บทวิเคราะห์ : เหตุใดสหรัฐฯ จึงขัดขวางจีนลงสมัครผอ.ใหญ่องค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก

2020-02-29 17:25:34 | CRI
Share with:

图片默认标题_fororder_200229sjzscqzz1

การเลือกตั้งผู้อำนวยการใหญ่องค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก ที่จะจัดขึ้นที่นครเจนีวา ในสัปดาห์หน้า หลายประเทศรวมถึงจีนส่งผู้สมัครเข้าชิงตำแหน่งดังกล่าว แต่คนอเมริกันบางคนพยายามอย่างสุดความสามารถเพื่อขัดขวางไม่ให้จีนเข้าร่วมการคัดเลือก กระทั่งกดดันบางประเทศให้เลิกสนับสนุนผู้สมัครจากจีน แถมยังป่าวประกาศว่า “ผู้อำนวยการใหญ่องค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลกควรเป็นคนชาติอะไรก็ได้ ยกเว้นจีน”

图片默认标题_fororder_200229sjzscqzz2

อันที่จริง หากพิจารณาจากคุณูปการของชาติและคุณสมบัติของผู้สมัครแล้ว การเสนอชื่อผู้เข้ารับการคัดเลือกของจีนปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องโดยตลอด ตั้งแต่การเข้าเป็นสมาชิกองค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก ตั้งแต่วันที่ 3 มิถุนายน ค.ศ.1980 เป็นต้นมา จีนได้เพิ่มระดับการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา และเสริมสร้างความร่วมมือในด้านนี้กับต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง  ผลการจัดอันดับดัชนีทางนวัตกรรมทั่วโลกโดยองค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลกในปี 2019 ระบุว่า  จีนมีอันดับสูงขึ้นอย่างก้าวกระโดดมาอยู่ในอันดับที่ 14 นางหวัง ปินหยิง ในฐานะผู้สมัครเข้ารับการคัดเลือกผู้อำนวยการใหญ่องค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลกที่ฝ่ายจีนเป็นผู้เสนอ ขณะนี้ ยังเป็นรองผู้อำนวยการใหญ่คนปัจจุบัน ที่ผ่านมา เธอทำงานในองค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลกนานเกือบ 30 ปีแล้ว เป็นที่ยอมรับเป็นเอกฉันท์ว่า เป็นผู้สมัครที่มีประสบการณ์สมบูรณ์ที่สุด อีกทั้งยังมีความสามารถในการทำงานสูงที่สุด และมีความสามารถการแข่งขันสูงที่สุดในการคัดเลือกครั้งนี้

图片默认标题_fororder_200229sjzscqzz3

การที่สหรัฐฯ ก้าวก่ายแทรกแซงการเลือกตั้งผู้อำนวยการใหญ่องค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลกนั้น แท้ที่จริงแล้ว เกิดจากแนวคิดสงครามเย็นและทัศคติจากเกมส์ที่มีผลรวมเป็นศูนย์ ที่ฝังรากลึกในสมองของนักการเมืองอเมริกันบางคน เพราะพวกเขาไม่สามารถยอมรับจีนและประเทศอื่น ๆ  ที่พัฒนาเข้มแข็งขึ้น ในฐานะผู้กำหนดกฎเกณฑ์โลกเป็นหลัก สหรัฐฯ ไม่ยอมให้ผู้อื่นมีอำนาจทางวาทกรรม (Discourse Power)

การคัดเลือกผู้ดำรงตำแหน่งอะไรก็ตาม ล้วนต้องปฏิบัติตามหลักความยุติธรรมและเป็นกลาง ทั้งนี้ เชื่อมั่นว่า ทุกประเทศที่มีอธิปไตยสมบูรณ์จะลงคะแนนเสียงอย่างเป็นอิสระโดยพิจารณาถึงผลประโยชน์ของตนเอง และไม่อ่อนข้อต่อแรงกดดันที่ไม่เป็นธรรมของสหรัฐฯ ผู้สมัครเข้ารับการคัดเลือกที่ชนะการลงคะแนนเสียงภายใต้ความยุติธรรม ไม่ว่าจะมาจากประเทศใด จะสะท้อนให้เห็นถึงความรับรู้ร่วมกันของประเทศต่าง ๆ และย่อมจะมุ่งมั่นคุ้มครองผลประโยชน์ส่วนรวมของประชาคมโลกให้ได้ดียิ่งขึ้น

LFYZTS

  • เสียงข่าวประจำวัน (26-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (26-11-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (26-11-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (25-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (25-11-2567)

鲁峰