พิพิธพันฑ์ "สื่อเจียหูท่ง" (ซอยสื่อเจีย) กรุงปักกิ่ง - 1

2020-01-02 21:46:40 | CRI
Share with:

图片默认标题_fororder_20200102-1

มาเที่ยวกรุงปักกิ่ง นอกจากสถานที่ต่างๆ ตามไกด์บุ๊คแล้ว ยังมีจุดน่าเที่ยวหลายๆ แห่งด้วย วันนี้ก็จะแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวน่าสนใจแห่งหนึ่ง ซึ่งก็คือ พิพิธพันฑ์ "สื่อเจียหูท่ง"

ปักกิ่งเป็นเมืองที่ขึ้นชื่อในหูท่ง หรือ ตรอกซอกซอย กับ "ซื่อเหอย่วน" หรือบ้านล้อมลาน ส่วนที่นี่เป็นพิพิธพันฑ์หูท่งแห่งแรกของกรุงปักกิ่งพิพิธพันฑ์ "สื่อเจียหูท่ง"  ตั้งอยู่ที่เลขที่ 24 ซอย "สื่อเจีย" หรือสื่อเจียหูท่งนั่นแหละ เป็นบ้านล้อมลานตัวจริง และขนาดใหญ่ด้วย เคยเป็นบ้านเก่าของนางหลิง ซูหวา ซึ่งเป็นนักเขียนและนักวาดภาพชื่อดังของจีนในสมัยก๊กมิ่นตั๋ง โดยเธอเกิดเมื่อปี 1900 คุณพ่อของเธอเคยเป็นข้าราชการระดับสูงในราชวงชิง

พิพิธพันฑ์แห่งนี้มีพื้นที่ 1,267 ตารางเมตร แต่เป็นแค่ส่วนหนึ่งของบ้านครอบครัวนายหลิง ซึ่งเป็นบ้าน 2 ชั้นหลังสุดในบ้านนางหลิง เป็นของขวัญที่คุณพ่อมอบให้นางหลิง ซูหวา ในเมื่อเธอแต่งงาน ฉะนั้น พิพิธพันฑ์แห่งนี้ประกอบด้วยบ้านเรือน 3 แถว ลานกลางแจ้ง 1 แห่ง และสวนดอกไม้อีก 1 แห่ง

เมื่อปี 1946 นางหลิงซูหวาย้ายไปอยู่ที่อังกฤษ ภายหลัง ลูกสาวของเธอจึงมอบบ้านของคุณแม่ให้กับรัฐบาลจีน  นอกจากนางหลิง ซูหวาแล้ว ยังมีผู้มีชื่อเสียงของจีนอีกมากมายเคยพักในซอยนี้ เมื่อปี 2010 ชาวบ้านที่นี่มีความปรารถนาที่อนุรักษ์และฟื้นฟูวัฒนธรรมดั้งเดิมของหูท่งปักกิ่ง เพาะฉนั้น ทางการท้องถิ่นจึงได้รวบรวมผู้แทนชาวบ้าน ผู้แทนหน่วยงานในบริเวณนี้ รวมทั้งผู้เชี่ยวชาญและนักวิชาการที่ศึกษาวัฒนธรรมหูท่ง เพื่ออภิปรายเกี่ยวกับการก่อตั้งพิพิธพันฑ์แห่งนี้ขึ้น และผ่านการบูรณะสร้างสรรค์เป็นเวลา 2 ปี และการตกแต่งและจัดวางของแสดงเป็นเวลาอีก 1 ปี พิพิธพันฑ์ "สื่อเจียหูท่ง" จึงเปิดให้เข้าชมอย่างเป็นทางการในปี 2013

图片默认标题_fororder_20200102-2

พิพิธพันฑ์ "สื่อเจียหูท่ง" เป็นแหล่งที่แสดงให้เห็นถึงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของหูท่ง (ตรอกซอกซอย) และซื่อเหอย่วน (บ้านล้อมลาน) รวมทั้งให้แสดงให้เห็นถึงชีวิตความเป็นอยู่แบบดั้งเดิมและพื้นบ้านของชาวปักกิ่งด้วย เป็นสถานที่ที่ดีเพื่อทำความเข้าใจกับวัฒนธรรมปักกิ่ง

ที่มาของคำว่า “หูท่ง” มาคำอธิบาย 2 อย่าง อย่างหนึ่งระบุว่า มาจากภาษามองโกล เดิมมีความหมายว่า บ่อน้ำ ขณะก็มีนักวิชาการเห็นว่า คำนี้มาจากชื่อเรียกซอยในราชวงฮั่น ต่อมาถึงราชวงเหลียวจิน ชาวบ้านทางภาคเหนือของจีนจะเรียกตรอบซอกซอยต่างๆ เป็นหูท่ง พอถึงราชวงหมิง จึงได้ตั้งชื่อเป็น “หูท่ง” อย่างเป็นทางการ แต่ตัวอักษรเขียนยากมาก โดยแต่ละตัวประกอบด้วยทั้งส่วนบอกเสียงและส่วนบอกความหมาย และหมายถึงถนนหรือทางเล็กๆ ที่มีคนเดินผ่าน พอถึงราชวงชิง จึงได้ลดความสลับซับซ้อนด้านการเขียน ให้เป็นตัวอักษรในภาษาจีนปัจจุบัน

ถ้าอยากจะเข้าใจประวัติศาสตร์ของ "หูท่ง" ก็ต้องรู้จักประวัติศาสตร์ของกรุงปักกิ่งก่อน ซึ่งดิฉันจะอธิบายให้ทราบในคราวหน้าค่ะ

Tim/Ldan

  • เสียงข่าวประจำวัน (02-05-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (02-05-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (02-05-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (01-05-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (01-05-2567)

张丹