จีนระบุ การประกันสิทธิมนุษยชนไม่ใช่มีรูปแบบของตะวันตกเพียงอย่างเดียว แต่ละประเทศต้องยืนหยัดหนทางที่สอดคล้องของตน

2020-03-11 20:13:15 | CRI
Share with:

วันที่ 10 มีนาคม การประชุมคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนชุดที่ 43 จัดการอภิปรายเชิงทั่วไป นายหลิว หวา ตัวแทนพิเศษกิจการสิทธิมนุษยชน กระทรวงการต่างประเทศจีนชี้ว่า ทุกคนมีสิทธิมนุษยชนเป็นอุดมการณ์ร่วมกันของมวลมนุษยชาติ และเป็นความใฝ่หาของประชาชนชาวจีน  การประกันสิทธิมนุษยชนไม่ใช่มีรูปแบบของตะวันตกเพียงอย่างเดียว ประเทศต่างๆ จะต้องยืนหยัดเดินตามหนทางที่สอดคล้องกับสภาพของประเทศตน สิทธิมนุษยชนไม่ใช่สิทธิบัตรของประเทศจำนวนน้อย และไม่ควรกลายเป็นคู่มือการเมืองหรือเครื่องหมายที่แสดงความได้เปรียบกว่าผู้อื่น

นายหลิว หวาระบุว่า สิทธิมนุษยชนของประเทศจำนวนน้อยที่ประณามจีนอย่างไม่มีมูลนั้น ก็ไม่ได้ดีเด่นสักเท่าไหร่ ในประเทศเหล่านี้ ปัญหาการแบ่งแยกเผ่าชน และกีดกันประชากรภายนอกมีความรุนแรงขึ้น  มีคำพูดเกลียดแค้นและอาชญากรรมใช้กำลังรุนแรงที่เจาะจงต่อผู้ลี้ภัยและผู้อพยพทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น  การบังคับใช้กฎหมายและการติดตามควบคุมขนาดใหญ่มีมากขึ้นด้วย พวกเขาพูดอย่างหนึ่ง แต่ทำอีกอย่างหนึ่ง ไม่ใช่ช่วยประเทศกำลังพัฒนาในการพัฒนาประเทศและมีสิทธิมนุษยชนโดยแท้จริง แต่เป็นการทำให้สิทธิมนุษยชนเป็นเรื่องทางการเมือง  ยัดเยียดสิ่งที่เรียกว่า “ประชาธิปไตยแบบตะวันตก” ให้กับประชาชน หมายจะแทรกแซงและขัดขวางการพัฒนาของประเทศอื่น

นายหลิว หวาชี้ว่า ในปัญหาซินเจียง ประชาคมโลกมีสองเสียงที่แตกต่างกัน อย่างหนึ่งคือ ประเทศตะวันตกจำนวนน้อยมองข้ามคำเชิญด้วยเจตนาที่ดีจากจีน ปฏิเสธมาเยี่ยมชมซินเจียงด้วยข้ออ้างต่างๆ  และมุ่งใส่ร้ายสร้างข่าวลือขึ้นมา อีกเสียงหนึ่งคือ มี 70 กว่าประเทศแสดงการสนับสนุนนโยบายการปกครองซินเจียงและความก้าวหน้าทางสิทธิมนุษยชนด้วยการส่งสาส์นและกล่าวปราศรัย ทั้งจากประเทศในเอเชีย แอฟริกา ยุโรป และลาตินอเมริกา ซึ่งมีหลายประเทศเป็นสมาชิกขององค์การอิสลาม และส่วนใหญ่เคยมาเยือนซินเจียงด้วยตนเอง เห็นถึงสภาพความเป็นจริงด้วยตา  ความผิดถูกอย่างไรจึงเห็นได้ชัดเจนแล้ว

Yim/LR/ZDan

  • เสียงข่าวประจำวัน (26-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (26-11-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (26-11-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (25-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (25-11-2567)

张鸿泽