บทวิเคราะห์ : จีนมอง“เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น”คือข้ออ้างเพื่อความถูกใจของสื่ออเมริกัน

2020-03-16 12:24:05 | CRI
Share with:

การแบ่งแยกเชื้อชาติที่ปรากฏให้เห็นเป็นระยะในสังคมอเมริกัน กลับมาอีกครั้งพร้อมการแพร่ระบาดของโควิด-19  เห็นได้จากกรณีที่เมื่อเร็วๆ นี้หนังสือพิมพ์ The Wall Street Journal ตีพิมพ์บทวิเคราะห์เรื่อง “จีนเป็นผู้ป่วยตัวจริงของเอเชีย” เมื่อถูกจีนประท้วงอย่างหนัก หลายครั้งและถูกประชาคมโลกประณาม แต่ไม่ว่าจะเป็น The Wall Street Journal หรือ วิทยาลัย Bard College ต้นสังกัดผู้เขียนบทความความดังกล่าว หรือ นาย Mike Pompeo รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐ ล้วนปกป้อง ด้วยข้ออ้าง “เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น”

จีนมองว่าสิ่งที่สหรัฐเรียกว่า “เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น” ได้กลายเป็นการอำพรางความอัปยศอดสูของสหรัฐ  นอกจากนั้น “เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น” ยังเป็นเครื่องมือทางการเมืองสำหรับชาวอเมริกันบางคนในการใช้สองมาตรฐานและการโจมตีฝ่ายตรงข้าม ตัวอย่างเช่น กรณีที่ Mary Louise Kelly ผู้สื่อข่าว NPR ของสหรัฐ ถามประเด็นยูเครนในที่ประชุมแถลงข่าว ซึ่งไม่ถูกใจนาย Mike Pompeo ทำให้นาย Mike Pompeo ด่าทอผู้สื่อข่าวรายดังกล่าวหลังการแถลงข่าว แล้วลบชื่อผู้สื่อข่าว NPR รายหนึ่งออกจากบัญชีรายชื่อผู้สื่อข่าวที่ติดตามไปเยือนต่างประเทศ

สิ่งที่เรียกว่า “เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น” ที่จากปากของนักการเมืองสหรัฐบางคน ขึ้นอยู่กับความพอใจของพวกเขาเอง

แต่ไม่ว่าสำหรับสังคมใดๆ  การแบ่งแยกเชื้อชาติล้วนเป็น “พิษ” รวมถึงสื่อมวลชนใดๆ ก็ตาม การทำสิ่งที่ผิดจริยธรรมด้วยข้ออ้าง “เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น” ล้วนจะเป็นการทำลายชื่อเสียงที่สั่งสม และทำลายอนาคตของตัวเองด้วย

(BO/LING/CAI)

  • เสียงข่าวประจำวัน (15-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (15-11-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (15-11-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (14-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (14-11-2567)

何喜玲