เรื่องราวการแก้ปัญหา“น้ำ”ของ‘สี จิ้นผิง’

2020-11-19 09:13:21 | CMG
Share with:

วันที่ 13 พฤศจิกายนที่ผ่านมา นายสี จิ้นผิง ประธานาธิบดีจีน ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมโครงการชลประทานเจียงตู เมืองหยางโจว มณฑลเจียงซู เพื่อติดตามการดำเนินงานของระบบชลประทานสายตะวันออกของโครงการผันน้ำจากใต้ขึ้นเหนือและการดำเนินงานของโครงการชลประทานเจียงตู

เรื่องราวการแก้ปัญหา“น้ำ”ของ‘สี จิ้นผิง’

โครงการชลประทานเจียงตูตั้งอยู่บริเวณจุดบรรจบกันระหว่างคลองใหญ่จิงหาง คลองซินทงหยาง และแม่น้ำไหวเหอ เป็นจุดเริ่มต้นของระบบชลประทานสายตะวันออกของโครงการผันน้ำจากใต้ขึ้นเหนือ เป็นระบบวิศวกรรมชลประทานและผันน้ำด้วยพลังไฟฟ้าขนาดใหญ่ที่สุดของจีนในปัจจุบัน ทั้งยังเป็นศูนย์กลางสถานีสูบน้ำใหญ่ที่สุดของเอเชีย ระบบชลประทานสายตะวันออกของโครงการผันน้ำจากใต้ขึ้นเหนือสูบน้ำในแม่น้ำฉางเจียงจากสถานีแห่งนี้เพื่อส่งไปยังนครเทียนจินและแหลมซานตงทางเหนือของจีน

ที่ศูนย์ชลประทานเจียงตู ปธน.สี ยกขวดเก็บตัวอย่างน้ำขวดหนึ่ง แล้วสังเกตดูอย่างละเอียด ภาพนี้ดึงดูดความสนใจของผู้คนจำนวนมาก

ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนสำคัญเหนือสิ่งอื่นใด แต่การบริหารจัดการน้ำสำคัญเป็นอันดับแรก จีนมีประชากรมากแต่มีปริมาณน้ำน้อย ทรัพยากรน้ำกระจัดกระจายไม่สมดุลกัน ความมั่นคงของน้ำเกี่ยวพันถึงการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของบ้านเมืองรวมถึงความอยู่ดีมีสุขของประชาชน การใช้น้ำของประชาชนจึงเป็นเรื่องใหญ่ที่ปธน.สี ให้ความสำคัญมาตลอด

ย้อนกลับไปช่วงก่อนตรุษจีน ค.ศ. 2013 ปธน.สี ฝ่าความหนาวเหน็บเดินทางไปยังมณฑลกานซู่เพื่อพบปะเจ้าหน้าที่และประชาชนชนเผ่าต่าง ๆ ในท้องถิ่น ที่บ้านของนายหม่า ก่าง สมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์จีนรุ่นอาวุโส ในหมู่บ้านหยวนกู่ตุย อำเภอเว่ยหยวน เมืองติ้นซี เมื่อปธน.สี เห็นถังน้ำในบ้านจึงไปตักน้ำขึ้นมาดื่ม เวลาผ่านไป 7 ปีแล้ว แต่ภาพดังกล่าวยังคงเป็นความประทับใจและเรื่องยากที่จะลืมเลือนของผู้คน

วันที่ 16 เมษายน ค.ศ. 2019 ในที่ประชุมสัมมนาหนึ่งที่มีหัวข้อว่า “2 หมดห่วง และ 3 หลักประกัน” ปธน.สี เน้นถึงความสำคัญของน้ำดื่มปลอดภัยโดยระบุว่า “จีนมีประชากรยากไร้อีกจำนวน 1,040,000 คน กำลังเผชิญปัญหาความปลอดภัยของน้ำดื่มในเขตชนบททั่วประเทศ และยังมีประชากรจำนวน 60 ล้านคนต้องการการยกระดับความปลอดภัยของน้ำดื่ม”

