คำปราศรัยของปธน.สี จิ้นผิง ในที่ประชุมสัมมนาเกี่ยวกับงานเศรษฐกิจและสังคม

2020-08-25 17:55:29 | สำนักข่าวซินหวา
Share with:

เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม ค.ศ. 2020

คำปราศรัยของปธน.สี จิ้นผิง ในที่ประชุมสัมมนาเกี่ยวกับงานเศรษฐกิจและสังคม_fororder_习近平图片

วันนี้ เราจัดการประชุมสัมมนาเกี่ยวกับงานด้านเศรษฐกิจและสังคม เพื่อรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอของทุกท่าน ต่อการวางแผนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมระยะเวลา 5 ปี ฉบับที่ 14 ผู้ที่เข้าร่วมการประชุมสัมมนาในวันนี้ มีทั้งนักเศรษฐศาสตร์และนักสังคมวิทยา ลำดับต่อไป ขอเรียนให้ทราบถึงความคิดเห็นของข้าพเจ้าเกี่ยวกับการทำความเข้าใจและการมีทัศนคติที่ถูกต้อง ต่อประเด็นสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมระยะกลางและระยะยาว

การจัดวางแผนระยะกลางและระยะยาว ในการชี้นำการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม เป็นรูปแบบสำคัญในการปกครองบริหารประเทศของพรรคคอมมิวนิสต์จีน  ตั้งแต่ปี ค.ศ.1953 เป็นต้นมา  จีนได้ปฏิบัติตามแผนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมระยะเวลา 5 ปี รวม 13 ฉบับแล้ว  ในจำนวนนี้ นับตั้งแต่ดำเนินนโยบายการปฏิรูปและเปิดประเทศเป็นต้นมา มีการจัดวางและปฏิบัติตามแผนการพัฒนา 8 ฉบับ  ซึ่งได้ผลักดันการพัฒนาเศรษฐกิจสังคม ยกระดับพลังรวมแห่งชาติ และปรับปรุงคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้นอย่างมาก  จนได้สร้างสิ่งมหัศจรรย์ทางการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว และการมีเสถียรภาพทางสังคมในระยะยาว ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่พบเห็นได้น้อยมากในโลก 

ภาคปฏิบัติพิสูจน์ให้เห็นว่า แผนการพัฒนาในระยะกลางและระยะยาว ไม่เพียงสามารถทำให้ตลาดแสดงบทบาทเชิงชี้ขาดในการจัดสรรทรัพยากร หากยังทำให้รัฐบาลสามารถแสดงบทบาทได้ดียิ่งขึ้นด้วย

ช่วงปฏิบัติตามแผนการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมระยะเวลา 5 ปี ฉบับที่ 14 เป็นช่วง 5 ปีแรกที่จีนเริ่มกระบวนการใหม่แห่งการสร้างสรรค์สังคมนิยมที่มีความทันสมัยอย่างรอบด้าน และก้าวไปสู่เป้าหมายบากบั่นต่อสู้100 ปีรอบที่ 2 หลังประเทศเราได้สร้างสังคมมั่งคั่งระดับปานกลางอย่างรอบด้าน และได้บรรลุเป้าหมายบากบั่นต่อสู้ 100 ปีรอบแรก  ไม่ว่าจะทำสิ่งใดก็ตาม หากมีการวางแผนไว้ล่วงหน้าด้วยดี ก็จะมีโอกาสประสบความสำเร็จ มิฉะนั้น ก็คงต้องประสบความล้มเหลว 

เราจะต้องมีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล ตระหนักถึงแนวโน้มที่ต้องเป็นไป รับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน   ระดมภูมิปัญญาจากฝ่ายต่าง ๆ  และศึกษาวิจัยสถานการณ์ใหม่ เพื่อจัดวางแผนการพัฒนาฉบับใหม่ที่ดี

