บทวิเคราะห์ : จีนอธิบายแนวคิด "ประชาคมร่วมทุกข์ร่วมสุขของมวลมนุษย์" ด้วยการกระทำ

2020-03-04 18:09:04 | CRI
Share with:

图片默认标题_fororder_微信图片_20200304180248

ปัจจุบัน โควิด-19 ได้แพร่ระบาดในกว่า 60 ประเทศ ประชาคมโลกต่างใช้ความพยายามเพื่อป้องกันการแพร่ระบาด และเข้าใจถึงความพยายามของจีนมากขึ้น ในการรักษาความปลอดภัยด้านสาธารณสุขของทั่วโลก

图片默认标题_fororder_微信图片_20200304180240

ผู้คนต่างได้เห็นว่า หลังเกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 นายสี จิ้นผิง ผู้นำสูงสุดของจีนได้กล่าวถึงแนวคิด "ประชาคมร่วมทุกข์ร่วมสุขกันของมวลมนุษย์" หลายครั้งระหว่างติดต่อพูดคุยกับผู้นำประเทศอื่นๆ การเยือนพบปะกันและในการตอบจดหมายเพื่อนต่างประเทศ โดยเน้นว่า จีนจะรับผิดชอบความปลอดภัยทางชีวิตของประชาชนจีน และพยายามดำเนินภาระหน้าที่ของตนในกิจการสาธารณสุขของโลกอย่างเต็มที่ ด้วยแนวคิดเช่นนี้ ภายใต้การชี้นำของผู้นำสูงสุดของจีน จีนได้ขยายความได้เปรียบด้านระบบปกครอง ใช้มาตรการป้องกันที่ครบถ้วนที่สุด เคร่งครัดที่สุด และเต็มที่ที่สุด โดยได้ควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสอย่างมีประสิทธิผลในเวลา 1 เดือนกว่าๆ ทำให้ทั่วโลกมีเวลามากขึ้นเพื่อเตรียมการป้องกัน ไม่ให้มีการแพร่ระบาดใหญ่

图片默认标题_fororder_微信图片_20200304180208

นอกจากนี้ บทบาทของจีนในการป้องกันการแพร่ระบาดของโลก ยังสามารถแสดงให้เห็นได้จากท่าทีเปิดเผย โปร่งใส และให้ความร่วมมืออย่างดีด้วย โดยหลังเกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 จีนได้ตรวจและยืนยันเชื้อไวรัสด้วยเวลารวดเร็วที่สุด พร้อมแบ่งปันข้อมูลทางพันธุกรรมทั้งหมดของเชื้อไวรัสให้กับฝ่ายต่างๆ ขณะเดียวกัน จีนยังได้เชิญชวนผู้เชี่ยวชาญองค์การอนามัยโลกมาตรวจสอบสภาพการณ์ที่จีน เพื่อรับรู้ถึงการดำเนินงานป้องกันการแพร่ระบาดที่แท้จริงของจีนในทุกด้าน จีนใช้วิธีการป้องกันแบบผสมที่ไม่ใช่ใช้ยาในประชาชนทั่วไป ได้รับการชื่นชมอย่างสูงจากประชาคมโลก นอกจากพยายามควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 ภายในประเทศแล้ว จีนยังได้ให้ความช่วยเหลือกับประเทศที่มีการแพร่ระบาดเชื้อรุนแรงแต่ไม่มีความสามารถที่เพียงพอทางการแพทย์มาตลอดด้วย

Yim/Ldan/Zhou

  • เสียงข่าวประจำวัน (26-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (26-11-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (26-11-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (25-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (25-11-2567)

李丹丹