จีนประกาศ“ข้อกำหนดการสั่งสอนลงโทษนักเรียนสำหรับครูชั้นมัธยมและชั้นประถม”(1)

2020-01-16 07:59:22 | ไชน่ามีเดียกรุ๊ป
Share with:

图片默认标题_fororder_1116-1

เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายนปีที่แล้ว กระทรวงศึกษาธิการของจีนได้ประกาศ “ข้อกำหนดการสั่งสอนลงโทษนักเรียนสำหรับครูในโรงเรียนชั้นมัธยมและชั้นประถม” ถือเป็นเรื่องสำคัญมากสำหรับทั้งครู ผู้ปกครองและนักเรียน

เอกสารดังกล่าวระบุว่า ในระหว่างการเรียนการสอนในห้องเรียน หรือการดูแลนักเรียนประจำวัน หากนักเรียนละเมิดกฎเกณฑ์และระเบียบวินัย ครูสามารถสั่งสอนและลงโทษนักเรียนในรูปแบบการตักเตือนนักเรียนโดยระบุชื่อ  ให้ออกกำลังกายมากขึ้น  ปรับให้ยืนในห้องเรียนภายในไม่เกินเวลาหนึ่งชั่วโมงเรียน เพื่อสั่งสอนให้นักเรียนรู้ สำนึกความผิด และแก้ไขในอนาคต

ความจริง ใน “กฎหมายว่าด้วยการศึกษา” ได้กำหนดไว้อย่างชัดเจนแล้วว่า ครู “สามารถสั่งสอนและวิจารณ์นักเรียนในรูปแบบที่เหมาะสม”  “สามารถยกย่องหรือลงโทษผู้ที่ถูกสั่งสอน”  แต่ไม่มีข้อบังคับรายละเอียด

图片默认标题_fororder_1116-2

จีนมีสภาษิตว่า “子不教,父之过;教不严,师之惰。”แปลว่า เลี้ยงดูแต่ไม่สั่งสอน คือความผิดของพ่อแม่ สอนหนังสือแต่ไม่กวดขัน คือความเกียจคร้านของครู  แต่ในสังคมจีน เนื่องจากครอบครัวส่วนใหญ่มีลูกคนเดียว จึงทะนุถนอนมากเกินไป ทั้งพ่อแม่ ปู่ย่าตายาย รวมกันมารักเด็กคนเดียว จึงทำให้การศึกษาหรือการสั่งสอนเป็นแบบ “ว่าไม่ได้” ไม่ว่าเด็กจะซนอย่างไร ก็จะไม่ว่าไม่สั่งสอน จะเน้นการตามใจ  แต่ไม่ว่าพ่อแม่ผู้ปกครองหรือครู ตลอดจนทั่วทั้งสังคม ก็รู้มากขึ้นว่า การศึกษาการสั่งสอน ไม่ใช่เพียงชื่นชม  เอาใจ และตามใจ ยังจะต้องมีการสั่งสอนที่ค่อนข้างเข้มงวดด้วย เพื่อให้เด็กรู้ผิดถูก รู้ความเคารพนับถือ และรู้ความไม่เห็นแก่ตัว แต่ต้องยอมรับว่า ปีหลังๆ นี้ มีครูลงโทษนักเรียนหนักเกินควร บางครั้งกระทั่งนักเรียนหนึ่งคนทำผิด ให้ทั้งชั้นรับโทษด้วยกัน  ดังนั้น ความเหมาะสมจึงเป็นปัญหาที่สำคัญอย่างยิ่ง

เมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว ในโรงเรียนอนุบาลแห่งหนึ่งของมณฑลเจียงซู ก็เกิดเหตุการณ์ลงโทษนักเรียนเกินความเหมาะสม คือเด็ก 4 คนไม่ยอมนอนกลางวัน  วิ่งเล่นกัน จนก่อกวนคนอื่นไม่ได้นอน ครูเตือนหลายครั้งไม่เป็นผล จึงลงโทษโดยการให้เด็ก 4 คนนี้ตบหน้าตัวเองประมาณ 10 ครั้ง เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน กรมการศึกษาในท้องถิ่นมีการจัดการคาดโทษโรงเรียนอย่างเปิดเผย บังคับให้โรงเรียนปลดครูคนนั้น แต่ว่า ผลที่เกิดมาเป็นที่น่าสนใจมาก คือ ทางสังคม รวมทั้งผู้ปกครองของเด็กที่ถูกลงโทษ ล้วนเห็นว่า การลงโทษครูหนักไป เพราะครูคนนี้ทำงานมาหลายปี เป็นครูใจดี รักนักเรียน เด็กๆ ชอบเขามาก เมื่อครูไปแล้ว เด็กทั้งชั้นร้องไห้ทั้งวัน  เหตุการณ์นี้แสดงว่า ถึงแม้ว่าครูลงโทษนักเรียนอย่างไม่ค่อยเหมาะสม แต่สำหรับการสั่งสอนนักเรียน บรรดาผู้ปกครองก็เข้าใจและให้อภัยได้

图片默认标题_fororder_1116-3

กระทรวงศึกษาธิการจีนกำหนดอย่างชัดเจนว่า นักเรียนที่ละเมิดข้อกำหนดของโรงเรียน จะต้องเป็นกรณีที่ร้ายแรง หรือสั่งสอนในสถานที่เกิดเหตุแล้วปฏิเสธแก้ไข ครูมีสิทธิ์สั่งสอนและลงโทษตามความเหมาะสม ขณะที่เรียกร้องให้ผู้ปกครองร่วมกันสั่งสอนด้วย แต่ห้ามลงโทษทางร่างกายและจิตใจ เช่มห้ามตีเตะ ห้ามลงโทษให้ยืนเป็นเวลานาน หรือเขียนหนังสือหลายสิบรอบ เพราะเป้าหมายของการลงโทษคือ สั่งสอนให้นักเรียนแก้ไขความผิด และไม่ทำผิดอีก ดังนั้นทางกระทรวงจึงมีหลักการของการลงโทษนักเรียน คือ จุดประสงค์เพื่อการสั่งสอนให้ปฏิบัติตามระเบียบวินัย แก้ไขความผิด  ถูกต้องตามกฎหมายและข้อบังคับ เวลาลงโทษจะต้องปฏิบัติโดยดูจากอายุ เพศ นิสัยใจคอ และลักษณะร่างกายของนักเรียนที่ทำผิด และต้องรักษาความปลอดภัย ป้องกันไม่ให้เกิดความเสี่ยง

การลงโทษจะมี 3 ระดับ คือ การลงโทษทั่วไป ครูสามารถเรียกชื่อนักเรียนและตำหนิในชั้นเรียน หรือที่เกิดเหตุ บังคับให้นักเรียนขอโทษและสำนึกผิด ให้ยืนในชั้นเรียนไม่เกิน 1 ชั่วโมงเรียน ยึดสิ่งของที่นักเรียนใช้ในการทำผิด หลังเลิกเรียนแล้วให้อยู่ต่อเพื่อรับการสั่งสอน  ระดับที่ 2 คือ ถ้ามีการกระทำผิดที่ค่อนข้างร้ายแรง  จะไม่อนุมัติให้นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ของโรงเรียน เช่นทัศนศึกษา รับหน้าที่การบริการสาธารณะภายในโรงเรียน มีครูรับผิดชอบเฉพาะด้านมาสั่งสอนโดยเฉพาะ เรียกร้องให้ผู้ปกครองไปเข้าเรียนด้วยกัน ส่วนนักเรียนที่ทำผิดร้ายแรง เช่นทำร้ายคนอื่น รวมถึงนักเรียนและครู ทางโรงเรียนและครูมีสิทธิลงโทษอย่างหนัก บังคับให้หยุดเรียนไม่เกิน 1 สัปดาห์ เรียกร้องให้ผู้ปกครองร่วมกันสั่งสอน  ให้ครูผู้รับผิดชอบทางกฎหมายสั่งสอนในสถานที่พิเศษ  กำหนดเวลาให้ย้ายไปโรงเรียนอื่น เป็นต้น

  • เสียงข่าวประจำวัน (23-04-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (23-04-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (23-04-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (22-04-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (22-04-2567)

晏梓