ประการแรก ต้องมองโอกาสใหม่ และการท้าทายใหม่ด้วยตรรกวิภาษ นับตั้งแต่จัดการประชุมสมัชชาผู้แทนทั่วประเทศของพรรคคอมมิวนิสต์จีนครั้งที่ 19 เป็นต้นมา ข้าพเจ้าย้ำหลายครั้งว่า โลกปัจจุบันกำลังเกิดการเปลี่ยนแปลงใหญ่หลวงอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนในรอบร้อยปีที่ผ่านมา  ขณะนี้  การระบาดของโควิด-19 ทำให้การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น การกีดกันทางการค้าและแนวคิดเอกภาคีมีความรุนแรงขึ้น เศรษฐกิจโลกซบเซา ห่วงโซ่อุตสาหกรรมและห่วงโซ่อุปทานโลกได้รับผลกระทบจากปัจจัยนอกเศรษฐกิจ  สถานการณ์เศรษฐกิจ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วัฒนธรรม ความมั่นคง และการเมืองระหว่างประเทศ ล้วนกำลังเกิดการเปลี่ยนแปลงในระดับลึกซึ้ง  โลกกำลังเข้าสู่ช่วงระยะเวลาที่เกิดความปั่นป่วนและการเปลี่ยนแปลง   ช่วงเวลาข้างหน้า เราจะเผชิญกับสภาพแวดล้อมภายนอกที่ค่อนข้างยากลำบาก จึงต้องเตรียมความพร้อมในการรับมือกับความเสี่ยงและการท้าทายต่าง ๆ

สภาพแวดล้อมภายในประเทศก็กำลังเกิดการเปลี่ยนแปลงในระดับลึกซึ้งเช่นกัน จีนได้เข้าสู่ช่วงระยะเวลาการพัฒนาที่มีคุณภาพสูง ความขัดแย้งหลักทางสังคมได้เปลี่ยนเป็นความขัดแย้งระหว่างความต้องการคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้นของประชาชนกับการพัฒนาที่ไม่สมดุลและไม่เต็มที่ ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศโดยเฉลี่ยต่อคนมีถึง 10,000 ดอลลาร์สหรัฐ  ความเป็นเมืองมีอัตราส่วนสูงกว่า 60% ประชากรที่มีรายได้ระดับปานกลางมีจำนวนมากกว่า 400 ล้านคน ประชาชนต้องการมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ระบบการปกครองบริหารของประเทศเรามีความได้เปรียบอย่างเห็นได้ชัด  การปกครองบริหารบ้านเมืองมีประสิทธิภาพสูงขึ้น เศรษฐกิจระยะยาวมีแนวโน้มที่ดี พื้นฐานด้านวัตถุสิ่งของมีความมั่นคง ทรัพยากรด้านบุคลากรมีจำนวนมหาศาล ตลาดมีอนาคตกว้างไกล การพัฒนาในด้านต่าง ๆ มีความยืดหยุ่นอย่างมาก สังคมมีเสถียรภาพ

การพัฒนาในช่วงเวลาข้างหน้ามีความได้เปรียบและความพร้อมในหลายๆ ด้าน แต่ในขณะเดียวกัน  จีนเผชิญกับปัญหาการพัฒนาไม่สมดุล และไม่เต็มที่ที่โดดเด่นมาก ทักษะในการนวัตกรรมยังไม่สอดคล้องกับความต้องการในการพัฒนาที่มีคุณภาพสูง  พื้นฐานด้านการเกษตรยังไม่มั่นคง  การพัฒนาและการกระจายรายได้ระหว่างเมืองและชนบท ยังคงมีช่องห่างค่อนข้างมาก การอนุรักษ์ระบบนิเวศและสภาพแวดล้อมมีภาระหนักมาก และต้องก้าวหน้าไปอีกไกล การให้หลักประกันด้านชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนยังคงมีจุดอ่อน  การบริหารทางสังคมยังมีช่องโหว่

สรุปได้ว่า ในยุคใหม่แห่งการพัฒนา สภาพแวดล้อมทั้งภายในประเทศและต่างประเทศที่เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างลึกซึ้ง ได้นำมาทั้งโอกาสใหม่ และการท้าทายใหม่ต่าง ๆ  วิกฤตและโอกาสจะมาพร้อมกัน กล่าวคือ ท่ามกลางวิกฤตจะมีโอกาส  และเราสามารถเปลี่ยนวิกฤตให้เป็นโอกาสได้ 

เราต้องใช้ตรรกวิภาษในการทำความเข้าใจและตระหนักถึงแนวโน้มที่ต้องเป็นไปของทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ  ต้องทำให้ยุทธศาสตร์ฟื้นฟูความเจริญรุ่งเรืองของประชาชาติจีนอย่างยิ่งใหญ่ สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เกิดการเปลี่ยนแปลงใหญ่หลวงที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในโลกช่วงร้อยปีที่ผ่านมา

ต้องมีการเรียนรู้ในระดับลึกซึ้งเกี่ยวกับลักษณะใหม่และความต้องการใหม่ ที่เกิดจากความขัดแย้งหลักทางสังคมที่ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปแล้ว  และมีความตระหนักในระดับลึกซึ้งถึงความขัดแย้งและการท้าทายใหม่ที่เกิดจากสภาพแวดล้อมที่มีความสลับซับซ้อน  เสริมจิตสำนักในการกุมโอกาสและรับมือกับความเสี่ยงด้านต่าง ๆ

