บทวิเคราะห์ : ประชาคมโลกชี้ หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง ไม่ได้สร้างกับดักหนี้ แต่สร้างการพัฒนา

2020-10-27 15:08:20 | CRI
Share with:

ช่วงที่ผ่านมารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ นายปอมเปโอ ได้โจมตีและใส่ร้ายจีนระหว่างเดินทางเยือนต่างระเทศ   จงใจปล่อยข่าวเท็จว่าโครงการ“หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” สร้าง ”กับดักหนี้” เพื่อขัดขวางไม่ให้ประเทศที่เกี่ยวข้องดำเนินความร่วมมือกับจีน   สร้างความไม่พอใจให้กับประชาคมโลก

ข้อริเริ่ม “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” เป็นโครงการสาธารณะที่จีนเสนอให้กับประชาคมโลก  นับตั้งแต่ปี 2013 เป็นต้นมา  จีนได้ดำเนินความร่วมมือกับประเทศกำลังพัฒนาจำนวนมากบนพื้นฐานเคารพซึ่งกันและกัน เสมอภาคเท่าเทียม และเอื้อประโยชน์แก่กัน  พยายามให้ความช่วยเหลือที่ไม่มีเงื่อนไขทางการเมือง ภายในขอบเขตที่ทำได้ ซึ่งได้ส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และการปรับปรุงชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในท้องถิ่นให้ดีขึ้น จึงได้รับการต้อนรับจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง จนถึงขณะนี้ยังไม่มีประเทศใดที่ร่วมโครงการนี้ตกอยู่ในสิ่งที่เรียกว่า “กับดักหนี้”

จนถึงเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา    มี 138 ประเทศและ 30 องค์กรระหว่างประเทศลงนามในข้อตกลงความร่วมมือกับจีนในโครงการ “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” รวม 200 ฉบับ  แสดงถึงเสียงสนับสนุนข้อริเริ่ม “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง”จากประชาคมโลก 

จากข้อมูลของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ   จนถึงปลายปี 2019 ประเทศแอฟริกา 40% ตกอยู่ในภาวะที่ยากลำบาก    เจ้าหนี้ของประเทศเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นธนาคาร และบริษัทจากประเทศในยุโรปและสหรัฐฯ    คำถามคือใครเป็นผู้สร้าง “กับดักหนี้” ให้กับประเทศเหล่านี้ ประเทศตะวันตกที่นำโดยสหรัฐฯ คงต้องรับผิดชอบต่อกรณีดังกล่าว

ขณะที่การระบาดของโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาเศรษฐกิจโลกอย่างรุนแรง   จีนริเริ่ม และเข้าร่วมโครงการผ่อนชำระหนี้ของกลุ่มประเทศจี 20 ขณะเดียวกันก็พยายามขับเคลื่อนโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานตามข้อริเริ่ม “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” เพื่อเพิ่มขีดความสามารถให้แก่ประเทศกำลังพัฒนา   แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าข้อริเริ่ม “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง”ไม่ได้สร้าง “กับดักหนี้”  แต่เป็นการสร้างโอกาสการพัฒนา   (bo/cai)

  • เสียงข่าวประจำวัน (15-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (15-11-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (15-11-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (14-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (14-11-2567)

蔡建新