“84”กับการป้องกันโควิด-19 (1)

2020-11-26 20:32:33 | CRI
Share with:

 

       

   จะไปซื้อ  “ปา ซื่อ” (“84”) มากำจัดเชื้อโรค โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กำจัดเชื้อโควิด-19

“84” ที่ว่านี้หมายถึง  “น้ำยาฆ่าเชื้อโรค 84” (84 disinfectant) เป็นสิ่งของประจำบ้านแทบทุกครัวเรือนมานานปีในประเทศจีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรุงปักกิ่ง

“84” ภาษาจีนออกเสียงว่า “ปา ซื่อ” “ba si” แปลว่า “แปด สี่”

“84”กับการป้องกันโควิด-19 (1)

พอเกิดโควิด-19 เมื่อต้นปีนี้ “น้ำยาฆ่าเชื้อโรค 84” เคยขาดตลาดมาช่วงหนึ่งเพราะสินค้าไม่เพียงพอต่อความต้องการ เมื่อผู้คนหาซื้อ “84” ไม่ได้ จึงหันไปหาซื้ออย่างอื่นแทน เช่น แอลกอฮอล สบู่ฆ่าเชื้อโรค และอื่นๆ เพื่อกำจัดเชื้อโรคที่บ้าน ที่ทำงาน และที่สาธารณะ

จากนั้นผู้ผลิตหลายรายจึงแข่งกันผลิต “น้ำยาฆ่าเชื้อโรค 84” เพื่อป้อนสู่ตลาด แรกๆ ราคาค่อนข้างแพง แต่ก็ขายดี ลูกค้าซื้อไป 2-3 ขวดครั้งเดียวเพื่อตุนไว้ป้องกันโควิด-19 เกรงว่าเดี๋ยวอาจจะขาดตลาดอีก

ปัจจุบัน “น้ำยาฆ่าเชื้อโรค 84” มีจำหน่ายทั่วไปในตลาด เห็นได้ว่า ผู้ผลิตสารเคมีทำความสะอาดอย่างผงซักฟอก สบู่ ก็หันมาผลิต “น้ำยาฆ่าเชื้อโรค 84” ด้วย เป็นอันว่า ปัจจุบัน “84” มีผู้ผลิตหลายราย จากเดิมมีเพียงไม่กี่ราย

“84”กับการป้องกันโควิด-19 (1)

------ความเป็นมาของ “น้ำยาฆ่าเชื้อโรค 84”

เป็นที่ทราบกันว่า นักวิชาการชาวฝรั่งเศสเป็นผู้แรกที่ประดิษฐ์ Sodium Hypochlorite (NaClO, 次氯酸钠)  เพื่อใช้ในการฟอกผ้าขาว กำจัดกลิ่นเหม็น และกันบูด

ส่วนนักวิชาการชาวอังกฤษนำน้ำยา Sodium Hypochlorite (NaClO) ที่เจือจางแล้ว ไปฆ่าเชื้อโรคบริเวณบาดแผล

สำหรับชาวจีนนั้น ได้ใช้ Sodium Hypochlorite เป็น “น้ำยาฆ่าเชื้อโรค” ใครกันที่ทำเช่นนี้?และทำไมจึงตั้งชื่อว่า “84” ไม่ใช่ “74” หรือ “64”?

คำตอบคือ เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ของโรงพยาบาลตี้ถานกรุงปักกิ่งประดิษฐ์คิดค้นน้ำยาฆ่าเชื้อโรคตัวนี้ในปี 1984 จึงตั้งชื่อน้ำยาตัวนี้ตามปี จึงเป็นที่มาของ “น้ำยาฆ่าเชื้อโรค 84”

โรงพยาบาลตี้ถานกรุงปักกิ่งเริ่มก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 1946 เป็นโรงพยาบาลโรคติดต่อ ปัจจุบันได้พัฒนาเป็นโรงพยาบาลที่มีชื่อเสียงมากในการรักษาโรคติดต่อชนิดต่างๆ

“84”กับการป้องกันโควิด-19 (1)

ผู้ที่มีส่วนมากที่สุดในการประดิษฐ์ “น้ำยาฆ่าเชื้อโรค 84” ในสมัยนั้น คือ นพ.จิน เยี่ยวกวาง (Jin Yaoguang, 金耀光)

นพ.จิน เยี่ยวกวางเกิดปีค.ศ. 1930 ที่หมู่บ้านแห่งหนึ่งในเมืองเผิงหลัย มณฑลซานตง ต่อมาเขาเริ่มทำงานเกี่ยวข้องกับโรคติดต่อ และมีแรงบันดาลใจเกี่ยวกับการฆ่าเชื้อโรคโดยยึดหลักการป้องกันไว้ก่อน

ด้วยความขยันหมั่นเพียร นพ.จิน เยี่ยวกวางประสบความสำเร็จในการวิจัยและผลิตตัวยาฆ่าเชื้อที่มีชื่อเสียงมากหลายตัว หนึ่งในนั้นคือ“น้ำยาฆ่าเชื้อโรค 84” จึงทำให้เขาได้รับรางวัลความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระดับชาติหลายครั้ง ตลอดจนรางวัลเหรียญทองและรางวัลด้านการประดิษฐ์โลก ต่อมาในปี 2009 นพ.จิน เยี่ยวกวางได้รับสมญาว่า “บุคคลผู้ทรงคุณงามความดีสาธารณรัฐ”

(TIM/LING)

  • เสียงข่าวประจำวัน (15-05-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (15-05-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (15-05-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (14-05-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (14-05-2567)

周旭