ต้องเข้าใจการเปลี่ยนแปลงอย่างถูกต้อง  รับมือกับการเปลี่ยนแปลงตามหลักวิทยาศาสตร์ มุ่งมั่นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปยังทิศทางที่ดี  ต้องกล้าขับเรือทวนกระแสน้ำ  ต้องมีความชำนาญในการเปลี่ยนวิกฤตให้เป็นโอกาส พยายามบรรลุการพัฒนาที่มีคุณภาพ ประสิทธิภาพ ความเที่ยงธรรม ความถาวร และความมั่นคงมากขึ้น

ประการที่สอง   สร้างสถานะใหม่แห่งการพัฒนาเศรษฐกิจประชาชาติที่มีความหมุนเวียนอย่างคล่องตัว  นับตั้งแต่ต้นปีนี้เป็นต้นมา ข้าพเจ้าย้ำหลายครั้งแล้วว่า  ต้องผลักดันให้เกิดสถานะใหม่แห่งการพัฒนาที่ถือการหมุนเวียนทางเศรษฐกิจภายในประเทศเป็นหลัก และให้การหมุนเวียนทางเศรษฐกิจภายในประเทศและต่างประเทศส่งเสริมและสนับสนุนซึ่งกันและกัน

สถานะใหม่แห่งการพัฒนาดังกล่าวนี้ กำหนดขึ้นตามขั้นตอนการพัฒนา สภาวะแวดล้อม และเงื่อนไขด้านต่าง ๆ ที่เกิดการเปลี่ยนแปลง เป็นทางเลือกเชิงยุทธศาสตร์ที่สร้างความได้เปรียบใหม่ในการดำเนินความร่วมมือและการแข่งขันระหว่างประเทศ 

ปีหลังๆ นี้ พร้อมไปกับปัจจัยการพัฒนาด้านต่าง ๆ ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศเกิดการเปลี่ยนแปลง  ความหมุนเวียนทางเศรษฐกิจกับต่างประเทศที่มีลักษณะมีตลาดและทรัพยากรอยู่ต่างประเทศนั้น อ่อนแอลงอย่างเห็นได้ชัด  ขณะที่ความต้องการภายในประเทศมีศักยภาพอย่างมาก ความหมุนเวียนทางเศรษฐกิจภายในประเทศนับวันมีความคึกคักมากยิ่งขึ้น จนทำให้เกิดสถานการณ์ด้านการหมุนเวียนระหว่างประเทศอ่อนแอลง แต่ด้านการหมุนเวียนภายในประเทศเข้มแข็งขึ้น

สำหรับปรากฏการณ์นี้   มีนักวิชาการได้ทำการศึกษามาส่วนหนึ่งแล้ว สามารถศึกษาค้นคว้าให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้นต่อไป พร้อมเสนอความคิดเห็นที่สอดคล้องกับความเป็นจริงและเป็นประโยชน์

นับตั้งแต่เกิดวิกฤตการเงินระหว่างประเทศเมื่อปี 2008 เป็นต้นมา เศรษฐกิจจีนกำลังเกิดการเปลี่ยนที่มีการหมุนเวียนภายในประเทศเป็นหลัก การเกินดุลบัญชีเดินสะพัดมีอัตราส่วนในจีดีพีลดลงจาก 9.9% ในปี2007 มาเหลือไม่ถึง 1% ในปัจจุบัน และมีช่วงเวลา 7 ปีที่ความต้องการภายในประเทศมีอัตราส่วนในการหนุนการพัฒนาเศรษฐกิจมากถึง 100%

ในช่วงเวลาข้างหน้า จะมีลักษณะเด่นชัดมากขึ้นที่ตลาดภายในประเทศเป็นปัจจัยหลักในการหมุนเวียนของเศรษฐกิจประชาชาติ  ศักยภาพความต้องการภายในด้านการเติบโตทางเศรษฐกิจ จะปรากฏออกมาให้เห็นอย่างต่อเนื่อง  เราจะต้องยึดแนวทางเชิงยุทธศาสตร์ในการปฏิรูปโครงสร้างฝั่งอุปทาน  ขยายความต้องการภายใน ทำให้การผลิต การกระจายรายได้ การหมุนเวียน และการบริโภคพึ่งพาตลาดภายในประเทศมากขึ้น ให้ระบบอุปทานสอดคล้องกับความต้องการภายในประเทศมากขึ้น  สร้างความสมดุลระดับสูงระหว่างความต้องการและอุปทานที่ส่งเสริมซึ่งกันและกัน