วันที่ 19 มกราคม ค.ศ. 2020 ปธน.สี ลงพื้นที่พบปะเจ้าหน้าที่และประชาชนชนเผ่าต่าง ๆ ที่มณฑลหยุนหนาน ในห้องครัวของนายหลี่ ฟาซุ่น ชาวหมู่บ้านซานเจีย เมืองเถิงชง มณฑลหยุนหนาน ปธน.สี เปิดก๊อกน้ำเพื่อสังเกตสีของน้ำประปาแล้วพยักหน้าด้วยความพอใจ หลายต่อหลายครั้งที่ปธน.สี ลงพื้นที่ตรวจสอบการใช้น้ำและให้โอวาทอันอบอุ่นซึ่งสะท้อนให้เห็นการเอาใจใส่ประชาชนของผู้นำประเทศ

เรื่องราวการแก้ปัญหา“น้ำ”ของ‘สี จิ้นผิง’

ชาวบ้านถืออาหารการกินเป็นเรื่องใหญ่เท่าฟ้าแต่อาหารการกินต้องมีน้ำกินน้ำใช้มาก่อน เรื่องการใช้น้ำจึงเกี่ยวพันถึงชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนและการพัฒนาบ้านเมืองด้วย แต่ไหนแต่ไรมาพรรคคอมมิวนิสต์จีนให้ความสำคัญกับน้ำมาโดยตลอดเพื่อแก้ไขปัญหาน้ำอุปโภคบริโภคทางภาคเหนือของจีน

รายงานผลการดำเนินงานของรัฐบาลในที่ประชุมครั้งที่ 1 ของสภาผู้แทนประชาชนแห่งชาติจีน ชุดที่ 5 ในปี ค.ศ. 1978 ระบุอย่างเป็นทางการว่า จะเริ่มดำเนินโครงการผันน้ำจากทางใต้ขึ้นเหนือโดยผันน้ำจากแม่น้ำฉางเจียงขึ้นไปทางเหนือของแม่น้ำเหลือง จากการสำรวจ วางแผน และศึกษาค้นคว้านานหลายปี โครงการดังกล่าวจึงเริ่มดำเนินการอย่างเป็นขั้นตอนตั้งแต่วันที่ 5 มิถุนายน ค.ศ. 2000 โดยแบ่งเป็นสายตะวันตก สายกลาง และสายตะวันออก รวม 3 สาย ผันน้ำจากตอนต้น ตอนกลาง  และตอนใต้ของลุ่มแม่น้ำฉางเจียงให้เชื่อมต่อกับแม่น้ำฉางเจียง แม่น้ำไหวเหอ แม่น้ำเหลือง และแม่น้ำไห่เหอ เพื่อให้ทรัพยากรน้ำของจีนประสานกันระหว่างทางเหนือกับทางใต้และมีส่วนเกื้อกูลกันระหว่างตะวันออกกับตะวันตก

ตั้งแต่การประชุมสมัชชา ครั้งที่ 18 ของพรรคคอมมิวนิสต์จีน ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2012 เป็นต้นมา ปธน.สี จิ้นผิง ซึ่งดำรงตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีน ได้ให้ความสำคัญเป็นพิเศษต่อโครงการผันน้ำจากใต้ขึ้นเหนือซึ่งเป็นรากฐานวิศวกรรมทางยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวพันถึงชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน

เดือนธันวาคม ค.ศ. 2013 ปธน.สี ให้โอวาทเกี่ยวกับการผันน้ำอย่างเป็นทางการของระบบชลประทานระยะแรกในสายตะวันออกของโครงการผันน้ำจากใต้ขึ้นเหนือ โดยเรียกร้องให้ประกันความมั่นคงของระบบชลประทาน รักษาคุณภาพน้ำให้ได้มาตรฐานคงที่ และส่งเสริมการพัฒนาตามหลักวิทยาศาสตร์ เพื่อสร้างความผาสุกแก่มวลชน

เรื่องราวการแก้ปัญหา“น้ำ”ของ‘สี จิ้นผิง’

