ปักกิ่งเริ่มผ่อนคลายจากโควิด-19

2020-04-29 19:08:05 | CRI
Share with:

ในช่วงต้นเดือนเมษายน ชุยมีโอกาสทำข่าวที่เขตหวย โหรว ชานเมืองปักกิ่ง ทำให้ทราบว่า ในช่วงวิกฤตโควิด-19 ชาวบ้านที่นี่ ก็นิยมออกกำลังกายด้วยการรำไทเก๊กโดยใช้พัดเป็นอุปกรณ์ประกอบการออกกำลังกาย และรับประทานผลไม้อบแห้งเพื่อเพิ่มภูมิคุ้มกันของร่างกายและต่อสู้กับไวรัสฯ

图片默认标题_fororder_20200429-1

การรำไทเก๊ก มีต้นกำเนิดจากหมู่บ้านเฉินเจียโกว ในมณฑลเหอหนานของจีน ถือเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมของจีน ในพิธีเปิดงานกีฬาโอลิมปิกปักกิ่ง ปี 2008 นักกีฬาไทเก๊กจำนวน 2,008 คน ร่วมแสดงรำไทเก๊ก ที่สนามกีฬารังนก สร้างความประทับใจแก่ชาวโลก กล่าวได้ว่า การรำไทเก๊กได้หลอมรวมค่านิยมของศิลปะตะวันออก และสะท้อนให้เห็นถึงเจตนารมณ์ของประชาชาติจีน

การรำไทเก๊กที่ใช้พัดเป็นอุปกรณ์ประกอบ เป็นกีฬาประเภทหนึ่งที่ผสมผสานทั้งมวยไทเก๊กและกังฟูสะบัดพัด โดยพัดมีรูปร่างเหมือนผีเสื้อที่สวยงาม คลี่ได้ตามใจชอบ มีทั้งความแข็งแกร่งและความนุ่มนวล ถือเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับการออกกำลังกาย โดยเฉพาะในช่วงป้องกันและควบคุมโควิด-19 ที่ฟิตเนสปิดให้บริการ การรำไทเก๊กโดยใช้พัดสะบัดจึงสะดวกมาก

แพทย์แผนจีนโบราณเชื่อว่า การรำไทเก๊กมีส่วนช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันในร่างกาย ยิ่งเป็นช่วงสำคัญในการป้องกันและควบคุมโควิด-19 ชาวจีนจึงนิยมสวมหน้ากากอนามัย พร้อมฝึกรำมวยไทเก๊กไปด้วย การดูแลสุขภาพควบคู่ไปกับการออกกำลังกายอย่างรำไทเก๊กเป็นประจำ จะช่วยให้เราทุกคนมีสุขภาพแข็งแรงในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19

图片默认标题_fororder_20200429-2

นอกจากนี้ชาวบ้านที่เขตหวย โหรวยังนิยมทำผลไม้อบแห้ง โดยซานจาเชื่อม ก็เป็นหนึ่งในสินค้าตัวแทนของผลไม้อบแห้ง ที่มีสีสันสดใส  รสชาติเปรี้ยวหวาน เป็นอาหารดั้งเดิมของกรุงปักกิ่ง และได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก

กรรมวิธีทำซานจาเชื่อม คือ ล้างผลซานจาให้สะอาด  แล้วนำเมล็ดออก จากนั้นจึงเทน้ำเปล่า 200 กรัม ลงในหม้อ ตั้งไฟให้เดือด เทน้ำตาลกรวดสีเหลือง 100 - 150 กรัม ลงไป เมื่อน้ำตาลละลาย จึงใส่ผลซานจาที่เตรียมไว้ 500 กรัม ช่วงนี้ ต้องใช้ทัพพีคนอย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำตาลไหม้ เมื่อน้ำตาลเดือดได้ 5 นาที จึงปิดไฟจากนั้นก็นำซานจาที่เชื่อมแล้วแช่ตู้เย็น ก็พร้อมรับประทานได้ทันที

เล่ากันว่า ลูกซานจามีวิตามินซีสูง การรับประทานซานจาอย่างเหมาะสมจะช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันของร่างกาย

ในเขตหวย โหรว วัดหงหลัวถือเป็นสัญลักษณ์ของเขต หากจะกล่าวว่า วัดหง หลัวเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของกรุงปักกิ่ง กรรมวิธีผลิตผลไม้อบแห้งของที่นี่ถือว่าเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ เราจึงต้องรักษามรดกอันทรงคุณค่านี้เอาไว้ เพื่อให้คนรุ่นหลังได้มีโอกาสรับรู้ถึงวัฒนธรรมดั้งเดิมของชาวบ้านสืบต่อไป

(Bo/Cui)

  • เสียงข่าวประจำวัน (19-04-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (19-04-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (19-04-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (18-04-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (18-04-2567)

何喜玲