แน่นอนว่า สถานะใหม่แห่งการพัฒนาไม่ใช่การหมุนเวียนภายในประเทศแบบปิด แต่เป็นการหมุนเวียนทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ จีนมีฐานะที่สูงขึ้นในเศรษฐกิจโลกอย่างต่อเนื่อง และมีความผูกพันอย่างใกล้ชิดมากขึ้นกับเศรษฐกิจโลก พร้อมที่จะเปิดตลาดให้แก่ต่างประเทศมากขึ้น จะกลายเป็นแหล่งสำคัญในการดึงดูดสินค้าและปัจจัยการผลิตสำคัญจากต่างประเทศ

ประการที่ 3 ใช้ความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อกระตุ้นให้เกิดแรงขับเคลื่อนการพัฒนาใหม่ การบรรลุซึ่งการพัฒนาที่ได้คุณภาพ ควรบรรลุซึ่งการเติบโตชนิดภายในที่ขับเคลื่อนด้วยความคิดสร้างสรรค์ ยิ่งกว่านี้เราควรทุ่มกำลังยกระดับความสามารถด้านความคิดสร้างสรรค์ด้วยตนเองให้สูงขึ้น เร่งหาช่องทางบุกเบิกเทคโนโลยีที่เป็นหัวใจสำคัญโดยเร็วที่สุด นี่เป็นเรื่องสำคัญที่เกี่ยวพันกับการพัฒนาในภาพรวมของประเทศ ทั้งเป็นกุญแจสำคัญในการขับเคลื่อนการหมุนเวียนใหญ่ภายในประเทศเป็นหลัก

เราควรแสดงความเหนือกว่าอันเด่นชัดของระบบสังคมนิยมของประเทศที่สามารถระดมกำลังจัดทำภารกิจใหญ่ เดินหน้าเต็มกำลังเพื่อสร้างเทคโนโลยีที่เป็นหัวใจสำคัญ ควรพึ่งพาตลาดที่มีขนาดใหญ่ยิ่ง และระบบอุตสาหกรรมที่ครบถ้วนของประเทศเรา สร้างความได้เปรียบพิเศษที่เป็นคุณต่อการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีใหม่อย่างรวดเร็ว ขนานใหญ่ และการยกระดับให้สูงขึ้นต่อเนื่องแบบรุ่นต่อรุ่น

เร่งแปรผลงานวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีให้เป็นกำลังการผลิตที่ใช้ได้จริง ยกระดับห่วงโซ่ธุรกิจให้สูงขึ้น รักษาความมั่นคงของห่วงโซ่ธุรกิจ ให้ภาควิสาหกิจแสดงบทบาทเป็นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องสำคัญในการสร้างเทคโนโลยี ให้ภาควิสาหกิจเป็นกองทัพที่มีชีวิตชีวาในการรวบรวมปัจจัยแห่งความคิดสร้างสรรค์และการปรับใช้ผลงานวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี สร้างระบบความคิดสร้างสรรค์ที่หลอมรวมวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี การศึกษา ธุรกิจ และการเงินอย่างแนบแน่น

การวิจัยขั้นมูลฐานเปรียบดั่งแหล่งน้ำของความคิดสร้างสรรค์ เราควรเพิ่มงบประมาณมากกว่าเดิม ส่งเสริมความยึดมั่นเป็นเวลานานและการค้นหาด้วยความกล้าหาญ ตอกรากฐานให้แข็งแกร่งเพื่อสร้างประเทศให้เข้มแข็งทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ควรทุ่มกำลังฝึกอบรมและนำเข้าบุคลากรและทีมงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ชั้นหนึ่งของโลก ดำเนินการปฏิรูปหน่วยงานการวิจัยทางวิทยาศาสตร์มากขึ้น

ระดมความกระตือรือร้นของผู้วิจัยทางวิทยาศาสตร์ในขอบเขตที่มากที่สุด ยกระดับประสิทธิผลการผลิตทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีให้สูงขึ้น และควรยืนหยัดความคิดสร้างสรรค์ชนิดเปิดเสรี ดำเนินการแลกเปลี่ยนความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีระหว่างประเทศมากขึ้น