เดือนธันวาคม ค.ศ. 2014 ระบบชลประทานสายกลางระยะแรกของโครงการผันน้ำจากใต้ขึ้นเหนือเริ่มปล่อยน้ำ ปธน.สี ระบุว่า โครงการดังกล่าวเป็นระบบชลประทานที่สร้างคุณประโยชน์ในยุคปัจจุบันและจะเป็นประโยชน์นับพันปี พร้อมกับหวังว่าเราจะยึดมั่นหลักการประหยัดน้ำก่อนแล้วจึงผันน้ำจากทางใต้ขึ้นเหนือทีหลัง บำบัดน้ำเสียก่อนแล้วจึงสนองความต้องการน้ำทีหลัง อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมก่อน  แล้วจึงใช้น้ำทีหลัง

คำอวยพรปีใหม่ ค.ศ. 2015 ปธน.สี แสดงความเคารพต่อผู้อพยพจำนวนกว่า 400,000 คนซึ่งยอมเสียสละเพื่อโครงการผันน้ำจากทางใต้ขึ้นเหนือ ทั้งยังหวังว่าผู้คนเหล่านี้จะมีชีวิตความเป็นอยู่ที่มีความสุขในบ้านใหม่

เดือนธันวาคม ค.ศ. 2019 ครบรอบ 5 ปี การส่งน้ำของระบบชลประทานสายกลางระยะแรกในโครงการผันน้ำจากใต้ขึ้นเหนือ ตลอดช่วง 5 ที่ผ่านมา โครงการดังกล่าวผันน้ำเกือบ 30,000 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งทำให้ประชากรกว่า 120 ล้านคนได้รับประโยชน์

น้ำเป็นต้นกำเนิดของสิ่งชีวิตและบ่อเกิดแห่งอายธรรม ถึงแม้ว่าโครงการผันน้ำจากใต้ขึ้นเหนือจะแก้ไขปัญหาการมีน้ำใช้ไม่เพียงพอในพื้นที่ทางเหนือของจีนก็ตาม แต่ภาวะขาดแคลนน้ำในพื้นที่บางแห่งของจีนยังคงดำรงอยู่

ต่อการนี้ ปธน.สี จึงเน้นอีกครั้งระหว่างลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมเมืองหยางโจวที่กล่าวข้างต้นว่า ต้องประหยัดน้ำ ต้องประสานโครงการผันน้ำจากใต้ขึ้นเหนือกับการประหยัดน้ำทางเหนือของจีนอย่างใกล้ชิด ต้องพิจารณาการใช้น้ำเป็นเรื่องสำคัญของการตั้งเมืองต่าง ๆ พิจารณาเรื่องการใช้น้ำเป็นสิ่งสำคัญของการประกอบธุรกิจ ระมัดระวังเรื่องการประหยัดน้ำ ห้ามทำสิ่งที่เพิ่มปริมาณการผันน้ำแต่ขณะเดียวกันก็ใช้น้ำอย่างฟุ่มเฟือย

ปธน.สี เน้นความสำคัญของการพัฒนาเมืองประหยัดน้ำอย่างลึกซึ้ง ให้การประหยัดน้ำเป็นปฏิบัติการอัตโนมัติของทุกหน่วยงาน ทุกครอบครัว และทุกคน ปธน.สี ให้แนวคิดการปรับปรุงน้ำที่ว่า “ต้องประหยัดน้ำก่อน สร้างความสมดุลของแหล่งน้ำ บริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบ ตลอดจนให้ตลาดและรัฐบาลแสดงบทบาทพร้อมกัน”

นอกจากนี้ ปธน.สี ยังให้โอวาทสำคัญหลายต่อหลายครั้งเกี่ยวกับการบริหารจัดการและประหยัดน้ำ จากน้ำแก้วหนึ่งไปจนถึงระบบชลประทานที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน ตลอดจนทรัพยากรน้ำซึ่งเกี่ยวพันถึงชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนนับพันล้านคนและการพัฒนาที่ยั่งยืนของประชาชาติจีน นายสี จิ้นผิง ผู้นำสูงสุดของจีน ต่างเอาใจใส่  โดยพิจารณาถึงชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนและการวางแผนตามหลักวิทยาศาสตร์

(Tim/Zhou/Lu)

  • เสียงข่าวประจำวัน (14-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (14-11-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (14-11-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (13-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (13-11-2567)

陆永江