บทวิเคราะห์ : ใช้ "สองมาตรฐาน" กับประวัติศาสตร์ ทวิตเตอร์สูญเสียความรู้สึกผิดชอบชั่วดีแล้วหรือ

2020-12-15 12:37:31 | CRI
Share with:

วันที่ 13 ธันวาคม เป็นวันแห่งการไว้อาลัยผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์สังหารหมู่หนานจิงครั้งที่ 7 ในวันนี้ ประชาชนจีนแสดงความไว้อาลัยต่อผู้เสียชีวิตชาวจีนจำนวนกว่า 300,000 คนที่ถูกสังหารโดยผู้รุกรานทัพทหารชาวญี่ปุ่นเมื่อ 83 ปีก่อน และแสดงความปรารถนาให้จดจำประวัติศาสตร์เป็นบทเรียน ร่วมกันรักษาสันติภาพ แต่กลับมีปัญหาที่น่าโกรธเคืองปรากฏบนทวิตเตอร์ โซเชียลมีเดียชื่อดังของโลกว่า ภาพถ่ายและวิดีโอภาพทางประวัติศาสตร์ที่ได้รับการยอมรับในระดับสากลเกี่ยวกับการเหตุการณ์สังหารหมู่ที่เมืองหนานจิง ซึ่งเผยแพร่โดยผู้ใช้ทวิตเตอร์บางรายได้ถูกลบออกไป ด้วยเหตุผลว่า "เนื้อหานองเลือดที่ไม่ได้รับการพิสูจน์"  แต่ขณะเดียวกัน คำพูดที่บิดเบือนประวัติศาสตร์ของฝ่ายขวาของญี่ปุ่นกลับยังคงอยู่

เมื่อเผชิญกับการกระทำที่ทำลายบรรทัดฐานล่างสุดของอารยธรรมมนุษย์ การเคลื่อนไหวแบบ "สองมาตรฐาน" ของทวิตเตอร์ แสดงถึงการสูญเสียความรู้สึกผิดชอบชั่วดีพื้นฐานของมนุษย์ไปแล้ว ซึ่งไม่เพียงแต่ทำให้ผู้คนได้เห็นใบหน้าที่แท้จริงของ "เสรีภาพในการพูด" ที่โฆษณาโดยสื่อตะวันตกบางแห่งอีกครั้ง ยังทำให้เห็นได้ชัดเจนยิ่งขึ้นถึง ค่านิยมที่บิดเบี้ยวและบทบาทของอันธพาลทางการเมืองที่น่าอับอาย

หสกมองในมุมที่ลึกลงไปอีกขั้น ทวิตเตอร์ซึ่งเป็นยักษ์ใหญ่อินเทอร์เน็ตของอเมริกัน ตำแหน่งทางอุดมการณ์มีความผูกพันอย่างมากกับกลุ่มการเงินอิทธิพลทางการเมือง และผลประโยชน์แห่งชาติของสหรัฐอเมริกาที่อยู่เบื้องหลัง หากกล่าวว่าทวิตเตอร์ไม่ใช่บริษัทเอกชน แต่คงจะกล่าวได้ว่าเป็นเครื่องมือทางการเมืองที่บริการให้ผลประโยชน์แก่สหรัฐฯ สิ่งที่เรียกว่า "เสรีภาพในการพูด" ของสื่อตะวันตกบางแห่งนั้น ความจริงแต่เป็นเพียง "การถามจุดยืน ไม่ใช่ถูกผิด"

ปีนี้เป็นปีครบรอบ 75 ปีแห่งชัยชนะของสงครามต่อต้านฟาสซิสต์โลก การใช้ "สองมาตรฐาน" ต่อประวัติศาสตร์ของทวิตเตอร์ ได้สะท้อนให้เห็นถึงความตั้งใจที่น่ารังเกียจของกลุ่มคนจำนวนน้อยมาก ที่พยายามล้มล้างมุมมองทางประวัติศาสตร์ของสงครามโลกครั้งที่สอง และทำลายความเป็นระเบียบหลังสงคราม ในโลกปัจจุบันที่ไม่แน่นอนนี้ การทวนกระแสดังกล่าวควรต้องได้รับการท้วงติงอย่างสูง

Yim/kt/cui

  • เสียงข่าวประจำวัน (21-05-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (21-05-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (21-05-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (20-05-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (20-05-2567)

张楠