ประการที่ 4 ใช้การลงลึกการปฏิรูป เพื่อกระตุ้นพลังชีวิตทางการพัฒนาใหม่ การปฏิรูปเป็นกุญแจสำคัญในการปลดปล่อยและการพัฒนากำลังการผลิตของสังคม เป็นแรงขับเคลื่อนหลักในการเดินหน้าพัฒนาประเทศ ประเทศเราดำเนินการปฏิรูปมาเป็นเวลากว่า 40 ปีแล้ว ได้รับผลสำเร็จอันยิ่งใหญ่เป็นที่ยอมรับของทั่วโลก สังคมจะพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ระบบกลไกในการปรับความสัมพันธ์ทางสังคมและกิจกรรมสังคมก็จะปรับให้สมบูรณ์ขึ้นอย่างต่อเนื่องตามไปด้วย จึงจะสามารถสอดรับกับความต้องการในการปลดปล่อยและการพัฒนากำลังการผลิตของสังคมอย่างต่อเนื่องได้

เมื่อประเทศเราก้าวสู่ช่วงการพัฒนาใหม่ การปฏิรูปก็เผชิญกับภารกิจใหม่เช่นกัน ควรใช้ความกล้าหาญมากกว่าเดิม มาตรการมากขึ้น มาทุบทำลายอุปสรรคต่างๆ ที่เกิดจากระบบกลไกในระดับลึก ยืนหยัดและปรับปรุงระบบสังคมนิยมที่มีเอกลักษณ์ของจีนให้สมบูรณ์ขึ้น เดินหน้าสร้างความทันสมัยระบบการบริหารประเทศและความสามารถด้านการบริหาร

เราควรสร้างสรรค์ด้วยความถูกต้องเป็นธรรม สร้างสรรค์ด้วยการบุกเบิก หาทางพัฒนาตนเองในอนาคตอย่างใจกล้า ควรยืนหยัดและปรับปรุงระบบเศรษฐกิจพื้นฐานของสังคมนิยมให้สมบูรณ์ขึ้น ให้ภาคการตลาดแสดงบทบาทเชิงชี้ขาดในการจัดสรรทรัพยากร แสดงบทบาทของภาครัฐให้ดียิ่งขึ้น สร้างระบบและบรรยากาศที่มั่นคง ยั่งยืน และคาดการณ์ได้ ควรคุ้มครองกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินและสิทธิทรัพย์สินทางปัญญามากขึ้น สร้างระบบการตลาดที่ได้มาตรฐาน ปรับระบบการแข่งขันด้วยความเป็นธรรมมากขึ้น กระตุ้นส่วนสำคัญของภาคการตลาดให้มีพลังชีวิตพัฒนาอีกขั้น ให้ทุกภาคส่วนที่เป็นคุณต่อการพัฒนากำลังการผลิตของสังคมหมุนเวียนอย่างคล่องแคล่วเต็มร้อย

ประการที่ 5 ใช้การเปิดเสรีต่อต่างประเทศในระดับสูง เพื่อสร้างความเหนือกว่าใหม่ด้านความร่วมมือ และการแข่งขันระหว่างประเทศ ปัจจุบัน ประชาคมโลกมีความกังวลไม่น้อยต่ออนาคตกระแสโลกาภิวัตน์ทางเศรษฐกิจ เราเห็นว่า การเชื่อมต่อและการไปมาหาสู่ทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ยังคงเป็นความต้องการตามหลักความเป็นจริงในการพัฒนาเศรษฐกิจโลก

แรงขับเคลื่อนสำคัญประการหนึ่งในการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วต่อเนื่องของประเทศเราก็คือ การเปิดเสรีต่อต่างประเทศ ซึ่งเป็นนโยบายประเทศขั้นพื้นฐาน เราควรยกระดับการเปิดเสรีต่อต่างประเทศให้สูงขึ้นรอบด้าน สร้างระบบเศรษฐกิจใหม่ชนิดเปิดเสรีในระดับสูง สร้างความเหนือกว่าใหม่ด้านความร่วมมือและการแข่งขันระหว่างประเทศ ควรมีส่วนร่วมในการปฏิรูประบบบริหารจัดการเศรษฐกิจโลกอย่างจริงจัง เดินหน้าสร้างเสริมระบบบริหารจัดการเศรษฐกิจสากลให้มีความเที่ยงธรรมและสมเหตุสมผลมากขึ้น

ปัจจุบัน ควรระวัง 2 ประเด็นระหว่างการเดินหน้าเปิดเสรีต่อต่างประเทศ คือ 1) ทุกประเทศ ภูมิภาค และวิสาหกิจที่ประสงค์จะร่วมมือกับเรา ซึ่งรวมถึงมลรัฐ ทางการท้องถิ่น และวิสาหกิจของสหรัฐ เราล้วนควรดำเนินความร่วมมือกันอย่างจริงจัง สร้างรูปแบบการร่วมมือและการเปิดเสรีทุกระดับ หลายชั้น และหลายอย่าง และ 2) ยิ่งเปิดเสรีก็ยิ่งควรให้ความสำคัญกับความมั่นคง ยิ่งควรดำเนินการพัฒนาและความมั่นคงอย่างสมดุล มุ่งสร้างเสริมขีดความสามารถของตน ตั้งแต่การแข่งขัน การกำกับดูแลเรื่องการเปิดเสรี ไปจนถึงการป้องกันและควบคุมความเสี่ยง ฝึกฝนร่างกายให้แกร่ง

