้ จีนได้ลงลึกการปฏิรูปกลไกอัตราแลกเปลี่ยนอย่างต่อเนื่อง     ทำให้อัตราแลกเปลี่ยนมีความยืดหยุ่นมากขึ้นเรื่อยๆ 

ในฐานะประเทศที่มีเศรษฐกิจขนาดใหญ่อันดับ2 ของโลก และมีความรับผิดชอบ จีนยึดมั่นในคำมั่นสัญญาเกี่ยวกับอัตราแลกเปลี่ยนที่ให้ไว้กับการประชุมสุดยอดผู้นำกลุ่มประเทศ จี 20 ทุกครั้งมาโดยตลอด  โดยยืนหยัดจะไม่ลดค่าเงินหยวนให้อ่อนลงเพื่อความได้เปรียบในการแข่งขัน    จีนไม่เคยและจะไม่ใช้อัตราแลกเปลี่ยนเป็นเครื่องมือในการรับมือกับความขัดแย้งทางการค้า 

ช่วงเวลาที่ผ่านมา   เงินหยวนอ่อนค่าลงในระดับหนึ่ง  ซึ่งเป็นผลจากการอุปทานและอุปสงค์ในตลาด   รู้กันโดยทั่วไปว่าการที่สหรัฐฯ สร้างความขัดแย้งทางการค้าทั่วโลกนั้นทำให้ความกังวลและความต้องการเลี่ยงความเสี่ยงในตลาดเพิ่มมากขึ้น ช่วงหนึ่งปีที่ผ่านมาระหว่างจีน-สหรัฐฯดำเนินการปรึกษาหารือทางการค้า  สหรัฐฯ ไม่เคยรักษาคำมั่นสัญญาที่ให้ไว้กับจีน ไม่มีความน่าเชื่อถือ โดยขู่ว่าจะยกระดับการขึ้นภาษีสินค้าจากจีนตลอด  ซึ่งส่งผลกระทบต่อการคาดการณ์ของตลาด     วารสาร The Economist ของอังกฤษเผยแพร่บทความเมื่อเร็วๆ นี้ว่า  การที่เงินหยวนอ่อนค่าลงในช่วงที่ผ่านมานั้น เป็นการตอบสนองตามธรรมชาติของตลาดจากการคาดการณ์ต่อนโยบายของสหรัฐฯที่จะขึ้นภาษีสินค้าจากจีน 

หลังไอเอ็มเอฟ ออกรายงานฉบับดังกล่าว   นักเศรษฐศาสตร์สหรัฐฯ หลายคนให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนว่า  รายงานของ ไอเอ็มเอฟ ฉบับนี้ยืนยันว่าจีนไม่ได้บิดเบือนอัตราแลกเปลี่ยน การที่สหรัฐฯ ใช้ฐานะที่แข็งแกร่งในระบบการเงินโลก และระบบการค้าระหว่างประเทศในทางที่ผิด    โดยกดดันจีนทั้งทางด้านการค้าและการเงินนั้น เป็นการกระทำที่ไม่มีความรับผิดชอบ  สหรัฐฯต้องศึกษารายงานของไอเอ็มเอฟ ฉบับนี้ให้ละเอียด  เพื่อจะได้พิจารณาอัตราการแลกเปลี่ยนเงินหยวนตามความเป็นจริง และมีเหตุมีผล

(bo/cai)

  • เสียงข่าวประจำวัน (15-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (15-11-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (15-11-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (14-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (14-11-2567)

蔡建新