และประการที่ 6 ใช้การร่วมสร้างร่วมบริหารและร่วมเข้าถึงกัน เพื่อต่อยอดเฟสใหม่ของการพัฒนาสังคม ข้อเท็จจริงพิสูจน์ให้เห็นว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นหลังการพัฒนาจะไม่น้อยกว่าช่วงที่ไม่พัฒนา โครงสร้างสังคมของประเทศเรากำลังเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างลุ่มลึก อินเตอร์เน็ตเปลี่ยนวิถีการไปมาหาสู่กันของมนุษย์อย่างลึกซึ้ง แนวคิดและจิตสำนึกอีกทั้งพฤติกรรมทางสังคมได้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างลุ่มลึกตาม

สำหรับ “แผนพัฒนาเศรษฐกิจสังคมระยะ 5 ปี ฉบับที่ 14” นั้น จะให้ความสำคัญว่า ทำอย่างไรจึงปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงที่ลุ่มลึกได้ ทั้งในด้านโครงสร้างสังคม ความสัมพันธ์และพฤติกรรมทางสังคม จิตสำนึก อีกทั้งการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ต้องสร้างตำแหน่งงานให้มากขึ้นและได้คุณภาพมากขึ้น ปรับระบบประกันสังคมที่ครอบคลุมทั่วอย่างยั่งยืน สร้างเสริมระบบสาธารณสุขและการควบคุมโรค ให้ประชากรพัฒนาอย่างสมดุลในระยะยาว เพิ่มการบริหารสังคมมากขึ้น สลายความขัดแย้งและรักษาเสถียรภาพทางสังคม ซึ่งล้วนต้องศึกษาและวางแผนงานอย่างจริงจังทั้งสิ้น

สังคมที่มีความทันสมัย ควรเปี่ยมด้วยพลังชีวิต ทั้งมีระเบียบที่ดี ปรากฏพลังชีวิตและระเบียบที่เป็นเอกภาพ ที่ไม่สามารถจะแยกออกจากกันได้ ควรปรับปรุงระบบการบริหารสังคมที่ร่วมสร้างร่วมบริหารและร่วมเข้าถึงกันให้สมบูรณ์ขึ้น ให้การบริหารโดยรัฐกับการปรับโดยสังคม และการปกครองตนเองโดยพลเมือง มีการตอบสนองโดยตรงกันด้วยดี สร้างประชาคมบริหารจัดการสังคมที่ทุกคนมีความรับผิดชอบ และทุกคนเข้าถึงประโยชน์กันถ้วนหน้า ควรเพิ่มและสร้างสรรค์การบริหารสังคมระดับรากหญ้า ให้เซลล์สังคมทุกเซลล์ล้วนเป็นไปด้วยดีและมีความคึกคัก ความขัดแย้งและข้อพิพาทควรสลายในระดับรากหญ้า ความสมานฉันท์และความมั่นคงควรสร้างในระดับรากหญ้า ควรมุ่งรักษาความเป็นธรรมความเที่ยงธรรมสังคมมากขึ้นกว่าเดิม ส่งเสริมการพัฒนารอบด้านของมนุษย์และความก้าวหน้ารอบด้านของสังคม

ที่กล่าวมาข้างต้นนี้ ข้าพเจ้าคุยเรื่องสำคัญ ๆ ไปหลายเรื่อง รวมถึงเรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมในระยะกลางและระยะยาว  หวังว่าทุกท่านจะไตร่ตรองอย่างลงลึก สร้างผลงานวิจัยที่ก้าวหน้าอีกขั้น

วันที่ 23 พฤศจิกายน ค.ศ. 2015 ขณะเป็นประธานการประชุมกรรมการกรมการเมืองแห่งคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนชุดที่ 18 เพื่อรับฟังการบรรยายพิเศษและแลกเปี่ยนความคิดเห็นครั้งที่ 28 นั้น ข้าพเจ้าได้กล่าวคำปราศรัยเกี่ยวกับการศึกษาค้นคว้าทฤษฎีเศรษฐศาสตร์การเมืองลัทธิมาร์กซโดยเฉพาะ และเมื่อเร็ว ๆ นี้ นิตยสาร“แสวงหาสัจธรรม”ได้ตีพิมพ์เผยแพร่คำปราศรัยของข้าพเจ้า

นายฟรีดริช เองเกลส์เคยกล่าวว่า ทฤษฎีทั้งหมดของพรรคการเมืองชนชั้นกรรมาชีพนั้น มาจากการศึกษาค้นคว้าเศรษฐศาสตร์การเมือง ส่วนนายวลาดีมีร์ เลนิน ถือเศรษฐศาสตร์การเมืองเป็น“การประยุกต์ใช้และพิสูจน์ที่ละเอียด ครบถ้วน และลึกซึ้งที่สุด”ของทฤษฎีลัทธิมาร์กซ พวกเราต้องใช้วิธีของเศรษฐศาสตร์การเมืองลัทธิมาร์กซ ทำความเข้าใจกฎแห่งการพัฒนาทางเศรษฐกิจของประเทศเราให้ลุ่มลึกยิ่งขึ้น ยกระดับความสามารถในการนำพาการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศเรา

ทฤษฎีมาจากภาคปฏิบัติ และถูกใช้มาชี้นำการปฏิบัติ นับตั้งแต่ดำเนินการปฏิรูปและเปิดประเทศเป็นต้นมา  เราได้ประมวลผลการปฏิบัติใหม่ที่คึกคักอย่างทันท่วงที ผลักดันการคิดค้นทฤษฎีอย่างต่อเนื่อง ได้เสนอความเห็นสำคัญมากมายในประเด็นสำคัญ ๆ เช่น แนวคิดการพัฒนา ระบบกรรมสิทธิ์ ระบบจัดสรรแบ่งปัน พันธกิจภาครัฐ การควบคุมมหภาค โครงสร้างอุตสาหกรรม โครงสร้างการบริหารจัดการวิสาหกิจ ระบบหลักประกันชีวิตประชาชน และการบริหารจัดการทางสังคมเป็นต้น

ยกตัวอย่างเช่น ทฤษฎีเกี่ยวกับแก่นแท้สังคมนิยม ทฤษฎีเกี่ยวกับระบบเศรษฐกิจพื้นฐานของสังคมนิยมเบื้องต้น ทฤษฎีเกี่ยวกับนวัตกรรม การประสานกลมกลืน สีเขียว เปิดกว้างและแบ่งปัน ทฤษฎีเกี่ยวกับการพัฒนาเศรษฐกิจแบบตลาดสังคมนิยม ให้ตลาดมีบทบาทเชิงชี้ขาดในการจัดสรรทรัพยากร และขยายบทบาทของภาครัฐให้ดียิ่งขึ้น ทฤษฎีเกี่ยวกับเศรษฐกิจจีนเข้าสู่ภาวะปกติใหม่ ยกระดับการปฏิรูปโครงสร้างโซ่อุปทาน ผลักดันให้เศรษฐกิจได้รับการพัฒนาอย่างมีคุณภาพสูง

ทฤษฎีเกี่ยวกับการผลักดันการพัฒนาพร้อมกันทางด้านอุตสาหกรรมแบบใหม่ ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ การพัฒนาเมืองใหม่และการเกษตรที่ทันสมัย ให้ภูมิภาคต่าง ๆ พัฒนาอย่างประสานกลมกลืน ทฤษฎีเกี่ยวกับที่ดินเหมาประกอบการของชาวนาในลักษณะเชิงกรรมสิทธิ์ สิทธิการถือครองและสิทธิประกอบการ ทฤษฎีเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากตลาดและทรัพยากรทั้งภายประเทศและต่างประเทศให้ดี

ทฤษฎีเกี่ยวกับการเร่งให้เกิดโครงสร้างการพัฒนาใหม่ที่ถือการหมุนเวียนใหญ่ภายในประเทศเป็นหลัก การหมุนเวียนภายในประเทศและต่างประเทศมีการเกื้อกูลซึ่งกันและกัน ทฤษฎีเกี่ยวกับการส่งเสริมความถูกต้องเป็นธรรมทางสังคม บรรลุความมั่งคั่งร่วมกันของประชาชนทั้งมวลอย่างมีขั้นตอน ทฤษฎีเกี่ยวกับการบูรณาการด้านความมั่นคงกับการพัฒนา เป็นต้น

ผลงานทฤษฎีดังกล่าวนี้ ไม่เพียงแต่ได้ชี้นำปฏิบัติการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศเราอย่างมีพลังเท่านั้น หากยังได้ยกระดับทฤษฎีเศรษฐศาสตร์การเมืองลัทธิมาร์กซอีกด้วย

ประเด็นร่วมสมัยเป็นพลังขับเคลื่อนการคิดค้นทฤษฎี นายคาร์ล มาร์กซ นายฟรีดริช เองเกลส์  และนายวลาดีมีร์ เลนิน  เป็นต้น ต่างก็ผลักดันการคิดค้นทฤษฎีใหม่ด้วยการขบคิดและตอบคำถามเกี่ยวกับประเด็นร่วมสมัยทั้งนั้น

ปัจจุบัน ท่ามกลางทะเลใหญ่แห่งเศรษฐกิจโลกที่กำลังมีคลื่นใหญ่ปั่นป่วน การที่จะควบคุมเศรษฐกิจประเทศเรา ซึ่งเปรียบเสมือนเรือใหญ่ในทะเลได้หรือไม่นั้น นับเป็นการทดสอบสำคัญต่อพรรคเรา ต่อหน้าสถานการณ์เศรษฐกิจทั้งในและต่างประเทศที่สลับซับซ้อน ต่อหน้าปรากฏการณ์ทางเศรษฐกิจอันหลากหลาย การเรียนรู้เข้าใจวิธีและหลักการพื้นฐานของทฤษฎีเศรษฐศาสตร์การเมืองลัทธิมาร์กซนั้น จะมีส่วนช่วยให้เราสามารถมีวิธีวิเคราะห์เศรษฐกิจที่ถูกหลักวิทยาศาสตร์ เข้าใจกระบวนการเคลื่อนไหวทางเศรษฐกิจ ปฏิบัติตามหลักแห่งการพัฒนาทางเศรษฐกิจ ยกระดับขีดความสามารถในการพัฒนาเศรษฐกิจแบบตลาดสังคมนิยม ตอบคำถามด้านทฤษฎีและภาคปฏิบัติเกี่ยวกับการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศเราได้อย่างถูกต้อง

การลงมือปฏิบัติมากมายในยุคใหม่ด้านการปฏิรูป เปิดประเทศ และการสร้างสรรค์สังคมนิยมที่ทันสมัยนั้น เป็นทรัพยากรอันอุดมสมบูรณ์ในการศึกษาคิดค้นนโยบายและทฤษฎี ผู้ทำงานทฤษฎีด้านเศรษฐกิจและสังคมของประเทศเรามีโอกาสสร้างผลงานมากมาย ณ ที่นี้ ข้าพเจ้าขอเสนอความหวังบางประการต่อทุกท่านดังต่อไปนี้

1)ยึดเงื่อนไขของประเทศเราเป็นที่ตั้ง จากภาคปฏิบัติของจีน ไปสู่ภาคปฏิบัติของจีน เขียนวิทยานิพนธ์บนผืนแผ่นดินมาตุภูมิ ทำให้ทฤษฎีและนโยบายสอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงของจีน มีเอกลักษณ์ของจีน พัฒนาเศรษฐศาสตร์การเมืองและสังคมศาสตร์แห่งสังคมนิยมที่มีเอกลักษณ์ของจีนอย่างต่อเนื่อง

2)ทำการสำรวจและศึกษาค้นคว้าอย่างลึกซึ้ง ตรวจสอบสภาพที่แท้จริง ใช้วิธีการที่เป็นรูปธรรม สะท้อนสภาพข้อเท็จจริงอย่างเต็มที่ ทำให้การคิดค้นนโยบายและทฤษฎีมีที่มาที่ไปและสมเหตุสมผล

3)ยึดหลักแห่งการพัฒนา ยืนหยัดจุดยืน ทัศนะและวิธีการลัทธิมาร์กซ ค้นพบแก่นแท้จากปรากฏการณ์ ค้นหาแนวโน้มระยะยาวจากการปั่นป่วนในระยะอันสั้น ทำให้การคิดค้นนโยบายและทฤษฎีสะท้อนความทันสมัยและถูกหลักวิทยาศาสตร์อย่างเต็มที่

4)มีวิสัยทัศน์ระดับสากล ศึกษาค้นคว้าประเด็นที่มนุษยชาติเผชิญร่วมกัน จากการติดต่อไปมาหาสู่กันระหว่างจีนกับโลก อุทิศสติปัญญาและ“สูตรจีน”เพื่อสร้างประชาคมโลกที่มีอนาคตร่วมกัน

Yim/Cai Ling/Lu

  • เสียงข่าวประจำวัน (18-04-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (18-04-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (18-04-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (17-04-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (17-04-2567)

陆永江